ต้นทุนฐานกิจกรรมขั้นต่ำของการเฝ้าระวังสุขภาพเชิงรุกในสถานประกอบการโรงโม่หินและคอนกรีตผสมเสร็จเปรียบเทียบกับต้นทุนในปี 2557 และ 2558
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การศึกษาต้นทุนในการเฝ้าระวังสุขภาพเชิงรุกช่วยให้องค์กรนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการและองค์กร
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาต้นทุนขั้นต่ำเปรียบเทียบกับต้นทุนในการให้บริการเฝ้าระวังเชิงรุกแก่พนักงานในสถานประกอบการโรงโม่หินและคอนกรีตผสมเสร็จในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ในปี พ.ศ.2557 และ พ.ศ.2558
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลย้อนหลังในการเฝ้าระวังเชิงรุกแก่พนักงานในสถานประกอบการ ปี 2557-2558 โดยใช้ทฤษฏีต้นทุนฐานกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานประกอบการโรงโม่หินและคอนกรีตผสมเสร็จ จำนวน 8 แห่งในเขต อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติร้อยละและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: การเฝ้าระวังโรคกลุ่มอาการเมตาบอลิกมีต้นทุนต่อคนในปี พ.ศ.2557 พ.ศ. 2558 และการคำนวณต้นทุนขั้นต่ำเท่ากับ 256.5(S.D=124.5),140.4 (S.D.=53.6) และ71.2บาท ขณะที่การเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิส มีต้นทุนต่อคน เท่ากับ 386.8 (S.D.=191.6), 489.8 (S.D.=177.9) และ196.2 บาท และการคำนวณต้นทุนขั้นต่ำสามารถลดต้นทุนต่อคนในการเฝ้าระวังโรคกลุ่มอาการเมตาบอลิกและโรคซิลิโคสิสได้สูงสุดร้อยละ 67.2 และ 35.2 เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนปี พ.ศ.2557 และร้อยละ 49.2 และ 59.9 เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนปี พ.ศ.2558
สรุป: ต้นทุนการเฝ้าระวังสุขภาพเชิงรุกจะสามารถลดลงได้โดยการบริหารจัดการ แต่คงสูงกว่าอัตราเรียกเก็บของโรงพยาบาล ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งต่อองค์กรและผู้รับบริการ
คำสำคัญ: ต้นทุนฐานกิจกรรม โรคซิลิโคสิส
Article Details
References
2. กฎกระทรวง. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างและส่งผลตรวจแก่เจ้าพนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547. ราชกิจจานุเบกษา 2548 เล่มที่ 22 ตอนที่ 4 ก. หน้า 20. [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 28 เมษายน 2016]. เข้าถึงได้จาก:URL:https:// https://www.mol.go.th/sites/default/files/laws/th/00151640.pdf
3. Askarany D, Yazdifar H, Askary S. Supply chain Management, Activity-Based Costing and or Organizational Factors. Int J. Production Economics. 2010;127:238-48.
4. คณะทำงานจัดทำคู่มือการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน. คู่มือการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (Pay for Performance : P4P). [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 20 พฤษภาคม 2016]. เข้าถึงได้จาก :URL: https://dhes.moph.go.th/wpcontent/uploads/2017/06/p4p.pdf
5. สำนักบริหารกลาง กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์การคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรกระทรวงสาธารณสุขหนังสือที่ สธ. 0201.024.6/ว370 ลงวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2559.pdf [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 24 มิถุนายน 2016]. เข้าถึงได้จาก:URL: https://203.157.5.230/web_finance/file_upload/p13214-1.pdf
6. กลุ่มงานสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางการราชการ. Microsoft Word - อัตราฯ.doc - 177_Public health Service.pdf [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 28 เมษายน 2016]. เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.finance.psu.ac.th/data/budget/177_Public%20health%20Service.pdf