การศึกษารอยโรคถุงน้ำของขากรรไกรในผู้ป่วยไทย จำนวน 42 ราย ของกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบุรีรมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลทางพยาธิวิทยา จำนวน เพศ อายุ ตำแหน่งและการรักษาผู้ป่วย
ถุงน้ำ ของขากรรไกร
สถานที่ทำการศึกษา: กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์
ชนิดการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง
ประชากรศึกษา: ผู้ป่วยรอยโรคถุงน้ำของขากรรไกรจำนวน 42 ราย ที่ทราบผลทางพยาธิวิทยา ภายหลังการส่งตรวจชิ้นเนื้อในระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 - ธันวาคม พ.ศ. 2549
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยรอยโรคถุงน้ำของขากรรไกรที่มารักษาที่กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาล บุรีรัมย์ ซึ่งได้รับการรายงานผลทางพยาธิวิทยาจากภาควิชาพยาธิวิทยา คณะทันตแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำผลมา ศึกษาในด้านชนิด จำนวนของถุงน้ำ เพศ อายุ ตำแหน่งและวิธีการรักษาผู้ป่วย
ผลการศึกษา: จากจำนวนประชากรศึกษา 42 ราย 43 รอยโรค พบในเพศชาย 23 ราย เพศ หญิง 19 ราย ช่วงอายุที่พบระหว่าง 6-77 ปี อายุเฉลี่ยที่พบ คือ 31.62 ปี พบผู้ป่วยถุงน้ำ ของขากรรไกรชนิดเดนทิเจอรัสมากที่สุด คือ 19 ราย (45.24%) รองลงมา คือ ถุงน้ำ เรดิคูล่าร์ 17 ราย (40.48%) ถุงน้ำโอดอนโตจีนิกเคอรา โตชิสต์5 ราย (11.90%) และถุงน้ำพาราเดนทอล 1 ราย (2.38%) ถุงน้ำ เดนทิเจอรัสพบมากในช่วงอายุ 11-20 ปี และพบถุงน้ำได้บ่อยที่ตำแหน่งฟันเขี้ยว บนและฟันกรามล่างซี่ที่สาม
สรุป: ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ผู้ป่วยถุงน้ำของขากรรไกร 42 ราย 43 รอยโรค พบถุงน้ำ เดนทิเจอรัสมากที่สุด พบรองลงมาเป็นถุงน้ำเรติคิวลาร์ ถุงน้ำโอดอนโทเจนิก เคอราโทซิส และถุงน้ำพาราเดนทัล ตามลำดับ การวินิจฉัยรอยโรคมีความสำคัญ อย่างยิ่งต่อการรักษาและการติดตามผลการรักษาผู้ป่วย ทั้งนี้การวินิจฉัยถุงน้ำ ของขากรรไกรโดยอาศัยข้อมูลการตรวจทางคลินิกอาจไม่เพียงพอ จำเป็นที่ต้อง ตรวจทางจุลพยาธิวิทยาเพื่อการวินิจฉัยรอยโรคนี้อย่างถูกต้อง
Article Details
References
2. Regezi JA, Sciubba JJ, Jordan TCK. Oral Pathology : clinical pathologic correlations. 4th ed, St Louis : WB Saunders ; 2003.
3. Kramer IRH, Pindborg JJ, Shear M. Histological typing of odontogenic tumours. 2nd ed. Berlin : Springer Verlag ; 1992.
4. วินัย ศิริจิตร. การวิเคราะห์โรคในช่องปาก จากผลการตรวจชิ้นเนื้อในภาควิชาทันตพยาธิวิทยา คณะทันตแพทยศารตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ว.ทันต.จุฬา 2522;3:133-46.
5. สุพิศ จึงพาณิชย์. รอยโรคถุงน้ำของกระดูกขากรรไกร : วิเคราะห์ผู้ป่วย 419 ราย. ว.ทันต. 2541;5:312-21.
6. Kreidler JF, Raubenheimer EJ, van Heerden WFP. A retrospective analysis of 367 cystic lesions of the jaw- the Ulm experience. J Craniomaxillofac Surg 1993;2:339-41
7. Daley TD, Wysocki GP, Pringle GA. Relative incidence of odontogenic tumors and oral and jaw cysts in a Canadian population. Oral Surg Oral Med Oral Pathol 1994;77:276-80.
8. Koseoglu BG, Atalay B, Erdem MA. Odontogenic cysts : a clinical study of 90 cases. J Oral Sci 2004;46:253-7.
9. ณรงค์ศักดิ์ บุญเฉลียว. การศึกษาถุงผ้าและ เนื้องอกในช่องปากในผู้ป่วยไทยจำนวน 103 ราย ของกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์. ว.ศัลย์ช่องปาก-แม็กชิลโลเฟเชียล. 2548;19:80-86.
10. Wolf J, Hietanen J. The mandibular infected buccal cyst (paradental cyst). A radiographic and histological study. British Journal of Oral and Maxillofacial Surgery 1990;28:322-25.
11. Magnusson B, Borrman H. The paradental cyst a clinicopathologic study of 26 cases. Swed Dent J 1995;19:1-7.
12. Daley TD, Wysocki GP. The small dentigerous cyst : A diagnostic delemma. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod 1995;79:77-81.
13. Holmlund A, Anneroth G, Lundquist G, Nordenram A. Ameloblastomas originating from odontogenic cysts. J Oral Pathol Med 1991;20:318-21.
14. Ali M, Baighman RA. Maxillary odontogenic keratocyst : a common and serious clinical misdiagnosis. JADA 2003;134:877-83.
15. El-Hajj G, Anneroth G. Odontogenic keratocysts- a retrospective clinical and histosogic study. Int. J. Oral Maxillofac Surg. 1996;25:124-9.