ผลการศึกษาภาวะติดเชื้อในลูกตาซึ่งเกิดจาการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากอวัยวะอื่น ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ในช่วงระยะเวลา 10 ปี

Main Article Content

ธนิต ศิริเลขอนันต์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะอาการแสดงทางคลินิก ปัจจัยเสี่ยง รวมถึงระดับการมองเห็นของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในลูกตาซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากอวัยวะอื่น
รูปแบบงานวิจัย: การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในลูกตาซึ่งเกิดจาการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากอวัยวะอื่นในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคมปี พ.ศ.2549-ธันวาคม พ.ศ.2558 จำนวนทั้งสิ้น 16 ราย เก็บรวบรวมลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ผลการเพาะเชื้อ และสาเหตุของการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากอวัยวะอื่นมาสู่ตา
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในลูกตาซึ่งเกิดจาการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากอวัยวะอื่นทั้งสิ้น 16 ราย 17 ตา โดย 13 ราย จาก 16 ราย มีโรคประจำตัว ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ โรคเบาหวาน (ร้อยละ 54) ผู้ป่วยในการศึกษาทั้งหมดสามารถเพาะเชื้อจุลชีพที่ก่อโรคขึ้นจากน้ำวุ้นลูกตาคิดเป็นร้อยละ 42 โดยเชื้อแบคทีเรียที่พบมากที่สุดคือเชื้อStreptococcus spp (ร้อยละ 12) และ klebsellaspp. (ร้อยละ 12) สาเหตุของการติดเชื้อจากอวัยวะอื่นที่พบมากที่สุดคือภาวะข้ออักเสบ(ร้อยละ 13) ระดับการมองเห็นหลังการรักษาของภาวะนี้แม้จะได้รับยาต้านจุลชีพแล้วโดยส่วนใหญ่จะไม่ดีซึ่ง 11 ตา(ร้อยละ 65) พบว่ามองไม่เห็นแสงอีก 6 ตา(ร้อยละ 35) พบระดับการมองเห็นที่แย่กว่า 20/200 ส่วนระดับการมองเห็นก่อนและหลังการรักษา โดยส่วนใหญ่มักจะคงเดิมหรือแย่ลง มีเพียง 1 ตาที่การมองเห็นดีขึ้นหลังได้รับการรักษา
สรุป: ภาวะติดเชื้อในลูกตาซึ่งเกิดจาการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากอวัยวะอื่นเป็นภาวะที่รุนแรงในทางจักษุวิทยาซึ่งมักจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นถาวร ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วตั้งแต่ระยะแรกของโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงและมีการมองเห็นที่ลดลง ควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์ เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน
คำสำคัญ: ภาวะติดเชื้อในลูกตา ติดเชื้อในกระแสโลหิต บริการจักษุวิทยา บุรีรัมย์ ประเทศไทย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Shrader SK, Band JD, et al. The clinical spectrum of endophthalmitis: incidence, predisposing factors, and features influencing outcome. J Infect Dis. 1990 Jul;162(1):115-20.

2. Binder MI, Chua J, et al. Endogenous endophthalmitis: an 18-year review of culture-positive cases at a tertiary care center. Medicine (Baltimore). 2003 Mar;82(2):97-105.

3. Wong JS, Chan TK, et al. Endogenous bacterial endophthalmitis: an east Asian experience and a reappraisal of a severe ocular affliction. Ophthalmology. 2000 Aug;107(8):1483-91.

4. Sheu SJ, Kung YH, et al. Risk factors for endogenous endophthalmitis secondary to klebsiella pneumoniae liver abscess: 20-year experience in Southern Taiwan. Retina. 2011 Nov;31(10):2026-31.

5. Okada AA, Johnson RP, et al. Endogenous bacterial endophthalmitis. Report of a ten-year retrospective study. Ophthalmology. 1994 May;101(5):832-8.

6. Greenwald MJ, Wohl LG, Sell CH. Metastatic bacterial endophthalmitis: a contemporary reappraisal. SurvOphthalmol. 1986 Sep-Oct;31(2):81-101.

7. Menezes AV, Sigesmund DA, et al. Mortality of hospitalized patients with Candida endophthalmitis. Arch Intern Med. 1994 Sep 26;154(18):2093-7.

8. Mowat A, Baum J. Chemotaxis of polymorphonuclear leukocytes from patients with diabetes mellitus. N Engl J Med. 1971 Mar 25;284(12):621-7.

9. Yoon YH, Lee SU, et al. Result of early vitrectomy for endogenous Klebsiella pneumoniae endophthalmitis. Retina. 2003 Jun;23(3):366-70.