การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

วินัย อึงพินิจพงศ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุโดยใช้ระบบตรวจสอบข้อบกพร่องในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ (Trauma audit system)
รูปแบบการวิจัย: Participatory Action Research
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธการศึกษา: กำหนดรูปแบบการศึกษาแบบ Participatory Action Research ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยอุบัติเหตุในโรงพยาบาลสุรินทร์ตั้งแต่ 1 มกราคม 2544 ถึง 31 มีนาคม 2545 โดยจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อบกพร่องในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ ในโครงการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ เพื่อรวบรวมบัญหาข้อบกพร่อง ซึ่ง สามารถวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยผู้ปฎิบัติมีส่วนร่วมในการ เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ผลการศึกษา: มีการตรวจสอบข้อบกพร่องในการดูแลผู้ป่วยทั้งสิ้น 352 จุด ซึ่งหลังจากได้กำหนดวิธีการแก้ไขระบบดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุแล้ว พบว่าข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นลดลงกว่า ร้อยละ 50 และข้อบกพร่องที่นำไปสู่การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่สามารถป้องกัน ได้ลดลงกว่าร้อยละ 50 เช่นกัน
สรุป: การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุในโรงพยาบาลสุรินทร์โดยกระบวนการ Action Research ร่วมกับการพัฒนาระบบการตรวจสอบข้อบกพร่องในการดูแลผู้ป่วย ทำให้ทราบข้อบกพร่องในการทำงานและผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการเสนอ แนวทางการแก้ไขปัญหา นำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วย อุบัติเหตุได้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ชไมพันธุ สันติกาญจน. สถานการณ์ด้าน การรักษาพยาบาลและการให้บริการผู้บาดเจ็บ พ.ศ. 2539-2542. วารสารอุบัติเหตุ 2545;21(2):81-84.

2. วิทยา ชาติบัญชาชัย. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 20. 1 ed. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2544.

3. กรมการขนส่งทางบก. สถิติการขนส่ง. เอกสารประชาลัมพันธ์ 2542.

4. วิทยา ชาติบัญชาชัย. Trauma audit for hospital care improvement, Khon Khaen Hospital. ว.วิชาการสาธารณสุข (Journal of Health Science) 2541;7(4):421-30.

5. วิทยา ชาติบัญชาชัยและคณะ. การพัฒนาคุณภาพการรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุ โดยการแก้ไขข้อบกพร่องในระบบบริการ.โรงพยาบาล ขอนแก่น 2543: ขอนแก่นการพิมพ์.
6. ธวัชชัย กาญจนรินทร์. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 20. 1 ed. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2544.

7. Davis JW, Hoyt DB, McArdle MS, Mackersie RC, Eastman AB, Virgilio RW, et al. An analysis of errors causing morbidity and mortality in a trauma system: a guide for quality improvement. J Trauma 1992;32(5): 660-5; discussion 65-6.

8. Nakayama DK, Gardner MJ, Waggoner T. Audit filters in quality assurance in pediatric trauma care. J Pediatr Surg 1993;28(1):19-25.

9. McDermott FT. Trauma audit and quality improvement. Aust N Z J Surg 1994;64(3):147-54.

10. Spence MT, Redmond AD, Edwards JD. Trauma auditthe use of TRISS. Health Trends 1988;20(3):94-7.

11. Yates DW, Woodford M, Hollis ร. Trauma audit: clinical judgement or statistical analysis? Ann R Coll Surg Engl 1993;75(5):321-4.

12. วิทยา ชาติบัญชาชัย. ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจร. 1 ed. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์; 2545.