ผลการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เสมหะพบเชื้อรายใหม่ ในโรงพยาบาลประโคนชัย

Main Article Content

พรรณราย กุลเศรษฐ

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: เนื่องจากวัณโรคเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในโลกและเป็นสาเหตุ การตายมากที่สุดของการติดเชื้อจากเชื้อชนิดเดียว การรักษามีวัตถุประสงค์ เพื่อลดอัตราการตาย อัตราป่วย และการแพร่กระจายเชื้อของวัณโรคโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาผู้ป่วยในระยะแพร่เชื้อให้หายขาดอย่างน้อย 85%
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เสมหะพบเชื้อรายใหม่จากการ รักษาด้วยสูตรยา 2HRZE/4HR ในโรงพยาบาลประโคนชัย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546 ถึง 30 กันยายน 2548
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลจากบันทึกประวัติการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกจากฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์ ทะเบียนผู้ป่วยวัณโรค (TB 03) ในโรงพยาบาลประโคนชัย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546 ถึง 30 กันยายน 2548
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยรวม 47 ราย และ 52 ราย ในปีงบประมาณ 2547 และ 2548 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อัตราส่วนผู้ป่วยชาย : หญิง เป็น 2.1 : 1 และ 1.6 : 1 และอายุของผู้ป่วยพบว่าอยู่ในช่วงอายุ 51-70 ปี ตามลำดับ โรคพื้นฐานของ ผู้ป่วยที่สำคัญคือโรคเบาหวาน ผลข้างเคียงจากการรักษาที่พบมากที่สุด คือ อาการผื่นคัน ผลการดูแลรักษาพบว่ารักษาหายขาดคิดเป็น 59.27% และ 76.92% ตามลำดับ
สรุป: ผลการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เสมหะพบเชื้อรายใหม่ในโรงพยาบาลประโคนชัย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546 ถึง 30 กันยายน 2548 ยังไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย ระดับชาติและขององค์การอนามัยโลก ซึ่งวิธีการที่ดีที่น่าจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มอัตรา การรักษาหายคือเพิ่มการมีส่วนร่วมเป็นพี่เลี้ยงโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำ ชุมชนในการกำกับการรับประทานยาแทนญาติของผู้ป่วย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย : 2541:23-9

2. อุทัยวรรณ กาณจนพังคะ. เปรียบเทียบประสิทธิผลของ DOTS โดยเจ้าหน้าที่และ DOTS โดยญาติในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 2543. วารสารวัณโรคและทรวงอก 2545;23(4):255-62

3. ชัยศิลป์ คำด้วง. ผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในโรงพยาบาลสตูล (ตุลาคม 2542 - กันยายน 2545). วารสารวัณโรคและทรวงอก 2547;25(4):199-206

4. นิตยา บุญสนอง. ประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นภายใต้การสังเกตโดยตรง (DOTS) ของโรงพยาบาลบางบัวทอง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2548;13(1):8-13

5. วันทนา พืชไพจิตร. Management of Tuberculosis by Directly Observed Therapy Short Course Method in Pathumtanee Hospital. วารสารวิชาการ รพศ./รพท. เขต 1 2543;2(2):69-75

6. วิทิต บรรจง. ผลการรักษาวัณโรคปอดด้วยระบบยาระยะสั้นของคลินิกวัณโรคโรงพยาบาล สิงห์บุรี (กรกฎาคม 2531 - มกราคม 2535). วารสารวัณโรคและทรวงอก 2535;13(4):281-89

7. นิอร อริโยทัย, บุญเชิด กลัดพ่วง, วารี ธนะสมบูรณ์, สุดใจ สามสี. การขาดการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่. วารสารวัณโรค โรคทรวงอก และเวชบำบัดวิกฤต 2548;26(3):167-73

8. Pungrassami P, Johnsen SP, Chongsu Vivatwong V, Osen J, Soresen HT. Practice of directly observed treatment (DOT) for tuberculosis in southern Thailand : comparison between different types of DOT observers. Int J Tuberc Lung Dis. 2002;6(5):389-95