ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำหลังการได้รับ การระงับความรู้สึก ในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลบุรีรัมย์ พ.ศ. 2550

Main Article Content

กัสมา นิยมพานิชพัฒนา
อิสริยา สุขสนิท

บทคัดย่อ

บทนำ: การดูแลผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นเป็นงานที่สำคัญ เนื่องจาก ผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึกในช่วง แรกจะมีความเสี่ยงต่อการ เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบต่าง ๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียน โลหิต ระบบประสาท เป็นต้นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในห้องพักฟื้น คือ ภาวะ ออกซิเจนในเลือดต่ำซึ่งถ้าไม่ได้รับการตรวจพบและแก้ไขอย่างทันท่วงทีแล้วอาจ เกิดความเสียหายที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตตามมาได้
วัตถุประสงค์: เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำหลังการได้รับการระงับ ความรู้สึก
สถานที่: ได้ทำการศึกษาในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลบุรีรัมย์ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2550
วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบ Prospective observational cohort study โดยลังเกตอาการและ เก็บข้อมูลผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึกที่ห้องพักฟื้น บันทึกข้อมูลทั่วไป อายุ, เพศ, ASA physical status ประวัติโรคประจำตัว, ข้อมูลเกี่ยวกับการ ผ่าตัด, Post Anesthetic Recovery score (PAR score), ภาวะออกซิเจนใน เลือดต่ำ
สถิติที่ใช้: สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Chi-square และ Fisher's exact test
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งหมด 747 ราย พบว่ามีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำหลังได้รับการระงับ ความรู้สึก 10 ราย (1.34%) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ คือ PAR score < 6 (P < 0.001, RR = 98.93, 95% CI = 39.84-245.66), ภาวะ hypoventilation (P < 0.001, RR = 185.25, 95% CI = 69.71-492.28) และประวัติโรคปอดอักเสบหรือวัณโรค (P = 0.008, RR = 16.73, 95% CI = 4-69.94)
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำหลังได้รับการระงับความรู้สึกในห้อง พักฟื้น คือ การที่ผู้ป่วยมี PAR score < 6 และมีภาวะ hypoventilation ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถป้องกันและแกไขได้ถ้าผู้ให้การระงับความรู้สึกและผู้ดูแล ผู้ป่วยที่ห้องพักฟื้นมีความตระหนัก ตื่นตัว และให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: ภาวะออกซิเจนในเลือดตา, ปัจจัยเสี่ยง, ห้องพักฟื้น, การระงับความรู้สึก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Tyler IL, Tantisira B, Winter PM, Motoyama EK. Continuous monitoring of arterial oxygen saturation with pulse oximetry during transfer to the recovery room. Anesth Analg 1985;64:1108-12.

2. McKenzie AJ. Perioperative hypoxemia detected by intermittent pulse oximetry. Anaesth IntensiveCare 1989;17:412-7.

3. Smith DC, Canning JJ, Crul JF. Pulse oximetry in recovery room. Anesthesia 1989;44:345-8.

4. Moller JT, Wittrup M, Johansen SH. Hypoxemia in the post anesthesia care unit : an observer study. Anesthesiology 1990;73:890-5.

5. Moller JT, Johannessen NW, Berg H, Espersen K, Laesen LE. Hypoxemia during anesthesia : an observer study. Br J Anaesth 1991;66:437-44.

6. Punjasawadwong Y, Pongchhiewboon A, Nipitsukarn T, Vorasit S, Puttawong P, Jaitoom S. Level of consciousness and occurrence of oxygen desaturation during recovery from general anesthesia. Thai J Anesthesiology 1992;18:205-11.

7. Raksakietisak M, Chinachoti T, Vudhikamraksa S, Svastdi-Xuto O, Surachetpong S. Perioperative desaturation : incidence, causes, management and outcome. J Med Assoc Thai 2002;85(Suppl 3):S980-6.

8. Daley MD, Norman PH, Sandler AN. Hypoxemia in adults in the post anesthesia care unit. Can J Anaesth 1991;38(6);740-6.

9. Punjasawadwong Y, Chinachoti T, Charuluxananan S, Pulnitiporn A, Klanarong S, Chau-in พ, Rodanant O. The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study) of Oxygen Desaturation. J Med Assoc Thai 2005;88(Suppl 7):S41-53.

10. Ahsan M. AroZullah, Jennifer Daley, William G. Henderson, Shukri F. Khuri. Multifactorial Risk Index for Predicting Postoperative Respiratory Failure in Men After Major Noncardiac Surgery. Ann Surg. 2000;232(2):242-53.

11. J A Brooks-Brunn. Predictors of postoperative pulmonary complications following abdominal surgery.Chest 1997;111:564-571.

12. Erik HJ Hulzebos, Nico LU Van Meeteren, Rob A De Bie, Pieter c Dagnelie, Paul JM Helders. Prediction of Postoperative Pulmonary Complications on the Basis of Preoperative Risk Factors in Patients Who Had Undergone CABG Surgery. Physical therapy 2003; 83(1):8-16.

13. McAlister FA, Bertsch K, Man J, Bradley J, Jacka M. Incidence of and Risk Factors for Pulmonary Complications after Nonthoracic Surgery. Am J Respir Crit Care Med 2005;171:514-517.

14. Charuluxananan S, Suraseranivongse S, Punjasawadwong Y, Somboonviboon W, Sriswasdi S, Pranootnarabhal T, Chanchayanon T, Chau-in W, Intarut N. Risk Factors of Intraoperative Oxygen Desaturation: A Case- Control Study of 152,314 Anesthetics. J Med Assoc Thai 2007;90(11):2359-65.

15. Khwannimit B. Pulse oximetry in adults. Songkla Med J 2006;24:245-252