การลงแผลผ่าตัดแก้ไขเส้นเอ็นไขว้หน้าในข้อเข่าขาดด้วยเทคนิคใหม่ : ผลต่ออาการชาบริเวณหัวเข่า

Main Article Content

ไกรวุฒิ สุขสนิท

บทคัดย่อ

บทนำ: การบาดเจ็บของเส้นประสาท infrapatellar branch of saphenous nerve เป็น ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากการผ่าตัดแก้ไขเส้นเอ็นไขว้หน้าในข้อเข่าขาด โดยเฉพาะเมื่อลงแผลผ่าตัดในแนวตั้งที่ด้านหน้าของ patellar ligament เพื่อเอา bone- patellar tendon- bone (BPTB) graft ซึ่งทำให้เกิดอาการชาบริเวณด้าน ข้างของหัวเข่า, เกิดแผลเป็นขนาดยาวและอาจเป็นสาเหตุของอาการเจ็บบริเวณ ด้านหน้าของหัวเข่าอย่างเรื้อรัง การศึกษาเทคนิคใหม่ในการลงแผลผ่าตัดเพื่อ หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บดังกล่าวอาจช่วยลดปัญหาการชาบริเวณหัวเข่าและทำให้ ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอาการชาบริเวณหัวเข่าหลังการผ่าตัดแก้ไขเส้นเอ็นไขว้หน้าใน ข้อเข่าขาดด้วยเทคนิคใหม่กับการผ่าตัดด้วยเทคนิคเดิมที่ใช้อยู่
รูปแบบการศึกษา: randomized controlled trial
วิธีการ: ผู้ป่วยชายที่มารับการผ่าตัดแก้ไขเส้นเอ็นไขว้หน้าในข้อเข่าขาดโดยใช้ bone- patellar tendon- bone (BPTB) graft ทั้งสิ้น 60 คน ถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม l ได้รับการผ่าตัดเทคนิคใหม่โดยลงแผลแนวตั้งขนาดเล็ก (3 ชม.) 1 แผล กลุ่ม II ได้รับการผ่าตัดด้วยเทคนิคเดิมที่ใช้อยู่โดยลงแผลแนวตั้งขนาดเล็ก(3ซม.)2แผล บันทึกอายุผู้ป่วย, ระยะเวลาในการเอา graft, พื้นที่บริเวณหัวเข่าที่มีอาการชา เมื่อติดตามผลการรักษาหลังการผ่าตัด 3 เดือน และ 6 เดือน และภาวะแทรกซ้อน อื่น ๆ จากการผ่าตัด แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่ม
สถิติที่ใช้: ใช้ค่าเฉลี่ย, SD, 95% CI, unpaired t test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยอายุไม่แตกต่างกัน กลุ่ม I และกลุ่ม II ใช้เวลาใน การเอา graft 35.10 นาที และ 27.53 นาที ตามลำดับ วัดพื้นที่การชาบริเวณ หัวเข่าเมื่อติดตามผลการรักษาหลังการผ่าตัด 3 เดือน, 6 เดือน ในกลุ่ม I ได้ 44.37,34.00 ตร.ซม. ตามลำดับ ส่วนในกลุ่ม II ได้ 78.57,71.50 ตร.ซม. ตามลำดับ เปรียบเทียบแล้วพบว่ากลุ่ม I มีพื้นที่การชาน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
สรุป: การผ่าตัดแกไขเส้นเอ็นไขว้หน้าในข้อเข่าขาดด้วยเทคนิคใหม่ โดยการลงแผล ขนาดเล็ก 1 แผล ช่วยลดอาการชาบริเวณหัวเข่าในผู้ป่วยได้เมื่อเทียบกับเทคนิค การลงแผลแบบเดิม
คำสำคัญ: เส้นเอ็นไขว้หน้าในข้อเข่า, การลงแผลผ่าดัด, infrapatellar branch of saphenous nerve, อาการชา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Mochida H, Kikuchi S. Injury to infrapatellar branch of saphenous nerve in arthroscopic knee surgery. Clin Orthp Relate Res 1995;320:88-94.

2. Sherman OH, Fox JM, Snyder SJ, Del Pizzo W, Friedman MJ, Ferkel RD, et al. Arthroscopic "No problem surgery". An analysis of complications in two thousand six hundred and forty cases. J Bone Joint Surg Am 1986;68:256-65.

3. Tifford CD, SperoL, Luke T, Plancher KD. The relationship of the infrapatellar branches of the saphenous nerve to arthroscopy portals and incisions for anterior cruciate ligament surgery. An anatomic study. Am J Sports Med 2000;28:562-7.

4. Kartus J, Ejerhed L, Sernert N, Brandsson S, Karisson J. Comparison of traditional and subcutaneous patellar tendon harvest. A prospective study of donor site- related problems after anterior cruciate ligament reconstruction using different graft harvesting techniques. Am J Sports Med 2000;28:328-35.

5. Ejerhed L, Kartus J, Sernert N, Kohler K, Karisson J. Patellar tendon or semitendinosus tendon autografts for anterior cruciate ligament reconstruction? A prospective randomized study with a two-year follow-up. Am J Sports Med 2003;31:19-25.

6. Small NC. Complications in arthroscopic surgery performed by experienced arthroscopists. Arthroscopy 1988;4:215-21.

7. Kummel BM, Zazanis GA. Preservation of infrapatellar branch of saphenous nerve during knee surgery. Orthop Rev 1974;3:43-5

8. Tennent TD, Birch NC, Holmes MJ, Birch R, Goddard NJ. Knee pain and the infrapatellar branch of the saphenous nerve. J R Soc Med 1998;91:573-5.

9. Portland GH, Martin D, Keene G, Menz T. Injury to the infrapatellar branch of the saphenous nerve in anterior cruciate ligament reconstructionxomparison of horizontal versus vertical harvest site incisions. Arthroscopy 2005;21(3):281-5.

10. Tsuda E, Okamura Y, Ishibashi Y, Otsuka H, Toh S. Techniques for reducing anterior knee symptoms after anterior cruciate ligament reconstruction using a bone-patellar tendon-bone autograft. Am J Sports Med 2001;29(4):450-6.

11. Kodkani PS, Govekar DP, Patankar HS. A new technique of graft harvest for anterior cruciate ligament reconstruction with quadruple semitendinosus tendon autograft. Arthroscopy 2004;20(8):e101-4.

12. Arthornthurasook A, Gaew-Im K. The sartorial nerve :its relationship to the medial aspect of the knee. Am J Sports Med 1990;18:41-2.