ผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้ยาต้านไวรัสเอช ไอ วี ในโรงพยาบาลลำปลายมาศ บุรีรัมย์

Main Article Content

กุสุมา เนรมิตตกพงศ์
ระดม เจือกโว้น

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: โรค เอช ไอ วี/เอดส์ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มมีการใช้ ยาต้านไวรัสเอช ไอ วี โดยเฉพาะรูปแบบการใช้ยาร่วมกัน 3 ชนิดขึ้นไป หรือที เรียกว่า HAART ส่งผลให้อัตราการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตลดลงอย่างมากและ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยและสังคม ในปี 2547 กระทรวงสาธารณสุขได้ เสนอโครงการการเข้าถึงบริการยาต้านไวรัสเอดส์ระดับชาติสำหรับผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี และผู้ป่วยเอดส์ให้มีสิทธิในการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี/เอดส์ทีไม่เคยไต้รับการรักษามาก่อนในผู้ป่วยที่มีค่า CD4 เริ่มต้นต่างกัน คือ ระดับที่ต่ำกว่า 100 cell/mm3 (กลุ่ม ก.) และมากกว่าหรือเท่ากับ 100 cell/mm3 (กลุ่ม ข.)
สถานที่: โรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบ Retrospective cohort
กลุ่มตัวอย่าง: 49 ราย โดยแบ่งเป็น 20 และ 29 รายในกลุ่ม ก. และ ข. ตามลำดับ
วิธีการวิจัย: เก็บข้อมูลจากสมุดบันทึกติดตามผู้ป่วยคลินิกเอชไอวี/เอดส์และระบบคอมพิวเตอร์ ของโรงพยาบาลที่ระยะเวลาเริ่มการรักษาและในสัปดาห์ที่ 24, 48 และ 72 ใช้ สถิติ Mann-Whitney บ test, Wilcoxon signed rank test. Fisher's exact test และ Friedman's test ในการวิเคราะห์ผลการศึกษา
ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยอายุเฉลี่ย 35.4 ± 10.9 ปี ร้อยละ 44.9 เป็นเพศชาย ค่า CD4 เฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลา 48 และ 72 สัปดาห์ หลังจากเริ่มยามีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.046 และ P = 0.003 ตามลำดับ) ขณะที่ ค่ามัธยฐานของค่า CD4 ที่สัปดาห์ที่ 48 และ 72 กลับไม่พบความแตกต่างระหว่าง สองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยในกลุ่ม ข. มีสัดส่วนของผู้ป่วยทีมีค่า CD4 เพิ่มขึ้นมากกว่า 200 cell/mm3 ที่สัปดาห์ 24 มากกว่ากลุ่ม ก. (p = 0.033) แต่ในสัปดาห์ที่ 48 และ 72 ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผื่น แพ้ยาเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุด (ร้อยละ 38.8) ขณะที่พบค่าเอนไซม์ SGPT สูงขึ้นร้อยละ 8.2 พบอาการอาเจียนและ lipodystrophy อย่างละร้อยละ 4.1 พบว่าผู้ป่วยร้อยสะ 20 ต้องเปลี่ยนสูตรยาเนื่องจากอาการไม่พึงประสงค์หรือ อันตรกิริยาระหว่างยา
สรุป: การใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวิมีประสิทธิผลและพบอาการไม่พึงประสงค์ไม่รุนแรง โดยพบว่าระดับค่า CD4 ก่อนเริ่มยาไม่ได้เป็นข้อจำกัดต่อผลการรักษาจากยา ต้านไวรัส การให้บริการควรคำนึงถึงการเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา การให้คำ แนะนำ ปรึกษารวมทั้งความรู้ในการปฏิบัติตนแก่ผู้ปวย ขณะเดียวกันควรมีการ ติดตามภาวะความเจ็บป่วยและการเสิยชีวิตในฐานะทีเป็นตัวขึ้วัดสุดท้ายสำหรับ การประเมินผลลัพธ์ตังกล่าว
คำสำคัญ: ยาต้านไวรัสเอช ไอ วี ผู้ป่วยเอช ไอ วี/เอดส์ ผลลัพธ์ของการรักษา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ลถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550. Available at: https://epid.moph.go.th. Accessed date : 25 กุมภาพันธ 2551.

2. สมนึก สังฆานุภาพ, อัษฎา วิภากุล. ยาต้านไวรัสเอช ไอ วี. ใน : พรรณทิพย์ ฉายากุล, ชิษณุ พันธ์เจริญ และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราโรคติดเชื้อ 2. กรุงเทพมหานคร : โอลิสติค พับลิชชิ่ง; 2548. หน้า 1252-69.

3. Palella FJ, Delancy KM, Moorman AC, et al. Declining morbidity and mortality among patient with advance HIV infection. N Engl J Med 1998; 338:853-60.

4. สัญชัย ชาสมบัติ, ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์, พรทิพย์ ยุกตานนท์. แนวทางการปฏิบัติงาน โครงการการพัฒนาระบบบริการและติดตาม ผลการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ พ.ศ. 2546 กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ร.ส.พ. กรุงเทพ; 2546.

5. Delta Coordinating Committee. Delta : a randomized double-blind controlled trial comparing combination of zidovudine plus didanosine or zalcitabine with zidovudine alone in HIV-infected individuals. Lancet 1996;348:283-91.

6. สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย, บรรณาธิการ. HIV/AIDS and Antiretroviral Therapy Programs Development in Thailand ; Past, Present, and Future. 5th HIV/AIDS Workshop 2006 ; 6-8 กันยายน 2549 ; ณ คณะแพทยศาสตริ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : สมาคมโรคเอดส์แห่ง ประเทศไทย; 2549.

7. US Department of Health and Human Services. Guideline for the Use of Antiretroviral Agents in HIV-infected Adults and Adolescents. January 29, 2008. Rockville, MD ; HIV/AIDS treatment Service. Available at : https://AIDSinfo. noh.gov. Accessed date: March 5, 2008.

8. วินิต เทอดสุทธิรณภูมิ. ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาจีพิโอเวียร์ในการรักษา ผู้ติดเชื้อเอซ ไอ วี/เอดส์ ณ โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล อุดรธานี 2549;14(1):19-31.

9. Kaufmann GR, Perrin L, Pantaleo G, et al. CD4 T-lymphocyte recovery in individuals with advanced HIV-1 infection receiving potent antiretroviral therapy for 4 years : the Swiss HIV Cohort Study. Arch Intern Med 2003; 163: 2187-95.
10. Fellay J, Boubaker K, Ledergerber B, et al. Prevalence of adverse events associated with potent antiretroviral treatment : Swiss HIV cohort study. Lancet 2001;358:1322-7.