การประเมินความสุขและความพึงพอใจในการทำงานของ บุคลากรพยาบาลโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

อัจฉรา วัชโรบล

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: บุคลากรพยาบาลซึ่งเป็นทีมสุขภาพที่ให้บริการด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและการป้องกันโรครวมถึงการฟื้นฟูสภาพการเจ็บป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขมากที่สุด ภาวะสุขภาพจิตของพยาบาล และความพึงพอใจในการทำงานย่อมส่งผลต่อการปฏิบัติการ พยาบาล บุคลากรพยาบาลที่มีความสุข และมีความพึงพอใจในงานน่าจะมี ส่วนทำให้เกิดผลดีต่อการปฏิบัติการพยาบาลและเพิ่มคุณภาพการพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความสุข ความพึงพอใจในการทำงาน และความสัมพันธ์ของ ปัจจัยส่วนบุคคลกับความสุข และความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากร พยาบาลโรงพยาบาลศรีสะเกษ
กลุ่มเปาหมาย: บุคลากรพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นใป จำนวน 318 คน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคดัดขวาง ณ ช่วงใดช่วงหนึ่ง
วิธีการศึกษา: เก็บรวมรวมข้อมูลจากแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ดัชนีชีวัดความสุขคน ไทย ฉบับ 66 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการทำงาน ระหว่าง วันที่ 20 พฤษภาคม 2548 - 30 กรกฎาคม 2548 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษา: ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 96.2 มีอายุระหว่าง 26-30 ปี ร้อยละ 31 สถานภาพสมรส ร้อยละ 56.9 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 86.5 ตำแหน่งข้าราชการ ร้อยละ 92.1 ระยะเวลาการปฏิบัติงาน 5 -10 ปี ร้อยละ 24.2 รายได้ต่อเดือน 10,000 - 15,000 บาท ร้อยละ 28.3 สถานภาพ ทางการเงินไม่พอใช้ มีหนี้สิน ร้อยละ 45.6 จำนวนคนที่อยู่ร่วมบ้าน 2 - 5 คน ร้อยละ 76.4 สถานที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ร้อยละ 68.2 ระยะ ทางจากที่พักอาศัยมาสถานที่ทำงาน 1 - 5 กิโลเมตร ร้อยละ 45.6 อยู่ บ้านของตนเอง ร้อยละ 36.8 ระดับความสุขเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 49.7 ความพึงพอใจในการทำงานในระดับปานกลาง ร้อยละ 70.8 และพบว่า บัจจัยด้านระดับการศึกษา สถานภาพทางการเงิน มีความสัมพันธ์กับความสุขในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ.01 ส่วนบัจจัย ด้านสถานที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์ทางลบกับระดับความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 บัจจัยด้านอายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน รายได้ และสถานภาพทางการเงิน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการ ทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ.01 ปัจจัยด้านจำนวนคน ที่อาศัยอยู่ร่วมบ้านและสถานที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ.01
สรุป: บัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ทั้งทางลบและทางบวกกับความสุขและความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรพยาบาล โรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยปัจจัยด้านสถานภาพทางการเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทั้งความสุขและความพึงพอใจในการทำงาน ส่วนปัจจัยด้านสถานที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทั้งความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบ้ติงานของบุคลากรพยาบาลใรงพยาบาลศรีสะเกษ
คำสำคัญ: ความสุข ความพึงพอใจในการทำงาน บุคลากรพยาบาล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชลอกุล, ละเอียด ปัญญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. ความสุขและสุขภาพจิตในบริบทของสังคมไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2544;46:227-32.

2. โรงพยาบาลศรีสะเกษ กลุ่มการพยาบาล. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2548. ศรีสะเกษ : โรงพยาบาลฯ; 2548.

3. ลักขณา สิริวัฒน์. จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์; 2544.

4. มธุลดา ชัยมี. แบบประเมินทางสุขภาพจิต. ใน: กฤตยา แสวงเจริญ และคณะ. เอกสารการสอนชุดวิชา 250 231 การ พยาบาลสุขภาพจิต. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.

5. ผ่องฉวี เพียรรู้จบ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขต 6. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย ; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.

6. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อสร้าง รอยยิ้มในสถานประกอบการ. นนทบุรี : สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2546.

7. Herzberg F, Snyderman BB. The Motivation to work. New York : John Wiley; 1959.

8. รัตนาภรณ์ กาญจนฤทธากรณ์. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)]. สาขาวิชาเอกบริหาร สาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2544.

9. พรชัย พงศ์สงวนสิน, จุฬารัตน์ วิเรฃะรัตน์ และ ชุติมา ประทีปจิตติ. คุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยจิตเวช ญาติผู้ดูแลและเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ : เฉพาะกรณีโรงพยาบาลศรีธัญญา. วารสารกรมสุขภาพจิต 2541;5:16-24

10. วารีรัตน์ ถาน้อย, สาวนะ พบสุข, พัชรินทร์ นินทจันทร์, จิตราภรณี บุญพานิชย์ และ นาตยา ทรัพย์สุวรรณ. การศึกษาภาวะสุขภาพจิตและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานสุขภาพจิตในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2546;17:44-59.

11. รุ่งนภา พูนนารถ. คุณลักษณะของงานและความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพญาไท 2. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)]. สาขาวิชาเอกการบริหารโรงพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย ; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542.

12. พิเชฐ ดำถาเครือ. เอกลักษณ์บทบาททางเพศและความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพชายในโรงพยาบาลชุมชน. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย ; เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2541.