รายงานผู้ป่วย: การรักษาการสูญสลายจากภายในของรากฟัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสูญสลายจากภายในเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดการทำลายรากฟัน โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากคลองรากฟัน ขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดเนื่องจากพบค่อนข้างน้อย แต่ปัจจัยชักนำคาดว่ามาจากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บของตัวฟัน เชื้อแบคทีเรีย หรือการทำฟัน ปกติการติดเชื้อในระยะแรกเริ่มจะไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าจะมีการทำลายรากฟันไปมากจนเกิดช่องทางติดต่อกับภายในช่องปาก จนบางครั้งทำให้ไม่สามารถเก็บฟันไว้ได้ การรักษาการสูญสลายจากภายในถือเป็นความท้าทายของการรักษารากฟันเนื่องจากลักษณะกายวิภาคที่ไม่ปกติ ทำให้การเตรียมคลองรากฟันและการอุดคลองรากฟันทำได้ยากกว่าการรักษาคลองรากฟันปกติ
รายงานผู้ป่วยนี้นำเสนอชายไทยอายุ 43 ปี มาด้วยอาการบวมบริเวณข้างปีกจมูกด้านขวา จากการตรวจทางภาพถ่ายรังสีพบการสูญสลายจากภายในของรากฟันเขี้ยวบน แม้จะมีขนาดของรอยโรคค่อนข้างใหญ่และมีการตีบตันของคลองรากฟันในส่วนปลายราก แต่ตรวจไม่พบรอยทะลุทำให้การพยากรณ์ของโรคค่อนข้างดี จึงได้ทำการรักษาคลองรากฟันโดยใช้การทำความสะอาดด้วยเทคนิคพาสสีฟอัลตราโซนิกส์อิริเกชันร่วมกับการอุดคลองรากด้วยเทคนิคเทอโมพลาสติไซส์อินเจคชัน หลังจากทำการรักษาคลองรากฟันไปแล้วติดตามผลพบการเริ่มหายของรอยโรครอบปลายรากฟัน
คำสำคัญ: การสูญสลายจากภายใน การสูญสลายจากภายในของรากฟัน การรักษาคลองรากฟัน
Article Details
References
Andreasen JO. Luxation of permanent teeth due to trauma A clinical and radiographic follow-up study of 189 injured teeth. Scand J Dent Res 1970;78(3):273-86.
Trope M. Root Resorption due to Dental Trauma. Endodontic Topics 2002;1(1):79-100.
Tronstad L. Root resorption-etiology, terminology and clinical manifestations. Endod Dent Traumatol 1988;4:241-52.
Wedenberg C, Lindskog S. Evidence for a resorption inhibitor in dentin. Scand J Dent Res 1987;95:205-11.
Ricucci D. Apical limit of root canal instrumentation and obturation, part 1. Literature review. Int Endod J 1998;31:384-93.
Cabrini RL, Manfredi EE. Internal resorption of dentine; histopathologic control of eight cases after pulp amputation and capping with calcium hydroxide. Oral Surg Oral Med Oral Pathol 1957;10:90-6.
Tsesis I, Fuss Z, Rosenberg E, Taicher S. Radiographic evaluation of the prevalence of root resorption in a Middle Eastern population. Quintessence Int 2008;39(2):e40-4.
Haapasalo M, Endal U. Internal inflammatory root resorption: the unknown resorption of the tooth. Endodontic Topics 2006;14:60-79.
Çalişkan MK, Türkün M. Prognosis of permanent teeth with internal resorption: a clinical review. Endod Dent Traumatol 1997;13:75-81.
Feiglin B. Dental pulp response to traumatic injuries--a retrospective analysis with case reports. Endod Dent Traumatol 1996;12:1-8.
Estrela C, Bueno M, De Alencar A, Mattar R, Valladares Neto J, Azevedo B et al. Method to Evaluate Inflammatory Root Resorption by Using Cone Beam Computed Tomography. J Endod 2009;35(11):1491-1497.
Friedman S, Abitbol S, Lawrence H. Treatment Outcome in Endodontics: The Toronto Study. Phase 1: Initial Treatment. J Endod 2003;29(12):787-793.
de Chevigny C, Dao T, Basrani B, Marquis V, Farzaneh M, Abitbol S et al. Treatment Outcome in Endodontics: The Toronto Study-Phase 4: Initial Treatment. J Endod 2008;34(3):258-263.
Burleson A, Nusstein J, Reader A, Beck M. The in vivo evaluation of hand/rotary/ultrasound instrumentation in necrotic, human mandibular molars.J Endod. 2007;33:782-7.
Siqueira JF, Jr., Rocas IN, Santos SR, Lima KC, Magalhaes FA, de Uzeda M. Efficacy of instrumentation techniques and irrigation regimens in reducing the bacterial population within root canals. J Endod 2002;28:181-4.
Gencoglu N, Yildirim T, Garip Y, Karagenc B, Yilmaz H. Effectiveness of different gutta-percha techniques when filling experimental internal resorptive cavities. Int Endod J 2008;41:836-42.
Bhagat A, Mittal L, Mogla S, Kaur T, Dheeraj M, Marwah G. Impact of Root Dentin Thickness on the in vitro Compressive Strength of Teeth treated with Recent Post and Core Systems. J Contemp Dent Pract 2017;18(11):1065-70.