การประเมินแผนบริการด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาล ในจังหวัดสุรินทร์ ช่วงปี พ.ศ. 2542-2544

Main Article Content

สงวนเกียรติ วันแสน

บทคัดย่อ

ความสำคัญของปัญหาการวิจัย: การบริการอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เป็นงานที่มีความสำคัญยิ่งเนื่องจาก เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยป้องกัน และลดความสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน ตลอดจน ความพิการของประชาชน จากการศึกษาสถิติอุบัติเหตุและฉุกเฉินในภาพรวม ของประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสูญเสียเป็นมูลค่ามหาศาล ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข จึงถือว่าการ ลดอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็นงานนโยบายที่สำคัญ เร่งด่วน ที่โรงพยาบาลและ หน่วยงานของสาธารณสุข ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินงานให้ ทะลุเป้าหมาย คือ ลดอุบัติเหตุและฉุกเฉินอันเนื่องมาจากสาเหตุนานัปการ ทั้งนี้ ได้จัดทำแผนพัฒนาในเรื่องนี้ไว้ในแผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ 8 (2540-2544)
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะแผนงานโครงการหรือกิจกรรมในแผนอุบัติเหตุและฉุกเฉินใน จังหวัดสุรินทร์ เพื่อประเมินปัจจัยดำเนินงาน กระบวนการดำเนินงาน ผลสำเร็จ ของแผนทั้ง 6 แผน ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์และระดับการส่งผลต่อปัจจัย ดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงานต่อผลสำเร็จงานแผนบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉินโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์
สถานที่: โรงพยาบาลสุรินทร์และโรงพยาบาลชุมชน 12 แห่ง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สาธารณสุขอำเภอ กปอ.จังหวัด อำเภอ ทางหลวง หน่วยกู้ภัย และสถานศึกษา ในจังหวัดสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงประเมิน
วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิน 1,842 คน ใช้เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม 7 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์อย่างง่าย หาระดับการส่งผลต่อผลสำเร็จของแผนแต่ละแผนจาก ปัจจัยดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงาน โดยใช้สถิติ Multiple Regression

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กฤษดา แสวงดี และคณะ. การประกันคุณภาพ การพยาบาลในโรงพยาบาล : งานบริการพยาบาล ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2544

2. กองระบาดวิทยา. การบาตเจ็บและการตายจากอุบัติเหตุการขนส่งและสาเหตุอึ่นที่สำคัญ พ.ศ. 2543. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th/ops/epi, 2545.

3. วิทยา ชาติบัญชาชัย. และคณะ. Trauma Registry Khonkean Regional Hospital 1993. ขอนแก่นการพิมพ์. จังหวัดขอนแก่น, 2537.

4. สงวนเกียรติ วันแสน. การประเมินโครงการฟื้นฟูความรู้ด้านการปฐมพยาบาล การเฝ้าระวังเพื่อป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ และโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาล การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และการป้องกันอุบัติเหตุจากการให้บริการ. งานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุรินทร์, 2540.

5. สถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย. ข้อมูลข่าวสารด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย. ฉบับที่ 8 : 1-2 พฤศจิกายน 2542. ข้อมูลข่าวลารด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย. ฉบับที่ 9 : 1-2 พฤษภาคม 2543.

6. สมคิด พรมจุ้ย. เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544.

7. สำนักงานคณะกรรมการป่องกันอุบัติภัยแห่งชาติ. สถิติอุบัติภัย ปี 2542. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์. กรุงเทพฯ, 2542.

8. Sepulveda C., and Gupta J.P. Glosserry of Terma Used in Planning Development and Health. ESCAP, Bangkok, 1981"

9. Stake, Robert E. Evaluation the Arts in Education : A Responsive Approach. Columbus, Ohio : Charles E. Merrill, 1975.

10. Stufflebeam, D.L., et. al. Educational Evaluation and Decision - Making. Itasca, Illinois : Peacock Publishing, 1971.