การป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วี จากมารดาสู่ทารกในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ชวมัย สืบนุการณ์

บทคัดย่อ

บริบท: พบว่าหากไม่มีกระบวนการดูแลป้องกันอย่างจริงจังแล้ว อัตราการติดเชื้อเอช ไอ วี จากมารดาสู่ทารกในขณะตั้งครรภ์ และเจ็บครรภ์คลอดประมาณ 15-40% และ เพิ่มขึ้นหากเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาอีก 4-14% โรงพยาบาลสุรินทร์จึงได้เริ่ม โครงการลดการติดเชื้อเอช ไอ วี จากมารดาสู่ทารก ในปี พ.ศ. 2541 โดยให้ยา ต้านไวรัสในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่สมัครใจ รวมทั้งมีการบริหารจัดการมารดาและ ทารกตามโปรแกรม เพี่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อเอช ไอ วี จากมารดาสู่ทารก การใช้ยาต้านไวรัสใน มารดาที่ติดเชื้อเอช ไอ วี และในทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อเอช ไอ วี ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการติดตามเด็กมารับการตรวจเลือดเพี่อวินิจฉัยการติดเชื้อเอช ไอ วี
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม และเอช ไอ วี คลินิกโรงพยาบาลสุรินทร์
ชนิดการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อเอช ไอ วี ทุกรายระหว่างวันที 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2549 จำนวน 245 ราย ของโรงพยาบาล สุรินทร์ บันทึกข้อมูลโดยใช้แบบเก็บข้อมูลติดตามเด็กที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี เฉพาะราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยแสดงเป็นค่าความถี่และร้อยละ
ผลการศึกษา: มารดาที่ติดเชื้อเชข ไอ วี ได้รับบริการฝากครรภ์ร้อยละ 95.90 ได้รับยาต้านไวรัส Zidovudine (AZT) ในขณะตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ร้อยละ 51.23 และได้รับ ในระหว่างคลอดร้อยละ 68.44 ทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อเอช ไอ วี 245 ราย เป็นทารกเกิดมีชีพ 243 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.18ได้รับยา AZT นาน 1 สัปดาห์ และ 6 สัปดาห์ ร้อยละ 39.10 และ 29.63 ตามลำดับ ได้รับยา Nevirapine (NVP) ร้อยละ 30.04 ความครอบคลุมการติดตามเด็กเพี่อตรวจเลือดวินิจฉัย การติดเชื้อเอช ไอ วี ติดตามได้ร้อยละ 84.36 สาเหตุของการไม่ได้รับการตรวจ เลือดในเด็ก คือ ย้ายที่อยู่ / ไม่สามารถติดตามได้ร้อยละ 81.58 พบอัตราการ ติดเชื้อเอช ไอ วี จากมารดาสู่ทารก ร้อยละ 7.80 หากมารดาและทารกได้รับยา AZT ร่วมกับ NVP จะพบอัตราการติดเชื้อร้อยละ 3.07
สรุป: การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการฝากครรภ์ การรับยาต้านไวรัสขณะตั้งครรภ์แก่ มารดาที่ติดเชื้อเอช ไอ วี รวมถึงทารกหลังคลอดอย่างเหมาะสม การจัดระบบ บริการของโรงพยาบาลให้มีการประสานงานอย่างต่อเนื่อง การบันทึกข้อมูลที่ สมบูรณครบถ้วน น่าจะช่วยเพิ่มประลิทธิภาพของการดำเนินงานป้องกันการติด เชื้อเอช ไอ วี จากมารดาสู่ทารกได้ในที่สุด
คำสำคัญ: การป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วี จากมารดาสู่ทารก, โรงพยาบาลสุรินทร์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Gilstrap LC III, Wenstrom KD, Williams Obstetrics. 22nd ed. New York : McGraw-Hill 2005:1310-17.

2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเขี้อเอช ไอ วี และผู้ป่วยเอดส์ ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549/2550. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย; 2550.

3. Bertolli J, St Louis ME, Simonds RJ. Estimating the timing of mother-to-child transmission of human immunodeficiency virus in a breast feeding population in Kinshaha, Zaire. J Infect Dis. 1996;174:722-6.

4. Dunn DT, Newell ML, Ades AE, Peckham CS. Risk of transmission of human immunodeficiency virus through breast feeding. Lancet 1992;340:585-8.

5. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติงาน การดำเนินงานเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเอช ไอ วี จากแม่สู่ลูกและการดูแลแม่และลูกที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี. กรุงเทพ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ; 2549.

6. Viscarello RR, Cullen MT, Degennaro NJ, Hobbins JC. Fetal blood sampling in human immunodeficiency virus seropositive women before elective midtrimeter termination of pregnancy. Am J Obstet Gynecol 1992;167:1075-9.

7. Bryson YJ, Luzuriaga K, Sullivan JL, et al. Proposed definition for in utero versus intrapartum transmission of HIV 1. N Eng J Med 1992;327:1246-7.

8. สมภพ ลิ้มพงศานุรักษ์, สุรสิทธิ์ ชัยทองวงค์วัฒนา. การติดเชื้อเอดส์ในสตรีตั้งครรภ์. ใน : ธีระพงค์ เจริญวิทย์, บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ, ศักนัน มะโนทัย, สมชาย ธนวัฒนาเจริญ, กระเษียร ปัญญาคำเลิศ. สูติศาสตร์ : โอ. เอส. พรินติ้ง เฮาส์, 2548:525-32.

9. Shearer WT, Quinn TC, La Russa P. Viral load and disease progression in infants infected with human immunodeficiency virus type 1. N Eng J Med. 1997;336:1337-42.

10. Landsman SH, Kalish L, Burns DN. Obstetrical factors and transmission of human immunodeficiency virus from mother -to-child. N Eng J Med. 1996;334:1617-23.

11. Minkoff H, Burns DN, Landeman S. The relationship of the duration of ruptured membranes to vertical transmission of human immunodeficiency virus. Am J Obstet Gynecol. 1995;173:585-9.

12. Connor EM, Sperling RS, Gelber R, etal. Reduction of maternal-infant transmission of human immunodeficiency virus type 1 with zidovudine treatment. Pediatric AIDS Clinical Trial Group, protocol 076 Study Group. N Eng J Med. 1994;331:1173-80.

13. Shaffer N, Chuachoowong R, Mock PA, et al., Short-course zidovudine for perinatal HTV-1 transmission in Bangkok, Thailand : a randomized controlled trial. Lancet 1999;353:773-80.

14. ชัยยะ เผ่าผา, มลุลี แสนใจ, ตติยา สารริมา. ศึกษาการจัดระบบบริการเพื่อการติดตามและดูแลทารกที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี ของโรงพยาบาลในพื้นที่เขต 7 อุบลราชธานี : ศูนย์อนามัยที่ 7 ; 2547.

15. แสงชัย สิมาขจร, วันเพ็ญ ประเสริฐศรี. อัตราการติดเซี้อเอช ไอ วี ในเด็กที่เกิดจากแม่ติดเชื้อเอช ไอ วี ในเขตสาธารณสุขที่ 3. วารสารควบคุมโรค 2550;33:60-68.

16. เฉลิมพงศ์ ศรีวัชรกาญจน์ . อัตราการติดเชื้อ เอช ไอ วี จากมารดาสู่ทารก โดยการใช้ยา Zidovudine และ Nevirapine ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ. วารสารควบคุมโรค 2546;29:264-72.