การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: จากการวิเคราะห์ข้อมูลแบบบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บโรงพยาบาลสุรินทร์ พบว่าในปี 2547 มีผู้บาดเจ็บส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนทั้งหมด 13 แห่ง จำนวน 1,646 ราย ประเมินความเหมาะสมในการปฐมพยาบาล 4 ประเภท ดังนี้ การให้ สารน้ำ ร้อยละ 69.62 การดูแลทางเดินหายใจ ร้อยละ 65.49 การดูแลบาดแผล และห้ามเลือด ร้อยละ 51.64 การดาม ร้อยละ 46.14 ทำให้ทราบว่าการปฐมพยาบาลและการดูแลขณะส่งต่อโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์ต่ำกว่าเกณฑ์ มาตรฐานที่สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคตั้งไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 จึงเกิด แนวคิดในการพัฒนาระบบส่งต่อเพี่อให้การส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุมีคุณภาพตาม เกณฑ์ที่กำหนด
วัตถุประสงค์: เพี่อพัฒนารูปแบบระบบการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ จังหวัดสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยปฏิบัติการ (Operations Research)
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1) การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลเฝ้าระวัง การบาดเจ็บ รพม./รพศ. ออกแบบโดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ศึกษา ประเด็นปัญหาของระบบส่งต่อและนำมาวิเคราะห์เหตุรากโดยใช้แผนภูมิก้างปลา
2) การหาแนวทางแก้ไขและจัดลำดับความสำคัญของแนวทางแก้ไขปัญหาด้วย เทคนิคการให้คะแนนตามเกณฑ์ และถ่วงน้ำหนัก และจัดทำคู่มือการส่งต่อ ผู้ป่วยอุบัติเหตุ จังหวัดสุรินทร์
3) การทดสอบแนวทางการแก้ไข ดังนี้
3.1 เปรียบเทียบศักยภาพการปฐมพยาบาลและการดูแลขณะส่งต่อ ใช้แบบ บันทึก และประเมินการส่งต่อ สร้างโดยการมีส่วนร่วมของพยาบาล ปฏิบัติการในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่เป็นตัวแทนแต่ละโรงพยาบาลชุมชน หาค่าความเที่ยงตามสูตรของสก็อต (Scott) ได้ค่าดัชนีความ สอดคล้องของคะแนนผู้ประเมินทั้ง 2 กลุ่ม เท่ากับ .96,
3.2 ศึกษาผลการพัฒนาระบบส่งต่อจังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการ รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้อง อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสุรินทร์ อึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น เองหาค่าความเทียงตามวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) ได้ค่าคงที่ภายในเท่ากับ .71
ผลการศึกษา: 1. พยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุรินทร์ส่วนใหญ่รู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล และการดูแลขณะส่งต่อจากคู่มือการ ส่งต่อจังหวัดสุรินทร์มากกว่าร้อยละ 85 และส่วนใหญ่ปฏิบัติตามสิ่งที่,รู้ เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล และการดูแลขณะส่งต่อจากคู่มือการส่งต่อจังหวัด สุรินทร์ และมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอมากกว่าร้อยละ 80 2. ผลการเปรียบเทียบศักยภาพการปฐมพยาบาลและการดูแลขณะส่งต่อ พบว่า ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุรินทร์ มายังโรงพยาบาล สุรินทร์ มีแนวโน้มในการได้รับการปฐมพยาบาลและการดูแลขณะส่งต่อที่ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 78.2, 84.0 และ 91.7 ตามลำดับ ได้รับ การปฐมพยาบาลและการดูแลขณะส่งต่ออย่างเหมาะสมมีแนวโน้มที่สูงขึ้น อย่างต่อเนื่องโดยในปี 2549 มีความเหมาะสมร้อยละ 92.6 (เกณฑ์กำหนด ร้อยละ 90) เมื่อพิจารณาในแต่ละประเด็น พบว่าการห้ามเลือดยังปฏิบัติได้ ต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด ร้อยละ 88.4
สรุปผลการศึกษา: ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ว่า รูปแบบระบบการส่งต่อผู้ป่วย อุบัติเหตุจังหวัดสุรินทร์ที่พัฒนาขึ้นทำให้คุณภาพการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาล ชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ดีขึ้น จากผลการวิจัย ผู้วิจัยเสนอให้มีการจัดทำแผนพัฒนา คุณภาพการส่งต่อให้ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ที่บูรณาการทั้งจังหวัด โดยมีการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ทางการดูแลรักษา ด้านวัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพที่ยั่งยืน
คำสำคัญ: ระบบการส่งต่อ, การปฐมพยาบาล และการดูแลขณะส่งต่อ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. พิชัย ธานีรณานนท์, พิพัฒน์ ทองฉิม, ปรเมศวร์ เหลือเทพ, วีรพัฒน์ บุณฑริก. มูลค่าความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. รายงานวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมและโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ; 2549.

2. ชโมพันธุ สันติกาญจน์. สถานการณ์ด้านการรักษาพยาบาลและการให้บริการผู้บาดเจ็บ พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2542. วารสารอุบัติเหตุ 2545;21(2):81-4.

3. สุภาพ วาดเขียน. เครื่องวิจัยทางสังคมศาสตร์ ลักษณะที่ดี ชนิด และวิธีหาคุณภาพ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช ; 2525.

4. พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย. การประเมินผล การปฏิบัติงานของพนักงานกู้ชีพ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น และอาสาสมัครกู้ภัย จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2540.

5. Martin G.D., Coghill T.H., Landders asper J. et al. Prospective analysis of rural interhospital transfer of injured patients to a referral trauma center 1990;30:1,014-20.

6. Deane S.A., Grudry P.L., Woods P.D. et al. Interhospital transfer in the management of trauma. Aust. N.Z.J, Surg 1990;60:441-6.