ผลการตรวจสุขภาพประจำปีของพระภิกษุ อำเภอเมืองศรีสะเกษและอำเภอพยุห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: สำนักงานเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลศรีสะเกษ จัดโครงการพัฒนา สุขภาพพระสงฆ์และสามเณรให้ยั่งยืนแบบองค์รวม ปี 2550 โดยการตรวจสุขภาพ ประจำปีในพระภิกษุ อายุ 35 ปีขึ้นไป
วัตถุประสงค์: 1. เพี่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรและสังคม ลักษณะพื้นฐานด้าน สุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุ
2. เพื่อศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางชีวเคมี
3. เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของพระภิกษุที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและข้อมูลผลการตรวจ สุขภาพของพระภิกษุที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2550 จำนวน 110 รูป
ผลการศึกษา: พบพระภิกษุส่วนใหญ่อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 37.28 มีภาวะสุขภาพเจ็บป่วยร้อยละ 52.73 ภาวะสุขภาพเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ร้อยละ 36.36 และมีภาวะสุขภาพดี ร้อยละ 10.91 กลุ่มที่มีภาวะสุขภาพเจ็บป่วยส่วนใหญ่พบภาวะไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 81.03 รองลงมา ได้แก่ โรคเบาหวาน ร้อยละ 8.62 ส่วนกลุ่มที่มีภาวะ สุขภาพเสี่ยงพบภาวะเสี่ยงต่อการเกิดไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 50.00 รองลงมา ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 25.00
สรุป: การศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีในพระภิกษุ กลุ่มเสี่ยง เพื่อค้นหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ความรุนแรงของโรค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการตรวจพบความผิดปกติ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
คำสำคัญ: การตรวจสุขภาพประจำปี, ภาวะสุขภาพ
Article Details
References
2. ประภาพร จันทร์เพ็ชร. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระภิกษุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงฆ์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ; 2548.
3. โรงพยาบาลสงฆ์. รายงานประจำปี 2548 โรงพยาบาลสงฆ์. กรุงเทพฯ : โรงพยาบาลสงฆ์; 2548.(เอกสารอัดสำเนา).
4. โรงพยาบาลสงฆ์. รายงานประจำปี 2549 โรงพยาบาลสงฆ์. กรุงเทพฯ : โรงพยาบาลสงฆ์; 2549. (เอกสารอัดสำเนา)
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. โครงการพัฒนาสุขภาพพระภิกษุและสามเณรให้ยั่งยืน แบบองค์รวม. ศรีสะเกษ : สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดศรีละเกษ ; 2550. (เอกสารอัดสำเนา).
6. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและเฝ้าระวังการเจ็บป่วย วัยทำงาน ผู้สูงอายุ. นนทบุรี : สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ; 2545.
7. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. การออกกำลังกายทั่วไปเฉพาะโรคผู้สูงอายุ. นนทบุรี : สถาบัน เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ; 2545.
8. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. อาหารทั่วไปและอาหารเฉพาะโรคผู้สูงอายุ. นนทบุรี : สถาบัน เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ.; 2545.
9. กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ สำหรับคนไทยวัยทำงาน อายุ 25-59 ปี. นนทบุรี : กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
10. สถาบันเวชคาสตร์ผู้สูงอายุ. มาตรฐานการให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุ. นนทบุรี : สถาบัน เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ; 2548.