การสำรวจหาค่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยเด็กได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกด้วยระบบ DR (Digital Radiography) ของกลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การนำระบบ Digital Radiography (DR)มาใช้ในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยเด็ก มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องทราบถึงการตั้งค่าเทคนิคที่เหมาะสมในการถ่ายภาพและปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการเปลี่ยนมาใช้ระบบแบบใหม่ เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กได้รับปริมาณรังสีน้อยที่สุดและได้ภาพถ่ายทางรังสีที่มีคุณภาพเหมาะสมการศึกษาในครั้งนี้เพื่อประเมินหาค่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยเด็กได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกด้วยระบบ DR และกลุ่มงานรังสีวิทยาโรงพยาบาลบุรีรัมย์ยังไม่เคยมีการสำรวจเกี่ยวกับปริมาณรังสีที่ผิวทางเข้าของผู้ป่วยเด็กมาก่อน
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจหาค่าปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยเด็กได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ในระบบ Digital Radiography (DR)ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลบุรีรัมย์
ประชากรที่ศึกษา: ผู้ป่วยเด็กอายุตั้งแต่ 0-15ปีที่มารับบริการถ่ายภาพรังสีทรวงอกที่กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 200 ราย ช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม 2561
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามช่วงอายุ 0-1 ปี, 1-5 ปี, 5-10 ปี, 11-15 ปี ที่มารับบริการถ่ายภาพรังสีทรวงอกในท่านอนหรือท่ายืน (Chest AP supine และ Chest PA Upright) โดยใช้ระบบ Digital Radiography (DR) ข้อมูลประกอบด้วย เพศ อายุ ความหนาของทรวงอก ค่าเทคนิคการตั้งได้แก่ค่าความต่างศักย์หลอด: kVp, ค่ากระแสหลอด: mA, เวลา: sec, ระยะจากจุดโฟกัสของหลอดเอกซเรย์ถึงผิวผู้ป่วยคำนวณหาค่า Entrance Skin Dose : ESD โดยการคูณ ESAK ด้วยค่า BSF จากเครื่องเอกซเรย์ที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีโดยวิเคราะห์จากสูตร ESD=Y(d) x mAs x[]2x BSF และสถิตโปรแกรม SPSS version22
ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยเด็กจำนวน 200 รายเป็นเพศชาย ร้อยละ 57 เพศหญิงร้อยละ 43 แบ่งช่วงอายุออกเป็น 4 กลุ่มคือ 0-1 ปี, 1-5 ปี, 5-10 ปี และ 11-15 ปี มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น ดังนี้ ความหนาของทรวงอก 8.47 (SD = 0.95), 10.82 (SD = 0.69), 12.73 (SD = 0.81), 15.39 (SD = 0.93)ตามลำดับ ค่าเทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกผู้ป่วยเด็ก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 55 kVp, 1.23 mAs, 64.89kVp, 1.74 mAs, 75 kVp,2.4 mAs, 75 kVp,2.6 mAs ตามลำดับ ระยะจากหัวหลอดถึงตังผู้ป่วยเด็กอายุ 0 – 1 ปี ใช้ระยะ FFD ที่ 100 เซนติเมตรส่วนอายุ 1-5 ปี สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ไม่สามารถยื่นได้จะใช้ระยะ FFD ที่ 100 เซนติเมตร และเด็กที่สามารถยื่นได้จะใช้ระยะ FFD ที่180 เซนติเมตร และ อายุ 5-10 ปี, 11-15 ปี ใช้ระยะ FFD ที่ 180 เซนติเมตรเท่ากัน ค่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยเด็กได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกอายุ 0-1 ปี, 1-5 ปี มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือที่ 0.07 มิลลิเกรย์(SD=0.01)
และอายุุ 5-10 ปีค่าเฉลี่ย 0.06 มิลลิเกรย์(SD=0),อายุ11-15 ปีค่าเฉลี่ยคือ 0.07 มิลลิเกรย์ (SD=0)
สรุป: จากสำรวจปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยเด็กได้รับพบว่า 2 กลุ่มแรกคือ 0-1ปี, 1-5 ปีค่าปริมาณรังสีเฉลี่ยสูงกว่า 2 กลุ่มหลังคือ 5-10 ปี, 11-15 ปี ซึ่งถ้าพิจารณาจากค่าเทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีในแต่ละช่วงอายุจะสัมพันธ์กับขนาดของทรวงอกและอายุ เนื่องจากเด็กเล็กต้องถ่ายภาพรังสีในท่านอนหงายและใช้ระยะ FFD ที่ใกล้กว่าทำให้ได้รับปริมาณรังสีที่มากกว่า
ความสำคัญ: ปริมาณรังสีที่ผิวทางเข้า, การถ่ายภาพรังสีทรวงอก
Article Details
References
2. สุภาพร ทั้งสุข และคณะ. การประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยเด็กได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกในท่าตรง. รามาธิบดีเวชสาร. 2559;39(1):55-61.
3. RatiratPueakpuang, AnchaliKrisanachinda. Entrance Surface Dose From Pediatric Patient Undergoing Commom X-ray Examination. 6th Annual Scientific Meeting “Challenges of Quality Assurance in Radiation Medicine” February 23-26, 2012 at Amarin Lagoon Hotel Phitsanulok Thailand. Phitsanulok : Amarin Lagoon Hotel; 2012:22.
4. Krisanachinda, A. Radiation Dose From Pediatric Radiology Examination in Thailand. 6th Annual Scientific Meeting “Challenges of Quality Assurance in Radiation Medicine” February 23-26, 2012 at Amarin Lagoon Hotel Phitsanulok Thailand.Phitsanulok : Amarin Lagoon Hotel; 2012:21.
5. Har D, Wall B, Shrimpton P. Reference doses and patient size in paediatric radiology. Chilton : National Radiological Protection Board(NRPB); 2000:318.
6. Kohn MM, Moores, BM, Schibilla H, Stender HSt, Stieve FE, Teunen D, Wall B. European Guidelines on Quality Criteria for Diagnostic Radiographic images in Pediatrics. Luxembourg : Office for official Publications of the European Communities; 1996.