การศึกษาผู้ป่วยเด็กไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะไตวายเฉียบพลันพบได้ไม่น้อยในผู้ป่วยเด็ก และมีอัตราการตายสูง (ร้อยละ 50) ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
วัตถุประสงค์: ศึกษาถึงสาเหตุของไตวายเฉียบพลันที่รุนแรงในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ด้วยวิธีล้างไตทางหลอดเลือด (Hemodialysis) และ/หรือล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis) รวมถึงผลลัพธ์ของผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยศึกษาจากข้อมูลและบันทึกทางเวชระเบียนของผู้ป่วย เด็กไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 28 ราย เป็นชายร้อยละ 50 อายุเฉลี่ย 10.6 ± 3.1 ปี (4-14 ปี) อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย คือ บวม (ร้อยละ 53.6) และความดันโลหิตสูง สาเหตุของไตวายเฉียบพลันในการศึกษานี้เป็นโรคไตทุติยภูมิมากที่สุดร้อยละ 32.1 (ไตอักเสบเฉียบพลัน APSGN 6, SLE 3) รองลงมาเป็นโรคไตในเขตร้อน tropical disease ร้อยละ 28.5 (Leptospirosis 3, Dengue shock syndrome 2, Wasp sting 2, Snake bite 1) โรคไตปฐมภูมิร้อยละ 10.7 (Ig A nephopathy 2, Nephrotic syndrome 1) และการอุดกั้นในทางเดินปัสสาวะจากนิ่ว ร้อยละ 7.1 (bilateral renal calculi 1, bilateral ureteric calculi 1) การบำบัดทดแทนไตเริ่มด้วย Hemodialysis 26 ราย และเปลี่ยนเป็น chronic peritoneal dialysis 6 ราย Peritoneal dialysis เริ่มต้น 2 ราย และเปลี่ยนเป็น Hemodialysis 1 ราย เพราะปัญหาท่ออุดตัน เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย (ร้อยละ 46.4) ไตฟื้นเป็นปกติ ร้อยละ 35.7 ได้รับการบำบัดทดแทนไตในระยะยาว (วิธีล้างไตทางช่องท้อง 5 ล้างไตทางหลอดเลือด 3 และได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต 2) อัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 17.9
สรุป: ผู้ป่วยเด็กไตวายเฉียบพลัน มีสาเหตุจาก Secondary renal disease มากที่สุด ผลการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยไตฟื้นเป็นปกติ พบอัตราตายร้อยละ 17.9 การตายในผู้ป่วยสัมพันธ์กับอวัยวะล้มเหลวหลายระบบและการใช้เครื่องช่วยหายใจ
Article Details
References
สุโรจน์ ศุภเวคิน. Acute Kidney injury. ใน : ดุสิต สถาวร, ฤดีวิไล สามโกเศศ, สมศักดิ์ โล่ห์เลขา, บรรณาธิการ. Advance in Pediatrics. กรุงเทพฯ ; บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ ; 2552 : 87-106.
Metha RL, Kellum JA, Shah SV, et al. Acute kidney injury network : report of an initiative to improve outcomes in acute kidney injury. Crit Care 2007 ; 11 : R31.
Andreoli SP. Clinical evaluation and management. In : Avner ED, Harmon WE, Niaudet P (eds) Pediatric Nephrology. 5th ed. Lippincott William & Wilkins, Philadelphia, PA 2004 ; 1233-51.
พรชัย กิ่งวัฒนกุล. Fundamental Basic of pediatric dialysis. ใน : สมชาย เอี่ยมอ่อง, เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์, ธนันดา ตระการวนิซ, เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์. Improving quality of dialysis. กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น 2549 ; 53-64.
Vachvanichsanong P, Dissaneewate P, Lim A, et al. Childhood acute renal failure : 22-years experience in the university hospital in southern Thailand” Pediatrics 2006 ; 118 (3):786-91.
Hogg RI. Furth S, Lemley KV, Portman R Schwartz GI, Coresh J, et al. National kidney foundation’s kidney disease out comes quality initiative clinical practice guidelines for chronic kidney disease in children and adolescents : Evaluation, Classification and stratification. Pediatrics 2003 ; 11(6) : 1416-21.
Akcan-Arikan A, Zappitdli M, Loftis LL. et al. Modified RIFLE Criteria in critically ill children with acute kidney injury. Kidney Int 2007; 71:1028-35.
Amal AG, Bassam AH, Naser Hussain. Acute renal failure in pediatric patients : etiology and predictors of outcome. Saudi J Kidney Dis Transplant 2009 ; 20(l):69-76.
Rajiv S, Madhumita N, Kjell T, et al. Nephrolgy Dialysis Transplantation 2009 ; 24(3):829-33.
Vivian MR, William R, Griswold, et al. Peritoneal dialysis for acute renal failure in children. Pediatr Nephrol 1991; 5: 715-7.
Wikinson JD, Pollack MM, Ruttimann VE, et al. Outcome of pediatric patients with multiple organ failure. Crit Care Med 1986 ; 14:271-4.
พรชัย กิ่งวัฒนกุล. Chronic renal failure. ใน : ประไพพิมพ์ ธีรคุปต์, อัจฉรา สัมบุญญานนท์, พรชัย กิ่งวัฒนกุล, กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ, บรรณาธิการ. ปัญหาสารน้ำอิเล็กโทรไลต์ และ โรคไตในเด็ก. 3rd ed. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์ ; 2547 : 387-402.
วัชรี สีหิรัญวงศ์ Hemodialysis. ใน : ประไพพิมพ์ ธีรคุปต์, อัจฉรา สัมบุญญานนท์, พรชัย กิ่งวัฒนกุล, กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ, ปัญหาสารน้ำอิเล็กโทรไลต์และโรคไตในเด็ก. 3rd ed. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์ ; 2547 : 417-27.
กาญจนา ตั้งนรารัซชกิจ. Peritoneal dialysis. ใน : ประไพพิมพ์ ธีรคุปต์, อัจฉรา สัมบุญญานนท์, พรชัย กิ่งวัฒนกุล, กาญจนา ตั้งนรารัซชกิจ, บรรณาธิการ, ปัญหาสารน้ำอิเล็กโทรไลต์ และ โรคไตในเด็ก 3rd ed. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์ ; 2547: 403-15
Joseph TF, David BK, Wiliam ES, et al. Peritoneal dialysis for management of pediatric acute renal failure. Peritoneal Dialysis International 2001 ; 21 :390-4.