ปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกบุหรี่สำเร็จในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับบริการเลิกบุหรี่ ณ โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการเสียชีวิตที่แท้จริงสามารถป้องกันได้(1)เพราะบุหรี่มีสารก่อมะเร็งและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคเรื้อรังขณะที่การเลิกบุหรี่สำเร็จด้วยตนเองทำได้ยาก (2)
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีเพื่อศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเลิกบุหรี่สำเร็จ
วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการศึกษา 2 แบบ ได้แก่ การศึกษาแบบพรรณนา (Descriptive study) และ การศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytic study) แบบ cross-sectional analytic study เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกบุหรี่สำเร็จ โดยเก็บข้อมูลจาก ผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนางรอง ในช่วงเวลา 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 -30 กันยายน พ.ศ.2560: จำนวน 207 คน โดยผู้ที่เลิกบุหรี่สำเร็จหมายถึง ผู้รับบริการเลิกบุหรี่ได้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
ผลการศึกษา: ในการศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูล 207 ตัวอย่าง มีผู้รับบริการเลิกบุหรี่สำเร็จ 64 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.9 ใน univariate analysis พบปัจจัยที่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การอยู่อาศัยในเขตเมือง (odds ratio = 0.3, 95%CI=0.1-0.8),ปริมาณการสูบ 11-20 มวน/วัน( odds ratio = 0.4, 95%CI=0.2-0.9) และระดับการติดนิโคตินระดับต่ำมาก (Fager’s score0-2) (odds ratio =1.7, 95%CI=1.1-1.9) และ multivariate analysis ปัจจัยที่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับการติดนิโคตินที่ต่ำมาก (Fager’s score 0-2) เป็นปัจจัยที่ทำให้เลิกบุหรี่สำเร็จ adjusted odds ratio = 1.9, 95%CI=1.3-3.9 ปัจจัยที่ขัดขวางการเลิกบุหรี่สำเร็จได้แก่ การอาศัยอยู่ในเขตเมือง โดย adjusted odds ratio = 0.3, 95%CI=0.1-0.9
สรุป: อัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จของผู้รับบริการอยู่ที่ ร้อยละ 30.9 โดยพบว่า กลุ่มที่อยู่อาศัยในเขตเมืองมีการเลิกบุหรี่ได้ 0.3 เท่าของกลุ่มที่อยู่นอกเขตเมือง และการติดนิโคตินในระดับต่ำมาก (Fager’s score 0-2) มีแนวโน้มที่จะเลิกบุหรี่ได้ 1.9 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีระดับการติดนิโคตินระดับสูง (Fager’s score 8-10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: การเลิกบุหรี่ ผลการเลิกสำเร็จ โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
Article Details
References
2. Verbiest M Brakema E, van der Kleij R, Sheals K, Allistone G, Williams S. et al. National guidelines for smoking cessation in primary care: a literature review and evidence analysis. NPJ Prim Care Respir Med 2017:27(1):2.
3. ธีระวัฒน์ เจริญชัยรัตนะ, สุชาดา ภัยหลีกลี้. การสำรวจความชุกและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557;2(3):285-97.
4. นิยม จันทร์นวล, พลากร สืบสาราญ. สถานการณ์การสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัย อุบลราชธานี: ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีปลอดบุหรี่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559;18(2):22-34.
5. Ota A, Takahashi Y. Factors associated with successful smoking cessation among participants in a smoking cessation program involving use of the internet, e-mails, and mailing-list. Nihon Koshu Eisei Zasshi 2005;52(11):999-1005.
6. จินตนา ยูนิพันธุ์, วราภรณ์ ชัยวัฒน์, สุนิดา ปรีชาวงษ์, สุวิมล โรจนาวี. อัตราการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยเรื้อรังหลังได้รับคำปรึกษาจากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2556; 11(2);49-61.
7. World Health Organization. WHO Report on the Globan Tobacco Epidemic, 2009 : Implementing smoke-free environments. Geneva: World Health Organization; 2009.
8. สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา, สุรจิต สุนทรธรรม, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติอิงหลักฐานการบำบัดโรคเสพยาสูบในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2555 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ; 2555.
9. Brose LS, West R, Michie S, McEwen A. Changes in success rates of smoking cessation treatment associated with take up of a national evidencebased training programme. Prev Med 2014;69:1-4.
10. ประสิทธิ์ กี่สุขพันธ์. การเลิกสูบบุหรี่. เอกสารการสอนรายวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน 3 หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. 2559:1-13.
11. สนทรรศ บุษราทิจ, อภิญญา สิริไพบูลย์กิจ. การศึกษาเกี่ยวกับอัตราการเลิกบุหรี่ได้ สำเร็จของผู้ที่รับการรักษาที่คลินิกเลิกบุหรี่ โรงพยาบาลศิริราช. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2555;57(3):305-12.
12. ณันฑิยา คารมย์, สุนิดา ปรีชาวงษ์. ปัจจัยทำนายการเลิกสูบบุหรี่ในระยะสั้นในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. พยาบาลสาร 2558;42(1):19-30.