ผลการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิลโดยการจึ้ไฟฟ้าในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ธีรยุทธ จงสืบสิทธิ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิลเป็นการผ่าตัดที่ทำกันมากในแพทย์ หู คอ จมูก และทำกันมานานโดยเฉพาะในเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีข้อบ่งชี้ที่แตกต่างกันในการผ่าตัดในแต่ละชนิด ทั้งนี้การผ่าตัดยังมีเทคนิคแตกต่างกัน ในโรงพยาบาลสุรินทร์ได้ใช้เทคนิคการผ่าตัดคือ ใช้ไฟฟ้าจี้ตัด (electrocautery dissection) ซึ่งจะเสียเลือดน้อย การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการศึกษาอุบัติการณ์การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิล ข้อบ่งชี้การผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระยะเวลาการผ่าตัดนอกจากนี้ยังศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อายุ เพศ การวินิจฉัยโรค ฯลฯ กับชนิดของการผ่าตัดที่ผู้ป่วยได้รับที่อาจส่งผลถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อน
วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงพรรณนา โดยศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยใน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 โดยมีการบันทึกข้อมูลด้าน เพศ อายุ โรคที่เข้ารับการผ่าตัด โรคร่วม ขนาดของก้อน ตำแหน่งของก้อน วิธีการผ่าตัด ระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัด รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้ได้รับผ่านการรับรองจากคณะการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลสุรินทร์
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมดมีจำนวน 159 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง(ร้อยละ61.8) อายุเฉลี่ย 18.4±14.5 ปี มีระยะเวลาการผ่าตัดเฉลี่ย 53.02 ±1.18 นาที มีภาวะแทรกซ้อนโดยรวมร้อยละ 2.5 เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงร้อยละ 1.6 คือภาวะเลือดออกมาก ทั้งนี้ไม่พบว่ามีปัจจัยทั้งในด้าน เพศ อายุ ตำแหน่งของโรค ตำแหน่งของโรค การผ่าตัด มีสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน (P>0.05)
สรุปผลการศึกษา: การผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอดีนอยด์ ที่โรงพยาบาลสุรินทร์มีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือการเกิดเลือดออกมาก โดยมีอัตราที่ใกล้เคียงกับรายงานอื่นๆ ทั้งนี้ไม่พบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อย่างไรก็ตามพบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดมีระยะเวลานานเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาอื่นถึงเท่าตัว แต่หากระยะเวลาดังกล่าวรวมระยะเวลาตั้งแต่การดมยาสลบจนกระทั่งออกจากห้องพักฟื้นจะมีการใช้เวลาที่ใกล้เคียงกัน จะต้องมีการบันทึกข้อมูลแยกช่วงเวลาต่างๆให้ชัดเจนเพื่อใช้ในการพัฒนาแนวทางการรักษาผู้ป่วย
คำสำคัญ: ต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กรีฑา ม่วงทอง ปุยฝ้าย จินดาประสาน. การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดต่อมทอลซิล ระหว่างวิธีใช้ไฟฟ้าจี้ตัดกับวิธีใช้เส้นลวดตัดและเย็บผูกในผู้ป่วยเด็ก. วารสาร หู คอ จมูกและใบหน้า 2546;4(2):27-34.

2. Ryczer T, Zawadzka-Głos L, Czarnecka P, Sobczyk K. Bleeding as the main complication after adenoidectomy and adenotonsillotomy. New Med 2015;19(4):125-9.

3. Canto GDL, Pachêco-Pereira C, Aydinoz S, Bhattacharjee R, Tan H-L, Kheirandish-Gozal L, et al. Adenotonsillectomy complications: a meta-analysis. Pediatrics 2015;136(4):702-18.

4. Acevedo JL, Shah RK, Brietzke SE. Systematic review of complications of tonsillotomy versus tonsillectomy. Otolaryngol Neck Surg 2012;146(6):871-9.

5. Windfuhr JP. Serious complications following tonsillectomy : How frequent are they really?. ORL. 2013;75(3):166-73.

6. Seshamani M, Vogtmann E, Gatwood J, Gibson TB, Scanlon D. Prevalence of complications from adult tonsillectomy and impact on health care expenditures. Otolaryngol Neck Surg 2014;150(4):574-81.

7. Windfuhr JP, Chen YS, Remmert S. Hemorrhage following tonsillectomy and adenoidectomy in 15, 218 patients. Otolaryngol Neck Surg 2005;132(2):281-6.

8. Tonsillectomy Techniques Differ in Complication Rates [อินเทอร์เน็ต]. Medscape. [อ้างถึง 27 กุมภาพันธ์ 2018]. Available at: https://www.medscape.com/viewarticle/722714

9. Omrani M, Barati B, Omidifar N, Okhovvat AR, Hashemi SAG. Coblation versus traditional tonsillectomy : A double blind randomized controlled trial. J Res Med Sci 2012;17(1):45-50.

10. Tonsillectomy [อินเทอร์เน็ต]. Mater Patient Information. [อ้างถึง 24 มีนาคม 2018]. Available at: https://brochures.mater.org.au//brochures/mater-children-s-private-brisbane/tonsillectomy.