การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

Main Article Content

กฤช หาญชาญชัยกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผลในการวิจัย: การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเป็นการผ่าตัดที่นิยมทำกันอย่างแพร่ หลายในปัจจุบัน อัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมีแนวโน้มสูงขึ้นมาก ผู้วิจัย ต้องการศึกษาการผ่าตัดดังกล่าวในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ อัตราการผ่าตัด, ข้อบ่งชี้, ข้อมูลผู้ป่วย, ผลการผ่าตัดของการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
สถานที่ศึกษาวิจัย: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
รูปแบบ: การวิจัยแบบพรรณนา (retrospective descriptive study)
วิธีการ: ศึกษาข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการของผู้คลอดที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ทุกคนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550 ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดยศึกษาข้อมูลจากทะเบียนคลอด, เวชระเบียน ผู้ป่วยใน และใบส่งต่อผู้ป่วย (referral form)
ผลการศึกษา: พบว่ามีจำนวนผู้คลอดที่มาคลอดที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ทั้งหมด 6,259 ราย ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องจำนวน 2,467 ราย คิดเป็นอัตราการ ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องร้อยละ 39.42 ข้อบ่งชี้ทีพบมากทีสุด คือ cephalo- pelvic disproportion ร้อยละ 40.13 ร้อยละของทารกที่มี Apgar score ที่ 1 และ 5 นาที มากกว่า 7 คะแนน (ทารกทีไม่มีภาวะ birth asphyxia) คือ ร้อยละ 92.48 และ 97.74 ตามลำดับ วิธีการผ่าตัดลงแผลที่มดลูกเป็นแบบ low transverse cesarean section เกือบทั้งหมด
สรุป: พบอัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ประมาณ ร้อยละ 40 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Cunningham FG., Leveno KJ., Bloom SL, Hauth JC, Gilstrap LC in., Wenstrom KD. Williams Obstetrics. 22nd ed. New York : McGraw-Hill ; 2005:587-606.

2. พิชัย เจริญพานิซ. ขบวนการคลอดสรีภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไข : Parturition Physiology and Problems. กรุงเทพฯ : โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยคาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541:537-55.

3. ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสด์, ยงยุทธ เหราปัตย์, กำแหง จาตุรจินดา. การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. ใน : ประทักษ โอประเสริฐสวัสติ', วินิจ พัวประติษฐ, สุรศักดิ์ ฐานิพานิชสกุล, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์รามาธิบดี 1. ฉบับนิพนธ์ครั้งที่ 2, พิมพิครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โฮลิสติกพับลิชชิ่ง; 2539:349-72.

4. สมพงษ คุณเลิศกิจ. การผ่าท้องทำคลอด. ใน : ธีระพร วุฒิยงนิช, ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, บรรณาธิการ. ตำราสูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ : หน่วยงานวารสาร วิชาการ; 2535:503-10.

5. Porter TF., Scott JR. Cesarean Delivery. In : Scott JR, Gibbs RS, Karlan BY., Haney AF. Danforth's Obsterrics and Gynecology. 9th ed. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins, 2003:449-60.

6. Qulligan EJ. Cesarean Section. In : Clin Obstet Gynecol 1985;28(4):689-779.

7. จตุพล ศรีสมบูรณ์. การผ่าท้องทำคลอด. ใน : ธีระ ทองสง, ซเนนทร์ วนาภิรักษ์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : พี.บี. ฟอเรน บุ๊คส เชนเตอร์ ; 2541:563-78.

8. อรรณพ ใจสำราญ. การผ่าท้องทำคลอด. ใน : ธีระพงศ์ เจริญวิทย์, บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ, ตักนัน มะโนทัย, สมชาย ธนวัฒนาเจริญ, กระเษียร ปัญญาคำเลิศ, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฟ้าส์ ; 2548:261-70.

9. Bowes WA. Jr., Thorp JM. Jr. Clinical Aspects of Normal and Abnormal Labor. In : Creasy RK, Resnik R, lams JD. Maternal-Fetal Medicine, Principles and Practice. 5th ed. Philadelphia : Saunders, 2004:671-705.

10. Pajntar M. Cesarean Delivery. In : Kurjak A., Chervenak FA. Textbook of Perinatal Medicine. 2nd ed. Norfolk : Informa UK, 2006:1899-911.