ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มารักษา ในโรงพยาบาลละหานทราย อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์

Main Article Content

สุภาวดี ศรีรัตนประพันธ์

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะซึมเศร้า (depression) เป็นภาวะที่ทำให้จิตใจรู้สึกหดหู่ สิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า พบได้ทั้งในกลุ่มคนทั่วไป และกลุ่มคนที่เจ็บป่วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งมักเป็นโรคที่ไม่หายขาด ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลละหานทรายและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มารักษาในโรงพยาบาลละหานทราย
วิธีการวิจัย: การศึกษาภาคตัดขวางเชิงพรรณนา (cross-sectional descriptive study) ในผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 353 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนวันที่ 2 พฤษภาคม –25พฤษภาคม 2561รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (frequencies) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานสูงโดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ chi-square, multiple logistic regression โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมดมีอาการซึมเศร้าร้อยละ 4.3 ปัจจัยทำนายทั้งหมดสามารถร่วมทำนายภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 17.5 โดยปัจจัยที่ทำนายภาวะซึมเศร้าได้แก่ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมดมีอาการซึมเศร้าร้อยละ4.3 ปัจจัยทำนายทั้งหมดสามารถร่วมทำนายภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 17.5 โดยปัจจัยที่ทำนายภาวะซึมเศร้าได้แก่ การมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 40.6 เท่าของผู้ป่วยที่ที่ไม่คิดว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการเป็นโรคเบาหวาน (95% CI 8.0-203.7) การมีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคร่วมเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 0.8 เท่า (95%CI 0.3-0.9) และผู้มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 5.6 เท่า (95%CI 1.1-28.6) พฤติกรรมการออกกำลังกายมีผลต่อภาวะซึมเศร้า 0.5 เท่า (95%CI 1.1-2.8) ระดับ Diastolic Blood Pressure ที่สูงเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 1.8 เท่า (95%CI 1.0-1.2) ความวิตกกังวลเรื่องเงินมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 0.5 เท่า (95%CI 0.1-1.5) และระดับ HbA1C มีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 2.7 เท่า (95%CI 1.0-1.3)
สรุป: ผลการศึกษานี้สนับสนุนการศึกษาที่ผ่านมาที่พบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า การรับรู้ว่ามีปัญหาที่เกี่ยวกับการเป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะซึมเศร้า
คำสำคัญ: เบาหวาน ซึมเศร้า ปัจจัยทำนาย ความชุก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อาคม บุญเลิศ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเขตรับผิดชอบของสถานบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559;31(1):25-33.

2. วิชุดา อุ่นแก้ว, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558;3(4):577-89.

3. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รู้จักโรคซึมเศร้า. (อินเตอร์เน็ท). [สืบค้นเมื่อ 13 ก.พ. 2561], เข้าถึงได้จาก:URL : https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1037

4. สายพิณ ยอดกุล, จิตตินันท์ ศรีจักรโคตร. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555;30(3):50-7.

5. ธานินทร์ กองสุข. ความน่าเชื่อถือและความเที่ยงตรงของแบบประเมินอาการโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถามเมื่อเทียบกับแบบประเมิน Hamilton Rating Scale for Depression (HRSD-17). (อินเตอร์เน็ท). [สืบค้นเมื่อ 13 ก.พ.2561], เข้าถึงได้จาก:URL: www.prasri.go.th/upic/ie.php/8f07c7c35d3b5b92.pdf

6. Suppaso P. The prevalence of depression among type 2 diabetic patients in Phangkhon hospital. Srinagarind Medical Journal 2010;25(4):272-9.

7. สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2557;59(3):287-98.

8. จันจิรา กิจก้ว. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2554;19(2):81-96.

9. ธิติพันธ์ ธานีรัตน์. ความชุกของภาวะซึมเศร้า ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก คลินิกต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. [ปริญญามหาบัณฑิต]. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

10. Egede LE, Ellis C. Diabetes and depression: Global perspectives. Diabetes Res Clin Pract 2010;87(3):302-12.

11. Roy T, Lloyd C. Epidemiology of depression and diabetes: A systematic review. J Affect Disord 2012;142 Suppl:S8-21.