การนำมาตรฐานการพยาบาลป้องกันการเกิดแผลกดทับ มาใช้ในหอผู้ป่วยดูแลระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสำคัญของปัญหา: ในปัจจุบันการดูแลแผลกดทับยังมีแนวทางปฏิบัติที่ไม่ละเอียด โรงพยาบาล ศรีสะเกษ ซึ่งได้เทียบเคียงในเขต 14 และมีนโยบายจากกลุ่มการพยาบาลให้ใช้ ตามมาตรฐานการพยาบาลการป้องกันการเกิดแผลกดทับทองเขต 14 ซึ่งใน หอผู้ป่วยดูแลระบบทางเดินหายใจมีผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ จำนวนมาก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับระดับ 2-4 หลังนำมาตรฐานการพยาบาล ป้องกันการเกิดแผลกดทับ เขต 14 มาใช้และเพื่อประเมินผลการปฏิบัติตาม มาตรฐานการพยาบาลดังกล่าว
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)
การคัดเสือกผู้ป่วย: ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ 50 คน และพยาบาล 23 คน
วิธีการทำวิจัย: ดำเนินการเก็บข้อมูลตามเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ชุด ก-ข วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤศจิกายน 2550
ผลการวิจัย: อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับระดับ 2-4 หลังการใช้มาตรฐานการพยาบาลการ ป้องกันการเกิดแผลกดทับ = 13.99 : 1,000 วันนอน ยังมีอัตราการเกิดแผลกดทับ สูงกว่าก่อนใช้มาตรฐาน ร้อยละ 33.11 และเกิดแผลกดทับในเพศชาย ร้อยละ 47.1 เพศหญิง ร้อยละ 52.9 มีแผลกดทับเกรด 1-3 ร้อยละ 7.7 84.6 7.7 และผลการ ปฏิบัติตามมาตรฐาน ปฏิบัติครบ ร้อยละ 69 ปฏิบัติไม่ครบร้อยละ 29 ไม่ปฏิบัติ ร้อยละ 2
สรุป: พยาบาลปฏิบัติตามมาตรฐานไม่ครบทุกข้อ ดังนั้นการนำมาตรฐานดังกล่าวมาใช้
จึงไมสามารถสรุปว่าเหมาะสมกับบริบทในหอผู้ป่วยดูแลระบบทางเดินหายใจ หรือไม่
คำสำคัญ: แผลกดทับ, มาตรฐานการพยาบาลป้องกันการเกิดแผลกดทับ
Article Details
References
2. มาลี งามประเสริฐ และคณะ. ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่รับไว้ในโรงพยาบาล. สารศิริราช 2546;55(2):78-90.
3. รักษนันท์ ขวัญเมือง. การป้องกันการเกิดแผลกดทับ การใช้ผลวิจัยเพื่อการปฏิบัติ. วารสาร พยาบาลศาสตร์ 2547;22(2):906-16.
4. ชมพูนุท พงษ์ศิริ. การพยาบาลผู้รับบริการที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวด้านจิตสังคม. วิทยาสาร พยาบาล 2539;21(1):44-52.
5. Tooher, R. Guideline for the Prevention and Management of Pressure Ulcer : Strategies for Implementation. Australia : National Institute of Clinical Studies, 2003.
6. Vanderwee K, Gerypdonch MH, De floor T. Effectiveness of an alternating pressure air mattress for the prevention of the pressure ulcers. Age Ageing 2005 May; 34(3):261-7.
7. ปองหทัย พุ่มระย้า และคณะ. ผลของการพยาบาลตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาล ต่อการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย ศัลยกรรมกระดูก 3. สารศิริราช 2546;53(12):587-98.
8. Desneveg UJ. Todorovic BE, Casser A, Crowe TE. Treatment with supplementary argentine, vitamin c and zinc in patients with pressure ulcers : a randomized controlled trial. Clinical Nutrition 2005 Dec; 24(6):979-87.