กรณีศึกษา : ผู้ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

นงลักษณ์ เต็งประวัติ

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: จากสถิติปี พ.ศ. 2549 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทั้งสิน 3,189 คน โรคที่พบเป็นอันดับ 1 คือ โรคหลอดเลือดสมอง (483 คน) เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นประเด็นคุณภาพที่สำคัญ ของหน่วยงาน ซึ่งทางหอผู้ป่วยได้มีการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโดยใช้แผนการดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 7 วัน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2547 และขยายผลใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองของกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์จนถึงปัจจุบัน โดยเน้นการตรวจ วินิจฉัย รักษาตาม CPG โดยมีการสอนและฝึกทักษะการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วย/ ผู้ดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ สามารถกลับไปดูแล ตนเองที่บ้านและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ถือได้ว่าผู้ดูแลควรได้รับการเอาใจใส่ไม่น้อยไป กว่าผู้ป่วยที่แท้จริง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มักจะประสบกับภาวะเครียดจากการดูแล ผู้ป่วย ดังนั้นการเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาระในการดูแลผู้ป่วยที่ส่งผลกระทบต่อ ผู้ดูแล ที่เจ้าหน้าที่ทางด้านสุขภาพทุกคนควรให้ความสนใจ และได้เสนอแนะแนวทาง โนการช่วยเหลือผู้ดูแลเพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
รูปแบบของการวิจัย: การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้ระเบียบวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา ตามปรัชญาปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ รวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกและผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยเน้นการติความตามขั้นตอน ตามแบบของ Colaizzi
ผลการศึกษา: จากประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของผู้ดูแลพบว่ามี 4 ประเด็นหลัก และ 7 ประเด็นย่อยดังนี้ คือ ประเด็นหลักที่ 1 ปัญหาจากการดูแล, ประเด็น หลักที่ 2 ผลกระทบจากการดูแล ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ ประเด็นรองที่ 1 ผลกระทบทางด้านร่างกาย ประเด็นรองที่ 2 ผลกระทบด้านจิตใจ และประเด็นรองที่ 3 ผลกระทบทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ, ประเด็นหลักที่ 3 สิ่งที่ได้จากการดูแล ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย คือ ประเด็นรองที่ 1 ได้ทดแทนบุญคุณ และประเด็น รองที่ 2 ได้ทำหน้าที่ที่พึงกระทำในฐานะเป็น สามี/ภรรยา หรือเป็นลูกหลาน สุดท้าย ประเด็นหลักที่ 4 แนวทางในการช่วยเหลือผู้ดูแล ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย คือ ประเด็นรองที่ 1 ผู้ดูแลได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น และประเด็นรองที่ 2 ผู้ดูแล มีเวลาหยุดพักจากการดูแล
สรุปผลการศึกษา: ผู้ดูแลควรได้รับการเอาใจใส่ไม่น้อยไปกว่าผู้ป่วยที่แท้จริง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มัก จะประสบกับภาวะเครียดจากการดูแล ดังนั้นการเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาระ ในการดูแลผู้ป่วยที่ส่งผลกระทบต่อผู้ดูแล ที่เจ้าหน้าที่ทางด้านสุขภาพ (health professionals) ทุกคนควรให้ความสนใจ และได้เสนอแนะแนวทางในการช่วยเหลือ ผู้ดูแลเพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลต่อไป
คำสำคัญ: ประสบการณ์ชีวิต, ปรากฏการณ์วิทยา, ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กิตติ ลิ่มอภิชาติ. ประสาทวิทยาพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์; 2534.

2. ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. ญาติผู้ดูแลที่บ้าน: แนวคิด และปัญหาในการวิจัย. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2539; 84.

3. เพียงใจ ติรไพรวงค์. สัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแล กับผู้ป่วยและภาระการดูแลของสมาชิกครอบครัว ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลอนามัยชุมซน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.

4. สุดศิริ หิรัญชุณหะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแลโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

5. ชนิดา มณีวรรณ และคณะ. ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ดูแลที่บ้าน. วารสารพยาบาล 2538;236-44.

6. รุจา ภู่ไพบูลย์. ความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในครอบครัว. วารสารพยาบาล 2535:11.

7. ศิริพันธุ์ สาสัตย์. การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในประเทศไทย: การศึกษาการดูแลผู้สูงอายุสมอง เสื่อมโดยครอบครัวในสังคมพุทธศาสนาในประเทศไทย.วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ; 2546:15-24