ผลการดำเนินงานการจัดตั้งงานบริการเตรียมยาเคมีบำบัดในกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สันติ หวังกีรติกานต์
พรศรี รัตนนิเวศน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการจัดตั้งงานบริการเตรียมยาเคมีบำบัดบัดในกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา
สถานที่ทำการศึกษา: งานบริการเตรียมยาเคมีบำบัด กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังตั้งแต่วับที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยการรวบรวม เอกสารบันทึกการเตรียมยาเคมีบำบัดประจำวัน เอกสาร, รายงานการให้ บริการผสมยาเคมีบำบัดประจำเดือน นำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและวิเคราะห์หาค่าทางสถิติเชิงพรรณา ประชากรศึกษา-เอกสารบันทึกการเตรียม ยาเคมีบำบัดประจำวัน-เอกสารรายงานการให้บริการผสมยาเคมีบำบัดประจำเดือน
ผลการศึกษา: ในระยะเวลา 6 เดือนพบว่า มีการเตรียมยาเคมีบำบัดทั้งหมด 1,351 dose สำหรับผู้ป่วย 329 ราย จำนวนยาที่เตรียมทั้งหมด 9 รายการ ซึ่งสามารถประหยัดยาเคมีบำบัดได้เป็นมูลค่า 9,650.20 บาท และในการศึกษานี้พบว่า 5-Fluorouracil เป็นยาเคมีบำบัดที่มีปริมาณการเตรียมมากที่สุด (732 Dose) คิดเป็น 54.18% ส่วนหอผู้ป่วยที่มีการสั่งใช้ยาเคมีบำบัดมากที่สุดคือ หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย ซึ่งมีการสั่งใช้ยา 248 ครั้ง คิดเป็น 37.63% ในการศึกษา ครั้งนี้ได้สำรวจความพึงพอใจของพยาบาลที่เกี่ยวข้อง พบว่าพยาบาลมีความพึงพอใจกับการบริการนี้ เนื่องจากลดความเสี่ยงที่จะได้รับพิษจากยาเคมีบำบัด
สรุป: จากการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาผลการดำเนินงานในแง่ปริมาณงานที่เกิดขึ้นจากการจัดตั้งงานบริการเตรียมยาเคมีบำบัด รวมถึงได้ทราบมูลค่าประหยัดจากการเตรียมยาเคมีบำบัดในลักษณะที่เป็นศูนย์กลาง โดยมูลค่าประหยัดจะน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการลงทุน แค่สิ่งสำคัญที่ได้จากการจัดตั้งงาน คือ การลดความเสี่ยงจากอันตรายที่เกิดจากการเตรียมยาเคมีบำบัดบนหอผู้ป่วย ซึ่งเป็นการยากที่จะแปรมูลค่าออกมาเป็นตัวเงิน แค่ผลจากการสำรวจความพึงพอใจของพยาบาลที่เกี่ยวข้อง พยาบาลมีความพึงพอใจกับการบริการนี้ ผลอื่นๆ ที่ได้รับจากการจัดตั้งงานบริการเตรียมยาเคมีบำบัดคือเภสัชกรมีโอกาส ในการดูแลผู้ป่วยด้านยามากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาถูกต้องทั้งชนิด ขนาด ปริมาณ และความปราศจากเชื้อ เป็นการเพิ่มคุณภาพในการรักษาให้กับผู้ป่วย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สุรสิทธิ์ วัชระสุขโพธิ์. การเปิดบริการงานเภสัชกรรมด้านยาที่มีพิษต่อเซลล์ในโรงพยาบาลขอนแก่น. คลินิก 2541 ; 14 (12): 906-910.

2. นางสาวชบาไพร ยะแสง. การติดตามการใช้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่โรงพยาบาลราชวิถี (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาเภสัช ศาสตร์มหาบัณฑิต). ภาควิชาเภสัชกรรม, คณะเภสัชศาสตร์, กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ; 2538.

3. อรพินท์ ไชยพยอม. ความพึงพอใจของผู้รับการต่อบริการของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลคิริราช (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต)• สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข, บัณฑิต วิทยาลัย, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; พ.ศ. 2542.

4. จินดา ปียสิริวัฒน์. บทบาทของเภสัชกรบนหอผู้ป่วยที่โรงพยาบาลพิจิตร (เภสัชศาสตร์ มหาบัณฑิต). ภาควิชาเภสัชกรรม, บัณฑิต วิทยาลัย, กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; พ.ศ. 2539.

5. Morris-Me, Am-J-Hosp-Pharm ; 1978 ; 35 (Jun) ; 669-72.

6. Vaida AJ, Gabos C. Intravenous admixture system. In Handbook of Institutional pharmacy Practices. 3 rd ed. Bethesda, MP, AS HP, NC. 1992.