คุณภาพการรักษาพยาบาลภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

จิระพล ตรีศักดิ์

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อย ซึ่งอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยจนหายเองได้หรือรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของภาวะนี้ได้แก่ อายุ เพศชาย ภาวะ uremia ความดันโลหิตต่ำ และโรคร่วมอื่นๆด้วยเป็นต้น การศึกษาอัตราตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องย่อมมีประโยชน์ในการวางแผนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยต่อไป
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Descriptive retrospective study) จากการศึกษาแฟ้มประวัติผู้ป่วยในผู้ใหญ่ ในปีงบประมาณ 2546 ที่ได้รับ การวินิจฉัยโรค เป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น ถึงอัตราตายของผู้ป่วยและปัจจัยที่เกี่ยวข้องถึงอัตราตายของผู้ป่วย ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น
สถิติที่ใช้: การสุ่มตัวอย่าง ใช้วิธี Simple Randomization วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS PC version 10 ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย, 95%CI
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 547 ราย อายุเฉลี่ย 57.12 ปี(55.12-55.45) เพศชาย 67.5% การวินิฉัยโรคส่วนใหญ่ 60.70% เป็นGastrointestinal bleeding,non-speci-fied อัตราตายโดยเฉลี่ยรวม 13.53%(10.77-16.68%) อัตราตายผู้ป่วย อายุน้อยกว่า60 ปีเป็น13.86%(10.17-18.27) อายุ 60-79 ปี เป็น13.53%(9.18-18.19) อัตราตายใน elective admission เป็น24.12% สูงกว่า emergency admission อัตราตายเมื่อเกิด rebleeding สูงขึ้น เป็น33.33% เช่นเดียวกับการผ่าตัดที่อัตราตายสูงขึ้นเป็น 16.67%
สรุป: ผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ มีอัตราตาย ไม่แตกต่างจากการศึกษาอื่น ปัจจัยที่มีผลต่อการอัตราตาย ได้แก่ เพศชาย, การเกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออก'ในทางเดินอาการขณะพักรักษาตัวโรงพยาบาล ภาวะเลือดออกซ้ำและการผ่าตัด แต่ปัจจัยที่แตกต่างคือยังพบ อัตราตายที่สูงในผู้ป่วยอายุน้อย จึงควรเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการดูแลในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. นิมมานวุฒิพงษ์ ธัญเดช. Upper GI Bleeding ใน: ลีลานนท์ สุทธจิต, วาสนสิริ วิชัย, วงศ์เกียรติขจร สุมิต, บรรณาธิการ.ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 23. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : โฆสิตการพิมพ์, 2546:669-718.

2. Blatchford O, Davidson LA, Murray WR, ed all. Acute upper gastrointestinal haemorrhage in west of Scotland case ascertainment study.

3. Czemichow P, Hochain P, Nousbaum JB.Epidemiology and course of acute gastrointestinal haemorrhage in four French geographical areas. Eur J Gastroenterol Hepatol 2000;12(2):175-81.

4. Rockall TA, Logan RF, Devlin HB. Incidence of and mortality from acute upper gastrointestinal haemorrhage in the United Kingdom. BMJ 1995;311:222-6.

5. โรงพยาบาลบุรีรัมย์ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดบุรีรัมย์. รายงานประจำปี โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2546: 23-30.

6. Longstreth GF, Feitelberg SP. Successful outpatient management of acute upper gastrointestinal haemorrhage use of practice guidelines in a large patient series. Gastrontest Endosc 1998;47(3):219-22.

7. Supe AN.Soonawala PF, Martor SK. Prognostic markers in upper gastrointestinal haemorrhage. Indian J Gastroenterol 1989;8(4):233-6.

8. Zimmerman J, Siguencia J, Tsvang E, Berri R, Arnon R. Predictors of mortality in patients admited to hospital for acute upper gastrointestinal hemorrhage. Scand J Gastroenterol 1995;30(4):327-31.

9. Silverstein FE, Feld AD, Gilbert DA. Upper gastrointestinal tract bleeding predisposing factors diagnosis and therapy. Arch Intern Med 1981;141(3Spec NO):322-27.