ผลลัพธ์ทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงของระบบการทำงานของไตที่ลดลงในผู้ป่วยไตเรื้อรังในคลินิกโรคไต

Main Article Content

ดวงรัตน์ ตันรัตนานนท์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: คลินิกโรคไตโรงพยาบาลสุรินทร์ได้ดำเนินการคัดกรอง ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจาก เบาหวานและจากความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพี่อให้ การดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังและชะลอความการเสื่อมหน้าที่ของไต ในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ โดยทีมสหวิชาชีพ ผลลัพธ์ทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเป็นข้อมูล ที่ทีมสหวิชาชีพต้องตระหนักเพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงของระบบการทำงานของไตที่ลดลงในผู้ป่วยไตเรื้อรังในคลินิกโรคไต โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคดัดขวาง (cross-sectional analytical study)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในผู้ป่วย ที่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่คลินิกโรคไต โรงพยาบาลสุรินทร์ ทุกรายในช่วง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 จำนวน 316 คน กำหนดคำนิยามและการแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรังตามแนวทางของ K/DOQI 2002
การวิเคราะห์ข้อมูล: สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นตัวแปรต่อเนื่องด้วย Independent t-test และเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นตัวแปรไม่ต่อเนื่องด้วย Chi-square test วิเคราะห์ ปัจจัยเลี่ยงของระดับการทำงานของไตที่ลดลงด้วย Logistic regression analysis
ผลการวิจัย: จากกลุ่มตัวอย่าง 316 คน มีอายุเฉลี่ย คือ 58.2 + 16.6 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 172 ราย (ร้อยละ 54.4) เป็นกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองร้อยละ 45.3 พบผู้ป่วยที่มีระดับการทำงานของไตอยู่ที่ระดับ 3-5 เท่ากับร้อยละ 93.0 และ 89.5 เมื่อคำนวณด้วยสูตร MDRD และ Cockroft & Gault ตามลำดับ ผู้ป่วยสามารถ ควบคุมระดับ systolic blood pressure, diastolic blood pressure, Fasting plasma glucose, Total cholesterol, Triglyceride ได้ตามเกณฑ์ของสมาคม เบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาเท่ากับ 36.1%, 71.5%, 21.5%, 94% และ 94% ตาม ลำดับ ผู้ป่วยจำนวน 194 คน (ร้อยละ 82.3) ได้รับยาลดความดันโลหิต 1-3 ตัว ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง โดยยาลดความดันโลหิตที่ผู้ป่วยได้รับสามลำดับ แรก คือ CCB (66.0%), alpha blocker (45.0%) และ hydrochlorothiazide (36.5%) ผู้ป่วยจำนวน 88 คน (ร้อยละ 27.9) มีระดับการทำงานของไตที่ลดลง ภายในระยะเวลา 1 ปีของการศึกษา โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อระดับการทำงานของ ไตที่ลดลง ได้แก่ ระดับ systolic blood pressure (OR = 1.13, 95% CI : 0.66-1.92, p = 0.04), diastolic blood pressure (OR = 1.36, 95% CI : 1.28-3.74, p = 0.01), Fasting plasma glucose (OR = 1.74, 95% CI : 0.71-2.48, p = 0.01)
สรุปผลการศึกษา: ปัจจัยเลี่ยงที่มีผลต่อระดับการทำงานของไตที่ลดลงภายโนระยะเวลา 1 ปี อย่าง มีนัยสำคัญ ในผู้ป่วยไตเรื้อรังใน คลินิกโรคไต คือ ความดันโลหิต และระดับ น้ำตาลในเลือด ดังนั้นการควบคุมระดับความดันและระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ ตามเป้าหมายจะช่วยชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้
คำสำคัญ: โรคไตเรื้อรัง, ระดับการทำงานของไต, ผลลัพธ์ทางคลินิก, ปัจจัยเสี่ยง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

National Kidney Foundation Kidney Disease Outcomes Quality Initiative. Clinical practice guidelines for chronic kidney disease : evaluation, classification, and stratification. Kidney disease outcome quality initiative. Am J Kidney Dis 2002;39: 51-246.

Poggio ED, Wang X, Greene T. et al. Performance of the modification of diet in renal disease and Cockcroft-Gault equations in the estimation of GFR in health and in chronic kidney disease. J Am Soc Nephrol 2005;16:459-66.

Cockcroft DW, Gault MH. Prediction of creatinine clearance from serum creatinine. Nephron 1976;16(1):31-41.

Coresh J, Astor BC. Prevalence of chronic kidney disease and decreased kidney function in the adult us population: Third National Health and Nutrition Examination Survey. Am J Kidney Dis 2003;41(1):1-12

Chittinandana A, Chailimpamontree W, Chaloeiphap P. Prevalence of Chronic Kidney Disease in Thai Adult Population. J Med Assoc Thai 2006; 89(2) : S112-S20.

Perkovic V, Cass A, Patel AA, Suriyawong paisal P, Barzi F, Chadban S, et al. High prevalence of chronic kidney disease in Thailand. Kidney International 2008;73:473-9.

American diabetes association. Standard of medical care in diabetes-2006. Diabetes Care 2006 ; 29 (Suppl1):S4-S42.

Chobanian AV, Bakris GL, Black HR, Cushman wc, Green LA, Izzo JL Jr, et al. The Seventh Report of the Joint National Committee on Prevention Detection Evaluation and Treatment of High Blood Pressure. JAMA 2003; 289:2560-72.