ประสิทธิผลการใช้ Preeclampsia Care Map (PCaM) ในโรงพยาบาลรับส่งต่อขนาดใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ Preeclampsia care map (PCaM) ในการดูแลสตรีครรภ์เป็นพิษ โดยประเมินเปรียบเทียบจากอัตราการได้รับที่เหมาะสมของแมกนีเซียม การผิดพลาดจากการสั่งยาและความคลาดเคลื่อนในการดูแลสตรีครรภ์เป็นพิษ ก่อนและหลังใช้ PCaM
วิธีศึกษา: การวิจัยแบบ Historical controls intervention trial ศึกษาสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงและต้องได้รับยาแมกนีเซียมซัลเฟตเพื่อป้องกันภาวะชัก โดยแบ่งเป็นสองช่วงเวลา ได้แก่ ก่อนใช้ PCaM ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2557 - 31 กรกฎาคม 2558 และหลังใช้ PCaM ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2558 - 31 กรกฎาคม 2559 ทำการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย บันทึกการรักษา ใบย่อคลอด ใบส่งตัวผู้ป่วยและบันทึก PCaM หลังรวบรวมข้อมูลทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงสถิติด้วย สถิติ chi-square โดยให้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p-value < 0.05
ผลการศึกษา: พบช่วงก่อนใช้ PCaM มีสตรีคลอดบุตรที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง 146 ราย คัดออกจากการศึกษา 5 ราย ช่วงหลังใช้ PCaM มีสตรีคลอดบุตรภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง 135 ราย คัดออกจากการศึกษา 13 ราย ลักษณะทั่วไป ไม่พบความแตกต่างกันในสองช่วงเวลา การศึกษานี้หลังใช้ PCaM พบการให้ขนาดยาแมกนีเซียมซัลเฟตต่อเนื่อง (maintenance dose) มีความเหมาะสม สูงขึ้น 1.2 (1.1-1.3) (จากร้อยละ 75.2 เป็นร้อยละ 90.2) แมกนีเซียมในเลือดได้ระดับมาตรฐานการรักษาก่อนคลอดสูงขึ้นเป็นร้อยละ 47.5 จากก่อนใช้ร้อยละ 41.1 แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และหลังคลอดสูงขึ้น เป็นร้อยละ 90.2 จากก่อนใช้ร้อยละ 78.7 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1.1 เท่า ในการศึกษานี้พบว่าถ้าระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าระดับการรักษาแล้ว หลังใช้PCaMไม่พบความล่าช้าในการปรับขนาดยาแมกนีเซียมซัลเฟตให้เพิ่มสูงขึ้น 1.4 เท่า และมีการปรับขนาดการให้ยาแมกนีเซียมซัลเฟตด้วยขนาดยาที่เหมาะสมเพิ่มสูงขึ้น 1.1 เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้ไม่พบความแตกต่างในการเกิดความล่าช้าในการให้ยาลดความดันและความล่าช้าในการพบอาการเตือนแสดงเกิดการชักจากครรภ์เป็นพิษ (warning sign)
สรุป: ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะสำคัญทางสูติศาสตร์ โดยมีแนวทางการรักษาลดการเกิดภาวะชักซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในการทำให้เกิดการเสียชีวิต ด้วยการให้แมกนีเซียมซัลเฟตโดยให้ระดับแมกนีเซียมในเลือดได้ระดับการรักษา การใช้ PCaM มีประสิทธิผล หลังใช้ PCaM การให้ขนาดยาแมกนีเซียมซัลเฟตต่อเนื่อง (maintenance dose) เหมาะสมและ แมกนีเซียมในเลือดได้ระดับมาตรฐานการรักษาหลังคลอดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และลดความล่าช้าในการปรับขนาดยาแมกนีเซียมซัลเฟตในกรณีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าระดับการรักษา รวมทั้งมีการปรับขนาดยาด้วยขนาดยาเหมาะสมเพิ่มสูงขึ้นหลังใช้ PCaM
คำสำคัญ: ภาวะครรภ์เป็นพิษ care map แมกนีเซียมซัลเฟต
Article Details
References
2. Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse DJ, Spong CY, et al. Hypertensive disorders in pregnancy. Williams Obstetrics. 24th. ed. New York: McGraw-Hill Education; 2014:728.
3. Nhu Thi Nguyen Ngoc, Mario Merialdi, Hany Abdel-Aleem, Guillermo Carroli, Manorama Purwar, Nelly Zavaleta, et al. Causes of stillbirths and early neonatal deaths: data from 7993 pregnancies in six developing countries. Bull World Health Organ 2006;84(9):699-705.
4. The Eclampsia Trial Collaborative Group. Which anticonvulsant for women with eclampsia? Evidence from the Collaborative Eclampsia Trial. Lancet 1995;345(8963):1455-63.
5. Altman D, Carroli G, Duley L, Farrell B, Moodley J, Neilson J, et al. Do women with preeclampsia, and their babies, benefit from magnesium sulphate? The Magpie Trial: a randomised placebo controlled trial. Lancet 2002;359(9321):1877-90.
6. Kitiyodom S. Eclampsia in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Med J Srisaket Surin Buriram Hosp 2014; 29(3):129-38.
7. Boonyongchaisawat R, Kitiyodom S. Association between maternal BMI and sub-therapeutic serum magnesium level in severe pre-eclampsia in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai J Obstet Gynaecol 2016;24:1-7.
8. Jaisamut P, Kitiyodom S. Effect of Maternal Body Mass Index on Serum Magnesium Level in Pregnant Women with Preeclampsia at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai J Obstet Gynaecol 2016;25(3):159-66.
9. Kitiyodom S. Comparison of the Level of Magnesium during Maintenance between 2 Gram and 1 Gram per Hour Infusion in Overweight Mothers with Preeclampsia. J Med Assoc Thai 2016;99 Suppl 7:S133-7.
10. Kitiyodom S, Srithong P. Deviated management of preeclampsia with severe feature at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Unpublished data.