การศึกษาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการขนส่ง โรงพยาบาลสุรินทร์ พ.ศ. 2545-2550

Main Article Content

จิรศักดิ์ วิจักขณาลัญฉ์

บทคัดย่อ

เหตุผลในการวิจัย: อุบัติเหตุการขนส่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เป็นอันดับต้น ๆ ของญาติ และเป็นปัญหาที่ทางโรงพยาบาลสุรินทร์ต้องมีส่วนใน การรับผิดชอบ โดยเฉพาะในระดับจังหวัด การวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง การบาดเจ็บ (Injury Surveillance Program) ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค จะทำให้สามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุของ โรงพยาบาลสุรินทร์และเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งพฤติกรรมเสี่ยงของ ผู้บาดเจ็บและผลของการรักษา เพี่อนำไปใช้สำหรับวางแนวทางในการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุของโรงพยาบาลสุรินทร์และเครือข่าย
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลการบาตเจ็บจากอุบัติเหตุการขนส่งจากฐานข้อมลที่บันทึกในโปรแกรม เฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Injury Surveillances Program) ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในผู้บาดเจ็บที่มารับบริการที่โรงพยาบาล สุรินทร์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550
ผลการศึกษา: ระบาดวิทยาของบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการขนส่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2550 โดยพบมากในเพศชาย กลุ่มอายุ 15-19 ปี การใช้ รถจักรยานยนต์เสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุสูงสุด พฤติกรรมเสี่ยง ทั้งเรื่องการไม่ใช้หมวกนิรภัยและการดื่มแอลกอฮอล์ยังเป็นปัญหาที่พบในผู้ได้รับ บาดเจ็บจากอุบัติเหตุการขนส่ง โดยพบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ไม่สวมหมวก นิรภัยสูงกว่าผู้สวมหมวกนิรภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) เช่นเดียวกัน กับอัตราการเสียชีวิตของผู้ดื่มแอลกอฮอล์เมื่อเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าผู้ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) การบาดเจ็บมีความรุนแรงมากขึ้น โดยมี ผู้ได้รับบาดเจ็บจำเป็นต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากร้อยละ 37.33 ในปี พ.ศ. 2545 เป็นร้อยละ 49.59 ในปี พ.ค. 2550 เช่นเดียวกับอัตรา การเสียชีวิตของผู้ป่วยในก็พบว่าสูงขึ้นจากร้อยละ 2.35 ในปี พ.ศ. 2545 เป็น ร้อยละ 4.25 ในปี พ.ศ. 2550 ขั้นตอนการดูแล เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บก่อนส่งโรงพยาบาลสุรินทร์มีการพัฒนาคุณภาพการดูแลที่ดีขึ้น ขณะที่ผลการรักษาผู้บาดเจ็บยังต่ำกว่ามาตรฐาน
สรุป: การเกิดอุบัติเหตุทางการขนส่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางระบาดวิทยา ปัจจัย เสี่ยงเรื่องการไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ และ การดื่มเครื่องดึ่มแอลกอฮอล์กับการขับขี่ยานพาหนะยังพบได้ในอัตราที่สูง การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บก่อนส่งโรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพดีขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของโรงพยาบาลสุรินทร์ควรมี การวิเคราะห์และพัฒนาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. รจิตร บุณยโหตระ. วิทยาการระบาดของอุบัติภัยโนประเทศไทย. ใน: คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ. วิทยาการระบาดและการควบคุมอุบัติภัย. กรุงเทพหมานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา; 2530:1-2.

2. ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. ความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุบัติเหตุจราจร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โฟนอารต พับลิซซิ่ง, 2537

3. ชไมพันธุ์ สันติกาญจน์. รูปแบบใหม่ของการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในระดับจังหวัด. วารสาร วิชาการสาธารณสุข 2542;8 (1):11-24

4. วิทยา ชาติบัญชาชัย. Trauma audit for hospital care improvement, Khon Kaen Hospital. ว. วิชาการสาธารณสุข (Journal of Health Science) 2541;7(4):421-30

5. Civil ID, Schwab CW. The Abbreviated Injury Scale, 1985 Revision : a condensed chart for clinical use. J Trauma 1988;28:87-80.

6. Boyd CR, Tolson NA, Copes WS. Evaluating trauma care : The TRISS method. J Trauma 1987;27:370-8
7. Champion HR, Sacco WJ, Hunt TK. Trauma severity scoring to predict mortality. World J Surg 1983;7:4-11

8. กาญจนีย์ ดำนาคแก้ว, สถานการณ์ปัจจุบันของพฤติกรรมเมาแล้วขับ. Available from : URL:https://203.157.4/surdata/ncd/injury /071011093651situation_AL.pdf