การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อบุรีรัมย์แข็งแรง กรณีศึกษา อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

พัทรี เลาติเจริญ
ปราณีต เปี่ยมรัตน์จำรูญ
กิตติ เมอะประโคน

บทคัดย่อ

เหตุผลในการศึกษา: ในการดำเนินงานเมืองไทยแข็งแรงให้สำเร็จตามเป้าหมายและเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้แต่ในทางปฏิบัติกลับมีปัญหาตั้งแต่การแปลงยุทธศาสตร์ ไปสู่การปฏิบัติของแต่ละจังหวัด ขาดรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจน ขาดการ บูรณาการการดำเนินงานจากทุกภาคส่วน รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นต้น ตลอดทั้งเป็นผลสืบเนื่องจากการประสานงานแบบ top-down ที่ทำให้ ระบบการประสานงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์ ใช้ทฤษฎีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ร่วมกับยุทธศาสตร์การสร้างสุขภาพเพื่อเมืองไทยแข็งแรง ของนายแพทย์อมร นนทสุต เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์: เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ของการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม ร่วมกับยุทธศาสตร์การสร้างสุขภาพเพื่อเมืองไทยแข็งแรง ของนายแพทย์อมร นนทสุต เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงาน
รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ในลักษณะการวิจัยเพื่อพัฒนา (Research & Development)
กลุ่มตัวอย่าง: ประชากรคือประชาชนทุกคนที่ได้รับการคัดเสือกแบบเจาะจง 3 ขั้นตอน ได้แก่ ต.ส้มปอย อ.โดนดินแดง รวมทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน ประชากร 4,709 คน หลังคาเรือน 956 หลังคาเรือน
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่าการจัดเวทีเสริมสร้างความรู้และการใช้เครือข่ายวิทยากรพหุภาคี ส่งผลทำให้กลุ่มป้าหมายทุกระดับมีความรู้ ทัศนคติ การมีส่วนร่วมและพฤติกรรม สุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และด้วยกระบวนการจัดการความรู้ จาก การถอดบทเรียนและการใช้ Best Practice เป็นสื่อในการจัดเวทีประชาคมส่งผล ให้บรรลุหมู่บ้านแข็งแรง ร้อยละ 85.9 ตำบลแข็งแรง ร้อยละ 100.0 นอกจากนั้น ยังพบวาการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบของแกนนำระดับตำบลและมี เครือข่ายพหุภาคีที่ดี ทำให้เกิดการสนับสนุนงบประมาณและการระดมทุนในหมู่บ้าน การนำกระบวนการจัดการความรู้ มาใช้ในการดำเนินงานในพื้นที่ ทำให้ชุมชนมี การพัฒนาศักยภาพและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป: การนำรูปแบบการดำเนินงานดังกล่าวไปปรับใช้ในพื้นที่อื่นในระดับจังหวัด ส่วน ระดับกระทรวงสามารถนำไปเป็นข้อเสนอในการเตรียมบุคลากรขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับการถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่น

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติงาน เมืองไทยสุขภาพดี (Healthy Thailand) 2547. นนทบุรี : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2547.

2. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติงาน เมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) 2549. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2548.

3. กระทรวงสาธารณสุข. แบบบันทึกข้อมูลเมืองไทยแข็งแรง ระดับหมู่บ้าน/ตำบล อำเภอ/ จังหวัด ; นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2549. เอกสารอัดสำเนา.

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. สรุปผลการประเมินเมืองไทยแข็งแรงจังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2549. ...https://203.157.162.6/healthythailand2006/gui/BatchAssessForm/BatchAssessPresent Province29/4/2549.

5. กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การสร้างสุขภาพเพื่อเมืองไทยแข็งแรง. เอกสารประกอบ การประชุมโครงการสร้างความเข้มแข็งให้เมืองไทยแข็งแรง ปี พ.ศ. 2548. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2548.

6. สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. สังคมวิทยาชุมชน : หลักการศึกษา วิเคราะห์และปฏิบ้ติงานชุมชน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2536.

7. พรชัย พันธ์งาม. การพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอำเภอ มัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2540.

8. บุญชอบ เกษโกวิท. การประเมินประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมารดาในการให้อาหารเสริม. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกโภชนวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2538.

9. พนัส พฤกษ์สุนันท์, อุบล จ้นทร์เพชร และจินตนา ชุณหมุกดา. การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ของสมาชิกชุมชน เพื่อพัฒนาชุมชนน่าอยู่ : กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี. ราชบุรี : โรงพิมพ์ธรรมรักษ์; 2545.

10. กังสดาล สุวรรณรงค์. การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในกิจกรรมศูนย์สาธารณสุข มูลฐานชุมชน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.