การให้ dopamine ในผู้ป่วย Leptospirosis พื่อการรักษาไตวายเฉียบพลัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของ leptospirosis พบว่ามีการใช้ Dopamine ขนาดต่ำในการรักษาไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยติดเชื้อโลหิตเป็นพิษที่ เกิดจากสาเหตุแตกต่างกันเป็นประจำ แต่การศึกษาที่ผ่านมาไม่พบว่าได้ประโยชน์ จากการใช้ยา dopamine การศึกษาในครั้งนี้จึงเลือกศึกษาการใช้ Dopamine ขนาดต่ำในผู้ป่วย leptospirosis
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้ dopamine ขนาดต่ำในการดำเนินโรคไตวายเฉียบพลันรวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในผู้ป่วย leptospirosis
วิธีการวิจัย: ทำการศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่มตั้งแต่เมษายน 2547 - เมษายน2549 ในผู้ป่วย leptospirosis 69 คน ที่มี serum creatinine 2-8 mg/dl ได้รับการสุ่มให้การ รักษาตามแนวทางมาตรฐานร่วมกับ Dopamine ขนาดต่ำกับกลุ่มผู้ป่วยที่รักษา ตามแนวทางมาตรฐานแต่ไม่ให้ dopamine โดยเปรียบเทียบผลแทรกซ้อนต่อไต และผลแทรกซ้อนอื่น ๆ
ผลการศึกษา: จากการศึกษาไม่พบความแตกต่างในข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบความแตกต่างของค่า serum creatinine สูงสุดระหว่างกลุ่มที่ให้และไม่ให้ dopamine (5.51 ± 2.89 และ 5.39 ± 2.96 mg/dl, P = 0.87), อัตราการ ลดลงของ serum creatinine (1.078 ± 0.78 และ 0.69 ± 0.69 mg/dl/day, P = 0.064), การได้รับการล้างไต (13.3% และ 9.67%, P = 0.408) ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล (7.75 ± 4.48 วัน และ 6.19 ± 3.83, P = 0.226)
สรุป: จากการศึกษาไม่พบความแตกต่างของการให้และไม่ให้ยา dopamine ในผู้ป่วย leptospirosis ในการดำเนินโรคไตวายเฉียบพลัน อันได้แก่ ค่า serum creatinine สูงสุด, อัตราการลดลง ของ serum creatinine, การได้รับการล้างไตและระยะ เวลาโนการนอนโรงพยาบาล
คำสำคัญ: Dopamine. Acute renal failure, leptospirosis.
Article Details
References
2. Katz AR, Ansdell VE, Effler PV, et al. Assessment of clinical presentation and treatment of 353 cases of laboratory confirmed leptospirosis in Hawii, 1974-1998. Clin Infect Dis 2001;33:1834-41.
3. Kapusta DR, Robie NW. Plasma dopamine in regulation of canine renal blood flow. Am J Physiol 255 : R379-R387, 1988.
4. Katz DV, Troster EJ, Vaz FA. Dopamine and kidney in sepsis : a systematic review. Rev Assoc Med Bras. 2003 ; Jul-Sep; 49(3): 317-25. Epub 2003 Nov 05.
5. WHO. (World Health Organization, Department of Communicable Disease Surveillance and Response). WHO Recommended Surveillance Standards, 1999.
6. Visith S, Kearkiat P, Nephropathy in leptospirosis, J post grad med, SYMPOSIUM 2005 Volume : 51 Issue : 3 ; 184-8.
7. Adrian Covic,, David J. A. Goldsmith, Paul Gusbeth-Tatomir, et al. A retrospective 5-year study in Moldova of acute renal failure due to leptospirosis : 58 cases and a review of the literature, Nephrol Dial Transplant (2003)18:1128-34.
8. Sompong Jaroongjittanusonti. Diagnosis and Treatment of Leptospirosis in Srisaket Province in 2003. Disease Control J, Vol 30 No.2 April-June 2004.
9. Enes Murat Atasoyu, Vedat Turhan, Suat Unver et al. A case of leptospirosis presenting with end-stage renal failure, letter. Nephrology Dialysis Transplantation 2005;20(10):2290-2292.
10. Jan O. Friedrich, DPhil; Neill Adhikari et al. Meta-Analysis: Low-Dose Dopamine Increases Urine Output but Does Not Prevent Renal Dysfunction or Death, Vol 142 Issue 7, April 2005:510-524.
11. Kellum J A. M Deaker J. Use of dopamine in acute renal failure: a meta-analysis. Crit Care Med 2001 Aug;29(8):1526-31.
12. Gambaro G, Bertaglia G, Puma G et al. Diuretics and dopamine for the prevention and treatment of acute renal failure : a critical reappraisal. J Nephrol. 2002 May-Jun;15(3):213-9.
13. Padmanabhan R. Renal dose dopamine-it's myth and the truth. J Assoc Physicians India. 2002 Apr; 50: 571-5.
14. Holmes CL, Walley KR. Bad medicine : low-dose dopamine in the ICU. Chest. 2003 Apr;123(4):1266-75.
15. A Lauschke, U K M Teichgraber et al. "Low-dose" dopamine worsens renal perfusion in patients with acute renal failure. Kidney International (2006)69,1669-74.
16. Niwattayakul K, Sitprija V. Leptospiral acute renal failure: effects of dopamine and furosemide. Ren Fail. 2007;29(2):159-62.