ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกคลอด
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อหาอุบัติการณ์ของทารกขาดออกชิเจนแรกคลอด (Birth asphyxia) ใน โรงพยาบาลสุรินทร์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ Birth asphyxia
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม และวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในของมารดาที่คลอดบุตร มีชีวิตในโรงพยาบาลสุรินทร์ และทารกมีภาวะ Birth asphyxia ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2550 จำนวน 5,508 คน ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัย ต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ Birth asphyxia โดยใช้คะแนน Apgar ที่ 1 นาที น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 เป็นตัวประเมิน
ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์ของภาวะ Birth asphyxia เท่ากับ 40.12 : 1,000 ทารกแรกเกิด มีชีพ ปัจจัยทางมารดาที่มีความสัมพันธ์กับภาวะ Birth asphyxia คือ มารดา อายุมากกว่า 35 ปี (ร้อยละ 16.7, P = 0.004) การฝากครรภ์ที่ไม่มีคุณภาพ (ไม่ฝากครรภ์ ร้อยละ 5.6, P = 0.0.00) การคลอดก่อนกำหนด (ร้อยละ 29.2, P = 0.000) การพบขี้เทาในน้ำคร่ำชนิด thick meconium (ร้อยละ 22.7, P = 0.000) และมารดาที่ส่งตัวมารักษาต่อจากโรงพยาบาลชุมชน (ร้อยละ 35.6, P = 0.000) ส่วนปัจจัยทางด้านทารก พบทารกเพศชายเกิด Birth asphyxia มากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 58.8, P ="0.024) ทารกที่มีน้ำหนัก 4,000 กรัมขึ้นไป (ร้อยละ 5.4, p = 0.000) และพบว่าการคลอดโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมี ความสัมพันธ์กับ Birth asphyxia มากกว่าการคลอดวิธีอื่น (ร้อยละ 66.5, P = 0.000)
สรุป: อุบัติการณ์ของภาวะ Birth asphyxia ในโรงพยาบาลสุรินทร์ ในปีงบประมาณ 2550 เท่ากับ 40.12 : 1,000 ทารกแรกเกิดมีชีพ มีความสัมพันธ์กับมารดาอายุมาก การฝากครรภ์ไม่มีคุณภาพ อายุครรภ์ไม่ครบกำหนด การพบขี้เทาในน้ำคร่ำ การส่งมาจากโรงพยาบาลอื่น ทารกเพศชาย ทารกน้ำหนัก 4,000 กรัมขึ้นไปและ ทารกคลอดท่าก้น
คำสำคัญ: ทารกขาดออกซิเจนแรกคลอด, คะแนน Apgar
Article Details
References
2. คู่มือการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดภาวะ Asphyxia. เชียงใหม่ : คณะอนุกรรมการงานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดเชียงใหม่, 2543.
3. World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems. 10th revision. Vol. IB. World Health Organization 1992 : 777.
4. Apgar V, Holaday DA, James LS, et al : Evaluation of the newborn infant-second report, JAMA 1958,1985-168.
5. Low JA. Intrapartum fetal asphyxia : definition, diagnosis and classification. Am J Obstet Gynecol 1997 ; 100 : 1004-14.
6. American Academy of Pediatrics Committee on Fetus and Newborn, and, Committee on Obstetrics Practice, American College of Obstetricians and Gynecologists. Use and abuse of apgar score. Pediatrics 1996;98:141-2.
7. Casey BM, MC Intire DD, Leveno KJ : The continuing value of the apgar score for the assessment of newborn infants. N Engl J Med 2001;344:467.
8. Amon E, Sibia BM, Anderson GD, et al. : Obstetric variables predicting survival of the immature newborn (< 1,000 gm) : A five-year experience in a single perinatal center. Am J Obstet Gynecol 1987;156:1,380.
9. Catlin EA, Carpenter MW, Brann BS, et al : The apgar score revisited : Influence of gestational age. J Pediatr 1986;109:865.
10. การช่วยกู้ชีพทารกแรกเกิด. ใน : ประชา นันทนฤมิต, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์, 2549.
11. Khazardoost S, Hantoushzadeh S, Khooshideh M, Borna S. : Risk factor for meconium aspiration in meconium stained amniotic fluid. J Obstet Gynecol 2007;27(6):577-9.