นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยโดยใช้ผู้ป่วยเปีนศูนย์กลาง และการบูรณาการการบริหารจัดการระบบบริการในประเทศไทย : กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพี่อศึกษา พัฒนา และค้นหาประเด็นที่สำคัญและหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับ การดูแลผู้ป่วยและชุมชนโดยใช้ผู้ป่วยและชุมชนเป็นศูนย์กลางโดยเฉพาะผู้ป่วย โรคเรื้อรัง
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ออกแบบลักษณะวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action research design) และการอภิปรายกลุ่มจากผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง (Focus group discussion) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยและ ชุมชนโดยใช้ผู้ป่วยและชุมชนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง ปัญหา สาธารณสุขที่ซับซ้อน ซึ่งคัดเลือกมา 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคเรื้อรัง (เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) โรคไข้เลือดออกและปัญหาเรื่องอุบัติเหตุจราจรในจังหวัด นครราชลืมา
ผลการศึกษา: พบประเด็นสำคัญในการจัดบริการและพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยและชุมชน โดยใช้ผู้ป่วยและชุมชนเป็นคูนย์กลางอยู่ 4 องค์ประกอบ คือ ระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน บุคลากรสาธารณสุข องค์กรดูแลด้านสุขภาพและระบบ สุขภาพ ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบมีประเด็นย่อย ๆ อีกหลายประเด็น โดยต้อง อาศัยองค์ความรู้จากหลายวิชาและการประสานงานที่ดีจากทุกองค์ประกอบ รวมทั้งต้องอาศัยทักษะการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย โดยแพทย์สืบค้นทั้งโรค และความเจ็บป่วย ทำความเข้าใจชีวิตคนไข้ หาหนทางดูแลร่วมกัน ผสมผสาน การสร้างเสริมสุขภาพและปัองกันโรค เติมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับ ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
สรุป: การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยและชุมชนโดยใช้ผู้ป่วยและชุมชนเป็นคูนย์กลาง ภายใต้นโยบาย 30 บาท ของรัฐบาลจำเป็นต้องสร้างระบบการฝึกทักษะ การสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการปรับปรุงให้แนวคิดนี้ยืดหยุ่นและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการดูแลที่องค์รวม (กาย จิต สังคม) ทั้งในระบบการศึกษาและระบบบริการ
คำสำคัญ: นวัตกรรมการให้บริการผู้ปวยและญาติโดยให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
Article Details
References
2. Pongsupap, Y. National Health Security Office. Systematic home visit (census) of Ayutthaya Urban Health Centre in Ayutthaya Research Project. 1992.
3. Jitpithuklert, S. Review experience of Patient center care in Canada and Lecture, 2006