ความชุกของการติดเชื้อไวรัสเดงกีในโรงพยาบาลศีขรภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตผลของการวิจัย: โรคติดเชื้อไวรัสเดงกีเป็นโรคติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะที่พบ่อย ทำให้เกิดโรคไข้เดงกีและโรคไข้เลือดออก และในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก จำนวนมาก ถึงแม้ว่าอัตราการเสียชีวิตจะมีแนวโน้มลดลงก็ตามการทราบอุบัติการณ์ ความชุกของการเกิดโรคในแต่ละปี และการให้การวินิจฉัยเบื้องต้นที่รวดเร็วยัง เป็นแนวทางในการป้องกันและเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันมีการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าแพทยใม่ได้ตระหนักถึงโรคติดเชื้อไข้เลือดออกก็อาจทำให้การวินิจฉัยล้าช้า และให้การรักษาที่ไม่ถูกต้องและอาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาโรคได้ ดังนั้นการศึกษาข้อมูลดังกล่าวจะเป็นแนวทางในภารเฝ้าระวังโรคและจะเป็นประโยชน์ ในการวางแผนการรักษา ภาวะติดเชื้อไวรัสเดงกีให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาความชุก อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี ความสัมพันธ์ของการทำ Tourniques test กับการวินิจฉัยโรค และเปรียบเทียบ อัตราการเกิดไข้เดงกี และไข้เลือดออกระหว่างเพศ ช่วงอายุของผู้ป่วยโรคติด เชื้อไวรัสเดงกีในโรงพยาบาลศีขรภูมิ
สถานที่ศึกษา: ผู้ป่วยใน, โรงพยาบาลศีขรภูมิ
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษา แบบพรรณนา
วิธีการศึกษา: โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสเดงกี ใน โรงพยาบาลศีขรภูมิ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ค. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: จากการศึกษาผู้ป่วยไข้เดงกีและไข้เลือดออกที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ศีขรภูมิ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 ถีง 30 กันยายน 2550 มีจำนวนทั้งสิ้น 428 คน เป็นผู้ป่วยชาย 219 คน (51.2%) ผู้ป่วยหญิง 20 คน (48.8%) คิดเป็นอัตราส่วน 1: 0.95 เป็นผู้ป่วยติดเชื้อไข้เดงกี 276 คน (64.5%) เป็นผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออก 130 คน (30.4%) เป็นผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกที่มีภาวะข้อค 22 คน (5.1%) ผู้ป่วย อายุน้อยที่สุด 11 เดือน อายุมากที่สุด 53 ปี อายุเฉลี่ย 12.89 ± 7.04 ย่วงอายุที่ พบมากที่สุด 11-15ปี, จำนวนวันที่มิไข้เฉลี่ย 3.89 ±1.38 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก ที่มีตับโต 31 คน (20.4%) ผู้ป่วยติด เชื้อไข้เดงกีมี tourniquet test positive 118 คน (42%) ผู้ป่วย ติดเชื้อไข้เลือดออกมี tourniquet test positive 38 คน (29%) ผู้ป่วย ติดเชื้อไข้เลือดออกที่มีภาวะข้อคมี tourniquet test positive 5 คน (22%)
สรุปผลการศึกษา: จากผลการศึกษาพบอุบัติการณ์การเกิดไข้เดงกิและไข้เลือดออกในเพศหญิงและ เพศชายไม่แตกต่างกัน และพบมากในช่วงอายุ 11-15 ปี ซึ่งไม่แตกต่างจากอายุ เฉลี่ยของการเกิดไข้เลือดออกทั่วประเทศ นอกจากนี้การเกิดภาวะช็อคในผู้ป่วย ไข้เลือดออกทั้งเพศชายและเพศหญิงมีจำนวนใกล้เคียงกัน ผลการทำ tourniquet test พบว่าให้ผลบวกในผู้ป่วยติดเชื้อไข้เดงกี (DF) มากที่สุด
คำสำคัญ: ไข้เลือดออกเดงกื
Article Details
References
2. สุจิตรา นิมมานนิตย์. Dengue hemorrhagic fever. ใน : สุจิตรา นิมมานนิตย์ บรรณาธิการ ไข้เลือดออก. ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ดีไชด์ จำกัด, 2540:70.
3. สุจิตรา นิมมานนิตย์. ไข้เลือดออก. ใน ; สุจิตรา นิมมานนิตย์, ประมวญ สุนาการ บรรณาธิการ. ปัญหาโรคเด็กที่พบบ่อย. ครั้งที่ 12 . กรุงเทพมหานคร : บริษัทดีไชด์ จำกัด, 2535:200-20.
4. สุจิตรา นิมมานนิตย์. Dengue hemorrhagic fever. ใน: อุษา และ จุล ทิสยากร, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์เขตร้อน. กรุงเทพฯ : ดีไซด์, 2536:1-17.