อัตราการสูบบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบ และการเลิกสูบบุหรี่ ของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ศรชนก สุทาวัน
จุฑาทิพย์ แซ่จึง
สิริรัตน์ อัศวเมธาพันธ์
พูนสุข ทองเสี่ยน
วรัญชลิกา พลพงษ์
วชิรญา จึงเจริญนรสุข
เอนก จัดดี
ธัญชนก ดำริห์

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: โรงพยาบาลศรีสะเกษได้ประกาศเป็นโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ 100% ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2550 แต่ยังพบว่ามีปัญหาการกลับมาสูบมาซ้ำของผู้ใช้บริการที่เคยรับการบำบัดในคลินิกอดบุหรี่ และการแอบสูบบุหรี่ของผู้ใช้บริการบริเวณมุมลับตาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืนในเขตโรงพยาบาลศรีละเกษ
วัตถุประสงค์: อัตราการสูบบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ และการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วย ญาติและบุคคลทั่วไปที่ใช้บริการโรงพยาบาลศรีละเกษ เฉพาะเพศชาย
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลศรีสะเกษ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง
วิธีการศึกษา: ใช้แบบรอบถามในกลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 - 20 ลิงหาคม 2552 รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างข้อมูลโดยใช้ t-test วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ความถดถอยเชิงพหุ
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 873 คน พบว่าสูบบุหรี่ประจำทุกวันและสูบบางโอกาส ร้อยละ 26.9 และ 22.6 ดื่มสุราบางโอกาส ร้อยละ 63.0 มีสมาชิกรอบตัวสูบบุหรี่ ร้อยละ 58.8 ทราบข้อมูลโรงพยาบาล ศรีสะเกษเป็นเขตปลอดบุหรี่จากป้ายประกาศในโรงพยาบาล ร้อยละ 71.4 รับทราบว่ามีคลินิก อดบุหรี่ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ร้อยละ 65.5 ต้องการมาใช้บริการหรือแนะนำคลินิกอดบุหรี่ ร้อยละ 94.8 เฉพาะผู้สูบบุหรี่มีความต้องการเลิกสูบในระยะเวลาอันใกล้ ร้อยละ 44 ผลการศึกษา ต้านความสัมพันธ์พฤติกรรมการสูบบุหรี่กับปัจจัยลักษณะประชากรด้านต่าง ๆ พบว่าปัจจัยอายุ อาชีพ การศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส รายได้ประจำเดือน ความเครียดในการทำงานหรือการใช้ชีวิต การดื่มสุรา และสมาชิกรอบตัวที่สูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยสถานะผู้มาใช้บริการไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่
ระดับทัศนคติต่อการสูบและการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ใช้บริการโดยรวมอยู่ในระดับดี (มีระดับ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.94) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีระดับทัศคติสูงสุด คือ ด้าน ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รองลงมา คือ ผลกระทบต่อสุขภาพ ผลกระทบต่อลังคม และด้าน ผลกระทบต่อการทำงาน ตามลำดับ
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับทัศนคติต่อการสูบบุหรี่กับปัจจัยลักษณะประชากรต้านต่าง ๆ พบว่า ปัจจัยต้านสังคม ตัวแปรสถานะญาติผู้ป่วย ปัจจัยต้านสุขภาพ ตัวแปรการสูบบุหรี่ประจำและ บางโอกาสมีความสัมพันธ์เชิงลบกับทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ทั้งด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้าน การทำงาน และด้านสังคม ส่วนตัวแปรอายุ 26-45 ปี เงินเดือนมากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป มีความเครียด และการเคยดื่มสุราแต่ปัจจุบันเลิกแล้วมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อ การสูบบุหรี่
สำหรับทัศนคติในการเลิกบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่กับปัจจัยลักษณะประชากรด้านต่าง ๆ พบว่าตัวแปรเคยดื่มสุรา แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว อายุ 46-55 ปี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ ในขณะ ที่สถานะญาติผู้ป่วย การสูบบุหรี่บางโอกาส อายุมากกว่า 55 ปี รายได้ 5,000-10,000 บาท และ การดื่มสุราประจำมีความสัมพันธ์เชิงลบกับทัศนคติต่อการเลิกบุหรี่
สรุป: ผู้ใช้บริการทั้ง 3 กลุ่มมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ทีไม่แตกต่าง ด้านผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นต้าน ที่มีระดับทัศนคติสูงสุด สนับสนุนให้เห็นว่านโยบายการขึ้นภาษีบุหรี่ของรัฐบาลน่าจะเป็นแนวทาง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

จุทาทิพย์ แซ่จึง. พฤติกรรมการสูบบุหรี่และทัศนคติต่อการเลิกบุหรี่ของบุคลากรสาธารณสุข และบุคลากรทางการศึกษา เขตตรวจราชการ สาธารณสุขที่ 14 [วิทยานิพนธหลักสูตรปริญญา เภสัชศาสตร มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาเภสัชกรรม คลินิกและการบริหาร, คณะเภสัชศาสตร์ : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2551.

ศรัณยา เบญจกุล. ลักขณา เติมศิริกุลชัย. มณฑา เก่งการพานิช. สถานการณ์การบริโภคยาสูบของประขากรไทยระหว่างปี พ.ศ. 2534-2544. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมบริโภคยาสูบ; 2549.

เจริญ บุตรดี. ทัศนคติและการสูบบุหรี่ของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดศรีสะเกษ. ภาคนิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณทิต : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533.

มนูญ สินฝาด. ทัศนคติและพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลและระดับอำเภอในจังหวัดตรังที่มีต่อการสูบบุหรี่. ภาคนิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณทิต : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533. โนมณทา เก่งการพานิช, ลักขณา เติมศิริกุลชัย และสาโรจน์ นาคจู. การทบทวนและวิเคราะห์ทิศทางการวิจัยการควบคุมยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2519-2549. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมบริโภคยาสูบ; 2549.

จีระศักดิ์ เจริญพันธ์. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนในเขตตำบลกระทุ่มราย อำเภอ ประทาย จังหวัดนครราชสิมา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2547. ใน มณทา เก่งการพานิช, ลักขณา เติมศิริกุลชัย และสาโรจน์ นาคจู. การทบทวนและวิเคราะห์ทิศทางการวิจัยการควบคุมยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2519-2549. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมบริโภคยาสูบ; 2549.

สมพร แข่งเพ็ญแข. ความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนในเขต ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. ภาคนิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณทิต : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2537. ใน มณทา เก่งการพานิช, ลักขณา เติมศิริกุลชัย และสาโรจน์ นาคจู. การทบทวนและวิเคราะห์ทิศทางการวิจัยการควบคุมยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2519-2549. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการ ควบคุมบริโภคยาสูบ; 2549.

นงนุซ บุญอยู่. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกหรือการกลับมาสูบของผู้รับบริการอดบุหรี่. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาเชียงใหม่; 2541. ใน มณทา เก่งการพานิช, ลักขณา เติมศิริกุลชัย และสาโรจน์ นาคจู. การทบทวนและวิเคราะห์ทิศทางการวิจัยการ ควบคุมยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2519-2549. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมบริโภคยาสูบ; 2549.