การลดเวลาระยะรอคอยในการนำสลบ เพื่อพัฒนาระบบบริการงานวิสัญญีในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

จารุณี พิพัฒฑรคานนท์

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: การให้บริการทางวิสัญญีเป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ ตลอดจนความพร้อมของบุคลากร มิฉะนั้นอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้และด้วยข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ ซึ่งมีห้องผ่าตัดเพียง 10 ห้อง สำหรับให้บริการผ่าตัด ประมาณวันละ 25-30 คน ในเวรเช้า และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันหัตถการที่ทำก็มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้บริการผู้ป่วย ได้อย่างรวดเร็วสามารถใช้ห้องผ่าตัดได้อย่างคุ้มค่าและซึ่งหากสามารถลดระยะ เวลาในการนำสลบผู้ป่วยในการรับยาระงับความรู้สึกก็จะสามารถลดเวลาระยะ รอคอยของผู้รับบริการงานวิสัญญี
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการลดระยะเวลาในการนำสลบโดยใช้แนวทางการปฏิบัติตามกระบวนการ ที่ออกแบบใหม่
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research : AR)
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจาก ผู้ป่วยที่มารับบริการงานวิสัญญี กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาล สุรินทร์ จำนวน 7,242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบบันทึก ซึ่งประกอบ ด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและแบบบันทึกปริมาณผู้ป่วย ระยะเวลาในการนำสลบผู้ป่วยที่มารับบริการให้ยาระงับความรู้สึกในห้องผ่าตัด แต่ละห้อง รวมทั้งแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการงานวิสัญญี ซึ่งผ่าน การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และปรับปรุงแกไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ก่อนจะนำไปทดลองปฏิบัติ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย คือ 1. ขั้นเตรียมการ และการวางแผน (Plan) 2. ขั้นการปฏิบัติ (Action) 3. ขั้นติดตามประเมินผล (Review and Evaluate) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกผู้ป่วยที่มารับบริการ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 - 31 มกราคม พ.ศ. 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณา ได้แก่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา: เมื่อนำแนวทางการปฏิบัติตามกระบวนการที่ออกแบบใหม่มาใช้ในการนำสลบผู้ป่วย ที่มารับบริการระงับความรู้สึก พบว่าใช้ระยะเวลาในการนำสลบเฉลี่ย เพียง 6.45 นาที ซึ่งจากเดิมใช้ระยะเวลาในการนำสลบ 22.5 นาที เป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนดและสามารถลดรอบระยะเวลาในการนำสลบได้ร้อยละ 71.33 ส่วนบุคลากร ผู้รับบริการงานวิสัญญีมีความพอใจมากกว่า 80%
สรุป: จากข้อค้นพบดังกล่าวสามารถนำไปเป็นแนวทางการควบคุมคุณภาพการบริการ อย่างต่อเนื่องเพื่องานบริการวิสัญญี โดยการนำกระบวนการที่ออกแบบใหม่มา ใช้ต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตั้งแต่การออกความเห็นในทุก ๆ ด้าน เพื่อ ให้ได้ข้อสรุปที่ปฏิบัติได้ง่ายและสะดวก มีความชัดเจนในขั้นตอนของแนวปฏิบัติ ทำให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของแนวปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ ทำให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะทำงานด้วยความเต็มใจ ปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
คำสำคัญ: การลดเวลาระยะรอคอย การนำสลบ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ประภัตรา ปักกัดตัง. การปรับปรุงกระบวนการ พัสดุด้วยวิธีการออกแบบกระบวนการใหม่ กรณีศึกษาภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย ; มหาวิทยาลัยราชกัฎสวนสุนันทา ; 2549.

วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล. TQM Living Handbook ภาคห้า : การบริหารกระบวนการอย่างมีคุณภาพ (Quality Process Management) ตอนที่ 1 การสถาปนาระบบ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท บีพีอาร์ แอนด ทีคิวเอ็ม คอนซัลแทนท์ จำกัด ; 2544.

วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล, ภาณุ ถนอมวรสิน. TQM Living handbook ภาคห้า : การบริหาร กระบวนการอย่างมีคุณภาพ (Quality Process management) ตอนที่ 2 แนวทางการปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร ; บริษัท บีพีอาร์ แอนด ทีคิวเอ็ม คอนซัลแทนท์ จำกัด ; 2545.

วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล. TQM Living handbook ภาคหก : ระบบแห่งดัชนีวัดคุณภาพ (Key Quality Indicators). กรุงเทพมหานคร. บริษัท บีพีอาร์ แอนด ทีคิวเอ็ม คอนชัลแทนที จำกัด; 2543.

วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล, ผดุงศักดิ์ ทวิชัยยุทธ. TQM Living handbook ภาคเจ็ด : คู่มือปรับปรุงคุณภาพงานสำหรับพนักงานทุกระดับ ในองค์กรทีคิวเอ็ม (The QC Story and The 14 QC Toois). กรุงเทพมหานคร ; บริษัท บีพีอาร์ แอนด์ ทีคิวเอ็ม คอนชัลแทนท์ จำกัด; 2543.

ฐิติมา ชินะโชติ. ศิริวรรณ จิรสิริธรรม, สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์, บรรณาธิการ. ตำรา ฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลิฟวิ่ง; 2544

จิรุตม์ ศรีรัตตบัลล์. ประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2543.

นิสรณ์ เงาเบญจกุล. การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพของผู้ส่งมอบสำหรับชิ้นส่วนที่จัดชื้อ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตชุดสายไฟฟ้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร. บัณฑิตวิทยาลัย ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2541.

นงลักษณ์ สุรศร. ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปคาสตรมหาบัณฑิต]. คณะพัฒนาสังคม. ; สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ; 2543.

อัจฉรา ศุขศิลป์. การปรับปรุงคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ด้วยการประยุกตใช้ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กร ที่เป็นเลิศ ศึกษากรณีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. [วิทยานิพนธปริญญาครุศาสตร มหาบัณหิต]. ภาควิชาครุศาสตร์บัณหิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2547.