ผลการประเมินผลโครงการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สาธารณสุข เขต 13 โรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: จากกรอบแนวคิดของแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2550-2554 ได้กำหนดให้มืการพัฒนาระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ (EMS) ให้ได้มากขึ้น มีหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินทื่ให้บริการ ครอบคลุม มีระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ รวมถึง การส่งต่อที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ การประเมินผลการให้บริการการ แพทย์ฉุกเฉินจึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ ครอบคลุมตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อทราบผลการดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาล ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงการบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
วิธีการวิจัย: รวบรวมข้อมลจากแบบบันทึกการปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินของสำนัก ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินดำเนินโครงการตังแต่ 1 ตุลาคม 2550 ถึง 31 ธันวาคม 2550 โดยนำมาประเมินตามเกณฑ์เครื่องชี้วัดของสาธารณสุข เขต 13 เพึ่อวิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และ วางแผนพัฒนาระบบบริการเพี่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
ผลการศึกษา: จากการรวบรวมบันทึกการปฏิบัติงานบริการแพทย์ฉุกเฉินแก่ผู้ป่วย จำนวน 606 ราย พบว่าการให้บริการผู้ปวยตามเกณฑ์มาตรฐานของสาธารณสุขเขต 13 ใน 7 ตัวชี้วัด ที่ทำการประเมินผ่านเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 6 ตัวชี้วัด คือ ความ ครอบคลุมของพื้นที่ให้บริการ (55.70%) สัดส่วนของหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินต่อ การช่วยเหลือชีวิตขั้นสูงและขั้นพื้นฐาน (75.74 ะ 24.26) ความครอบคลุมการให้ บริการการแพทย์ฉุกเฉินในกลุ่มเป้าหมาย (81.97%) ระยะเวลาการตอบสนอง ในการให้บริการ (83.17%) ความเหมาะสมของการดูแลผู้ปวยที่ได้รับการดูแล เบื้องต้น (96.81%) และความเหมาะสมของการดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยที่ได้รับการช่วย ชีวิตขั้นสูง (98.97%) ส่วนเกณฑ์การมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ยังไม่สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน (45.45%) เนี่องจากขาดงบประมาณ สนับสนุนเละการเน้นถึงความสำคัญของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
สรุป: จากการประเมินผลการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินตามเกณฑ์มาตรฐานทั้ง7ด้าน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน 6 ด้าน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดในด้านมาตรฐานการดูแล ผู้ป่วยและการบริหารจัดการเชิงระบบ ส่วนตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คือ การมี ส่วนร่วมขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นมีสาเหตุจากการขาดงบประมาณสนับสนุน การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เช่น การจัดชี้อรถอาสากู้ชีพและค่าตอบแทน อาสาสมัครการเน้นให้ถึงความสำคัญการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินและผลักดัน เข้าสู่แผนงานองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นจะช่วยเพิ่มบทบาทขององค์กรในการมีส่วนร่วมในการบริการการ แพทย์ฉุกเฉิน
Article Details
References
2. ชมรมพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย. (2548) เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ การบาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ : นโยบายหลักการแนวปฏิบัติ; 2548.
3. เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร ; จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2546.
4. สุพักตร พิบูลย์. แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการประเมิน ประมวลสารคดีชุดวิชาการประเมิน และการจัดการโครงการประเมิน เล่มที่ 1. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2549.
5. สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. คู่มือการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. กรุงเทพมหานคร : L.T.Press Co. Ltd; 2548.
6. คิริชัย กาญจนวสี. ทฤษฎีการประเมินและการตัดสินใจ ประมวลสาระชุดวิชาการประเมิน และการจัดการโครงการประเมิน เล่มที่ 1. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2548.
7. Stufflebean, Danile L. and Skinkfield, Anthony L. Evaluation Theory, Model & Applications. 1st edition. San Francisco; 2007.