ความแตกต่างทางพยาธิวิทยาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กก่อนเข้ารับการรักษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะโลหิตจางพบได้บ่อยในโรคมะเร็งปอด ซึ่งภาวะนี้ส่งผลต่อประสิทธิผลการรักษา และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่มะเร็งปอดแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามลักษณะทางพยาธิวิทยา ดังนั้นการจำแนกว่าชนิดใดมีผลต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง รวมถึงการหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกับภาวะโลหิตจางในโรคมะเร็งปอดก่อนเข้ารับการรักษา จะช่วยให้การแก้ไขภาวะนี้มุ่งเน้นไปยังมะเร็งปอดชนิดนั้นๆได้อย่างจำเพาะเจาะจง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างทางพยาธิวิทยาของมะเร็งปอดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กก่อนเข้ารับการรักษา
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลังโดยเปรียบเทียบประชากรสองกลุ่มเชิงวิเคราะห์
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยในโรงพยาบาลสุรินทร์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กจากการตรวจชิ้นเนื้อโดยที่ยังไม่ได้รับการรักษามาก่อน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 จากฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาลักษณะทางพยาธิวิทยาของมะเร็งปอด ปัจจัยทางคลินิกและการตรวจทางห้องปฏิบัติการกับผลต่อภาวะโลหิตจาง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่ยังไม่ได้รับการรักษาจำนวน 184 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่มีภาวะโลหิตจาง 91 คน และกลุ่มที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง 93 คน พบว่าลักษณะทางพยาธิวิทยาของมะเร็งปอดคือ adenocarcinoma squamous cell carcinoma large cell carcinoma และอื่นๆ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่มีภาวะโลหิตจางกับกลุ่มที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง(p=0.011) โดย Squamous cell carcinoma เป็นกลุ่มที่มีภาวะโลหิตจางมากกว่าชนิดอื่น(p=0.004) และ adenocarcinoma เป็นกลุ่มที่ไม่มีภาวะโลหิตจางเป็นส่วนใหญ่ (p=0.003) ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางในมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ albumin < 3.5 g/dl(OR=3.64, 95% CI: 0.14-0.45, p<0.001) และเม็ดเลือดขาว< 5000 cells/uL (OR=6.93, 95% CI:0.01-0.67, p=0.047)
สรุป: ผลตรวจทางพยาธิวิทยาของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มีผลต่อการเกิดภาวะโลหิตจางที่แตกต่างกัน โดย squamous cell carcinoma สัมพันธ์กับการเกิดภาวะโลหิตจางมากกว่าชนิดอื่นส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะโลหิตจางในมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กก่อนเข้ารับการรักษา ได้แก่ albumin < 3.5 g/dl และ WBC < 5000 cells/uL ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขณะรับการรักษา ลดภาวะแทรกซ้อนจากการรับเลือดหรือยากระตุ้นเม็ดเลือด และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
คำสำคัญ: ภาวะโลหิตจาง มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก ก่อนเข้ารับการรักษา
Article Details
References
2. Dela Cruz CS, Tanoue LT, Matthay RA. Lung cancer: epidemiology, etiology, and prevention. Clin Chest Med 2011;32(4):605-44.
3. Johnson DH, Fehrenbacher L, Novotny WF, Herbst RS, Nemunaitis JJ, Jablons DM, et al. Randomized phase II trial comparing bevacizumab plus carboplatin and paclitaxel with carboplatin and paclitaxel alone in previously untreated locally advanced or metastatic non-small-cell lung cancer. J Clin Oncol 2004;22(11):2184-91.
4. Hellmann MD, Chaft JE, Rusch V, Ginsberg MS, Finley DJ, Kris MG, et al. Risk of hemoptysis in patients with resected squamous cell and other high-risk lung cancers treated with adjuvant bevacizumab. Cancer Chemother Pharmacol 2013;72(2):453-61.
5. Birgegård G, Aapro MS, Bokemeyer C, Dicato M, Drings P, Hornedo J, et al. Cancer-related anemia: pathogenesis, prevalence and treatment. Oncology 2005;68 Suppl 1:3-11.
6. Van Belle SJ, Cocquyt V. Impact of haemoglobin levels on the outcome of cancers treated with chemotherapy. Crit Rev Oncol Hematol 2003;47(1):1-11.
7. Gauthier I, Ding K, Winton T, Shepherd FA, Livingston R, Johnson DH, et al. Impact of hemoglobin levels on outcomes of adjuvant chemotherapy in resected non-small cell lung cancer: the JBR.10 trial experience. Lung Cancer 2007;55(3):357-63.
8. Tomita M, Shimizu T, Hara M, Ayabe T, Onitsuka T. Impact of preoperative hemoglobin level on survival of non-small cell lung cancer patients. Anticancer Res. 2008;28(3B):1947-50.
9. Zhang YH, Lu Y, Lu H, Zhang MW, Zhou YM, Li XL. Pretreatment Hemoglobin Level Is an Independent Prognostic Factor in Patients with Lung Adenocarcinoma. Can Respir J 2018;2018:6328127.
10. Kuzuya M, Izawa S, Enoki H, Okada K, Iguchi A. Is serum albumin a good marker for malnutrition in the physically impaired elderly? Clin Nutr 2007;26(1):84-90.
11. Doweiko JP, Nompleggi DJ. The role of albumin in human physiology and pathophysiology, Part III: Albumin and disease states. JPEN J Parenter Enteral Nutr 1991;15(4):476-83.
12. Doweiko JP, Nompleggi DJ. Role of albumin in human physiology and pathophysiology. JPEN J Parenter Enteral Nutr 1991;15(2):207-11.
13. Frangos E, Trombetti A, Graf CE, Lachat V, Samaras N, Vischer UM, et al. Malnutrition in Very Old Hospitalized Patients: A New Etiologic Factor of Anemia? J Nutr Health Aging 2016;20(7):705-13.
14. Shoenfeld Y, Tal A, Berliner S, Pinkhas J. Leukocytosis in non hematological malignancies--a possible tumor-associated marker. J Cancer Res Clin Oncol 1986;111(1):54-8.
15. Chen M, Krishnamurthy A, Mohamed AR, Green R. Hematological disorders following gastric bypass surgery: emerging concepts of the interplay between nutritional deficiency and inflammation. Biomed Res Int 2013;2013:205467.
16. Brechot JM, Roche N, Marichy C, Lebeau B, Debieuvre D, Darneau G, et al. [Treatment of anemia and bone metastasis in metastatic non-small-cell lung cancer. A French survey]. [Article in French]. Rev Pneumol Clin 2005;61(1 Pt 1):23-9.
17. Adamson JW. The anemia of inflammation/malignancy: mechanisms and management. Hematology Am Soc Hematol Educ Program 2008:159-65.