ประเมินโครงการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

จรีภรณ์ วิชยศาสตร์

บทคัดย่อ

เหตุผลในการศึกษา: การรักษาพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุที่เหมาะสมและมีคุณภาพเป็นส่วนสำคัญในการช่วยลดอัตราพิการ, อัตราตายและปัญหาจากการรักษาพยาบาล'ในพื้นที่ ที่หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินไม่พอเพียงทั้งปริมาณและคุณภาพนั้น ผู้ประสพเหตุคนแรกจะเป็นกำลังสำคัญในการรักษาพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ ก่อนถึง โรงพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมเกี่ยวคับการรักษาพยาบาล ณ จุด เกิดเหตุของกลุ่มตัวอย่าง และเพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางแก้ไขในการดำเนินงาน ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบวิธีศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา
กลุ่มเป้าหมาย: ข้าราชการตำรวจ,อาสาสมัครปองคันภัยฝ่ายพลเรือน, กู้ภัย, พนักงานดับเพลิง อาสาสมัครระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในอำเภอสำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 225 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจง ความถี่แสดงค่าร้อยละ และบรรยายเชิงวิเคราะห์
ผลการศึกษา: ความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ เพิ่มขึ้นโดยคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมร้อยละ 76.11 หลังการอบรมร้อยละ 92.35 พฤติกรรม ในการช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ มีระดับความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย ระดับปานกลางถึงดี, และมีความกระตือรือร้นในการช่วยผู้ป่วย ระดับมากที่สุด พฤติกรรมการปฐมพยาบาลได้ทำการห้ามเลือดร้อยละ 51.6, ดามกระดูกหัก ร้อยละ 44.72 ดูแลการหายใจร้อยละ 42.2, การช่วยหายใจ ร้อยละ 3.89 ความเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ของกลุ่ม เป้าหมายในปี 2546 พบว่ามีการปฐมพยาบาลดีขึ้นเป็นร้อยละ 24.5 การ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยถูกต้องร้อยละ 19.6 และการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ดีขึ้น ร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับปี 2545 ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ขาดอุปกรณ์ ช่วยเหลือ ร้อยละ 37.9 รองลงมาคือการเคลื่อนย้ายไม่เหมาะสม ร้อยละ 33.9
สรุปผล: การพัฒนาระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ดีขึ้นในขณะที่งบประมาณ และบุคลากรทางการแพทย์จำกัดนั้น ผู้ประสพเหตุคนแรกที่ดี มีส่วนสำคัญ ในการเพิ่มคุณภาพของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้ทั้งนี้ต้องพัฒนาคุณภาพการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บให้เหมาะสมกว่านี้โดยปรับปรุงหลักสูตรอบรม จัดอบรมให้ครอบคลุมต่อเนื่อง และมีการประสานงานการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ เป็นด้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อนันค์ อริยะชัยพานิชย์. รายงานพิธีเปิด การสัมมนาระดับชาติ เรื่อง อุบัติเหตุการจราจร ครั้งที่ 3 : การพัฒนาระบบบริการ การแพทย์ฉุกเฉินตามนโยบายรัฐบาล ; 21 - 22 กุมภาพันธ์ 2545 ; ณ โรงแรมเจริญ ธานีปริ๊นเชส ขอนแก่น; 2545

2. วิทยา ชาติบัญชาชัย, ยุทธศาสตร์การ แก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจร. ขอนแก่น : สำนักงานโครงการวิจัยและตำรา. โรงพยาบาลขอนแก่น ; 2545

3. สมชาย กาญจนสุด. ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย, ปรีชา ศิริทองถาวร, สืบวงศ์ จุฑาสิทธ์, อนันต์ ตัณมุฃยกุล, บรรณาธิการ, ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ 12 การดูแลรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุชั่วโมงแรก ที่ห้องฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์; 2544

4. อุกฤษฏ์ มิลินทางภูร. การพัฒนากำลังคน รองรับหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ะ เอกสารประกอบการ สัมนาระดับชาติ เรื่อง อุบัติเหตุจราจร ครั้งที่ 3 : การพัฒนา ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามนโยบาย รัฐบาล 21-22 กุมภาพันธ์ 2545 ; ณ โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส. ขอนแก่น ; 2545