รายงานผู้ป่วย: การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
กลุ่มอาการดาวน์เป็นโรคทางโครโมโซมที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มที่มีปัญหาทางสติปัญญา โดยพบว่ามีจำนวนโครโมโซมเกิน ซึ่งมักเกิดขึ้นกับโครโมโซม คู่ที่ 21 ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ และมีความพิการทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลางนอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ลิวคีเมีย และปัญหาของระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น ทันตแพทย์ต้องให้ความสำคัญกับการประเมินโรคทางระบบ ร่วมกับประเมินพฤติกรรม และระดับสติปัญญาของผู้ป่วย เพื่อวางแผนการรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย รวมทั้งให้ความรู้ด้านทันตกรรมป้องกันภายหลังการรักษาเพื่อคงสภาวะช่องปากที่ดีต่อไป
ผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 9 ปี มีภาวะกลุ่มอาการดาวน์ ถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เนื่องจากมีฟันผุหลายซี่และไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา โดยผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาโดยฟื้นฟูสภาพทั้งช่องปากภายใต้การดมยาสลบ ติดตามผลหลังการรักษา พบผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ
คำสำคัญ: กลุ่มอาการดาวน์ การรักษาทางทันตกรรม
Article Details
References
2. Weijerman ME, de Winter JP. Clinical practice. The care of children with Down syndrome. Eur J Pediatr. 2010;169(12):1445-52.
3. พัฏ โรจน์มหามงคล, นพวรรณ ศรีวงศ์พานิช. ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อน. ใน: รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ชาคริยา ธีรเนตร, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, พงศ์ศักดิ์ น้อยพยัฆ์ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2554:299-321.
4. Cohen WI. Down syndrome: Care of the child and family. In: Carey WB, Crocker AC, Coleman WL, Elias ER, Feldman HM, editors. Developmental-behavioral pediatrics. 4th. ed. Philadelphia: Elsevier; 2009:235-45.
5. Fussell JJ, Reynolds AM. Cognitive development. In: Voigt RG, Macias MM, Myers SM, editors. Developmental and behavioral pediatrics. United States of America: American Academy of Pediatrics; 2011:171-97.
6. Bacino CA , Lee B. Cytogenetics. In: Kliegman RM, Stanton BF, St Geme III JW, Schor NF, Behrman RE, editors. Nelson textbook of pediatrics. 20th. ed. Philadelphia: Elsevier; 2016.:604-26.
7. ชมรมวิชาชีพทันตกรรม กรมสุขภาพจิต. แนวทางการจัดการทางทันตกรรมสำหรับเด็กพิเศษ.[อินเตอร์เน็ต]; 2558 [เข้าถึงเมื่อ24 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก :URL:https://www.rajanukul.go.th/new/_admin/download/20-4380-1442393310.pdf
8. จินดา เลิศศิริวรกุล. การจัดการทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ต้องการการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ. ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2561.
9. Garn SM, Stimson CW, Lewis AB. Magnitude of dental delay in trisomy G. J Dent Res. 1970;49(3):640.
10. Cutress TW. Dental caries in trisomy 21. Arch Oral Biol. 1971;16(11):1329-44.
11. Mc Donald RE, Avery DR. Dentistry for the child and adolescent. St. Louis: Mosby-Year Book; 1994.
12. Orner G. Periodontal Disease Among Children with Down's Syndrome and Their Siblings. J Dent Res. 1976;55(5):778-82.
13. Modéer T, Barr M, Dahllöf G. Periodontal disease in children with Down's syndrome. Scand J Dent Res. 1990;98(3):228-34.
14. Maclaurin ET, Shaw L, Foster TD. Dental caries and periodontal disease in children with Down's syndrome and other mentally handicapping conditions. J Paediatr Dent. 1985;1(1):15-9.
15. มาลี อรุณากูร. การจัดการพฤติกรรมของเด็กพิเศษเพื่อการรักษาทางทันตกรรม. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2555.
16. Wright GZ. Children’s behavior in the dental office. In: Wright GZ, editor. Behavior management in dentistry for children. Philadelphia : W.B. Saunders; 1975:55-72.