การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ศิริรุ่ง เดชาศิลปชัยกุล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การตัดมดลูกเป็นการผ่าตัดที่ทำกันมากในนรีแพทย์ การผ่าตัดมดลูกสามารถทำผ่าตัดได้ทางหน้าท้อง ทางช่องคลอดและโดยการใช้ Laparoscope แต่การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องยังเป็นที่นิยมทำกันทั่วโลก
วัตถุประสงค์: เพี่อศึกษาอุบัติการณ์ ข้อบ่งชี้ ผลการตรวจทางพยาธิวิทยา และภาวะแทรกซ้อน จากการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลศรีสะเกษ
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
วิธีศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากบันทึกทางการแพทย์ของผู้ป่วย 186 ราย ที่มารับการตัดมดลูก ทางหน้าท้องที่โรงพยาบาลศรีสะเกษตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ผลการศึกษา: พบว่ามีการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องร้อยละ 93.5 ของการผ่าตัดมดลูกทั้งหมด ในโรงพยาบาลศรีสะเกษส่วนใหญ่ อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 58.6 อาการที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลมากที่สุด คือ ปวดท้องน้อย ร้อยละ 34.9 ข้อบ่งชี้ที่พบบ่อยที่สุด คือ Uterine leiomyomas ร้อยละ 62.9 รายงานผลพยาธิวิทยาที่พบมาก คือ Uterine leiomyomas ร้อยละ 57.0 ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ ภาวะไข้ มีเลือดออกมาก และภาวะอักเสบติดเชื้อ
สรุป: อุบัติการณ์การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องร้อยละ 93.5 ของการผ่าตัดมดลูกทั้งหมด ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ข้อบ่งชี้ที่พบบ่อยที่สุด คือ Uterine leiomyomas รายงานผลพยาธิวิทยาที่พบมาก คือ Uterine leiomyomas ภาวะแทรกซ้อนที่พบ ได้แก่ ภาวะไข้ เลือดออกมาก และภาวะอักเสบติดเชื้อ

Article Details

How to Cite
เดชาศิลปชัยกุล ศ. (2018). การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 24(3), 35–44. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/150815
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Jones III HW. Adominal hysterectomy. In : Rock JA, Jones III HW. Te Linde's Operative Gynecology. 10th ed. Philadelphia, PA : Lippincott Williams & Wilkins; 2008. p. 727-43.

Stovall TG. Hysterectomy. In: Berek JS. ed. Berek & Novak's Gynecology. 14th ed. Philadelphia, PA : Lippincott Williams & Wilkins; 2007. p. 805-46.

สุจินต์ กนกพงศ์ศักดิ์ และจิรศักดิ์ มนัสสากร. เนื้องอกมดลูก. ใน : สมบูรณ์ คุณาธิคม, มงคล เบญจาภิบาล, มณี รัตนไชยานนท์ และ สุวนิตย์ ธีระศักดิ์วิชยา, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา. กรุงเทพมหานคร: พี. เอ. ลิฟวิ่ง; 2548. หน้า. 202-10.

Munro MG. The evolution of uterine surgery. Clin Obstet Gynecol 2006;49:713-21.

Baakdah H, Tulandi T. Uterine fibroid embolization. In: Clin Obstet and Gynecol 2005; 48:361-8.

Hager WD, Larsen JW. Postoperative infections: prevention and management. In : Rock JA, Jones III HW. Te Linde's Operative Gynecology. 10th ed. Philadelphia, PA : Lippincott Williams & Wilkins; 2008. p. 190-202.

Katz VL. Postoperative counseling and management. In: Comprehensive Gynecology. 5th ed. Philadelphia : Mosby Elsevier; 2007. p. 661-710.