ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

เพ็ญจันทร์ วันแสน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความ สำเร็จในการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าของโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณลักษณะสังคมประชากร ปัจจัย ดำเนินงาน กระบวนการดำเนินงาน ความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติ รวมทั้งศึกษาระดับการ ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลใน จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่างใน โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์จำนวน 712 คน แบ่งเป็น ผู้รับบริการ จำนวน 384 คนและผู้ให้บริการจำนวน 328 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยกลุ่มตัวอย่างดัง กล่าวเป็นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้รับบริการและผู้ ให้บริการของโรงพยาบาลสุรินทร์ โรงพยาบาล ปราสาท โรงพยาบาลสำโรงทาบและศูนย์สุขภาพชุมชนในเครือข่าย 6 แห่ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ถึง เดือนพฤษภาคม 2546 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้น รวมทั้งการแจกแจงความถี่จาก แบบสอบถามปลายเปิดแล้วสรุปในเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่าการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความ สำเร็จในการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าของโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณลักษณะสังคมประชากร ปัจจัย ดำเนินงาน กระบวนการดำเนินงาน ความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติ รวมทั้งศึกษาระดับการ ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลใน จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่างใน โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์จำนวน 712 คน แบ่งเป็น ผู้รับบริการ จำนวน 384 คนและผู้ให้บริการจำนวน 328 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยกลุ่มตัวอย่างดัง กล่าวเป็นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้รับบริการและผู้ ให้บริการของโรงพยาบาลสุรินทร์ โรงพยาบาล ปราสาท โรงพยาบาลสำโรงทาบและศูนย์สุขภาพชุมชนในเครือข่าย 6 แห่ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ถึง เดือนพฤษภาคม 2546 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้น รวมทั้งการแจกแจงความถี่จาก แบบสอบถามปลายเปิดแล้วสรุปในเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า1. คุณลักษณะสังคมประชากรของผู้รับ บริการและผู้ให้บริการ พบว่า ผู้รับบริการ ร้อย ละ 53.9 มีอายุเฉลี่ย 30 ปี ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว นักเรียน/นักศึกษาและรับจ้าง ร้อยละ 13.5 ทุกอาชีพ จบ การศึกษาต่ำกว่าระดับอนุปริญญา ร้อยละ 47.4 อนุปริญญาร้อยละ 3.5 และปริญญาตรีร้อยละ 3.2 และผู้ให้บริการ พบว่า ผู้ให้บริการร้อยละ 46.1 มีอายุเฉลี่ย 34 ปี มีตำแหน่งเป็นผู้ปฏิบัติงาน ร้อยละ 35.1 และ ผู้บริหารร้อยละ  1 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 27.5 วุฒิอนุปริญญาร้อยละ 10.5 วุฒิต่ำกว่าอนุปริญญา ร้อยละ 4.3 และ วุฒิปริญญาโท ร้อยละ 3.82. ปัจจัยดำเนินงาน ทั้งในภาพรวม และในรายด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร แผนงาน งบประมาณ สถานที่วัสดุอุปกรณ์การแพทย์และ สิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า มีความเหมาะ สมอยู่ในระดับปานกลาง3. กระบวนการดำเนินงาน ทั้งในภาพ รวม และในรายด้าน ได้แก่ ด้านระบบบริการ การประชาสัมพันธ์โครงการ และการแก้ไข ปัญหาอุปสรรค พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับปานกลาง4. ความรู้ความเข้าใจ ทั้งในภาพรวม และในรายด้าน ได้แก่ ด้านวัตถุประสงค์โครงการ สิทธิประโยชน์ที่ได้รับและวิธีใช้สิทธิ์ พบว่า ผู้รับบริการและผู้ให้บริการมีความรู้ความเข้าใจอยู่ใน ระดับมาก5. ทัศนคติต่อโครงการหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า พบว่าผู้รับบริการและผู้ให้บริการมีทัศนคติที่ดีมากต่อโครงการหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์6. ความสำเร็จในการดำเนินโครงการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลใน จังหวัดสุรินทร์ ในภาพรวม พบว่า มีความ สำเร็จอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้าน พฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการและความพึง พอใจต่อการบริการในโครงการหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน กล่าวคือ ด้านพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า ผู้รับบริการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีมาก ด้านการส่ง เสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการที่ฟื้นฟูสภาพ ด้านความพึงพอใจต่อการ บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่า ผู้รับบริการและผู้ให้บริการมีความพึง พอใจอยู่ในระดับมาก ด้านผลการรักษาของแพทย์ พฤติกรรมบริการ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ7. ปัจจัยด้านคุณลักษณะสังคมประชากร ปัจจัยดำเนินงาน กระบวนการดำเนินงาน ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของผู้รับบริการ และผู้ให้บริการมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จใน การดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์ อย่างมีนัย สำกัญทางสถิติที่ระดับ 0.018. ปัจจัยด้านคุณลักษณะสังคมประชากร ได้แก่ อาชีพเกษตรกรรม ถ้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว นักเรียน/ นักศึกษา อาชีพรับจ้าง การศึกษาระดับประถม ศึกษา มัธยมศึกษา อนุปริญญา ปริญญาโท ตำแหน่งผู้บริหาร อายุ ปัจจัยดำเนินงาน ด้าน บุคลากร แผนงาน งบประมาณ สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์การแพทย์และสิ่งอำนวยความสะดวก กระบวนการตำเนินงาน ด้านระบบบริการ การ ประชาสัมพันธ์โครงการ การแก้ไขปัญหาอุปสรรค ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติ ส่งผลต่อความ สำเร็จในการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยมี ระดับการส่งผลเท่ากับ 0.749 หรือ ร้อยละ 56.19. ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ความสำเร็จ การดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่า ตัวพยากรณ์ที่ดีมี 9 ตัว คือ คุณลักษณะ สังคมประชากร ได้แก่ อายุ อาชีพรับจ้าง รับ ราชการ ปัจจัยดำเนินงาน ด้านบุคลากร แผนงาน กระบวนการดำเนินงาน ด้านการแก้ไขปัญหา อุปสรรค การประชาสัมพันธ์โครงการ ความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติ ตัวพยากรณ์ดังกล่าว สามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการดำเนิน โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยมีระดับความ สามารถในการพยากรณ์เท่ากับ 0.745 หรือ ร้อยละ 55.5

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ทองหล่อ เดชไทย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารสาธารณสุขและโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 8. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2527.

2. ประยงค์ เต็มชวาลา. การกระจายอำนาจ: ยุทธศาสตร์การปฏิรูปงานสาธารณสุขไทย. ศูนย์ฝึกอบรม และพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคกลาง, 2540.

3. ประเวศ วะสีและคณะ. ยุทธศาสตร์แก้วิกฤติชาติ. กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์, ม.ป.ป..

4. ศิริ ทิวะพันธุ์. ยุทธศาสตร์ กู้ชาติ กู้แผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษนุโลก : ตระกูลไทย, ม.ป.ป.. สาธารณสุข, กระทรวง www.moph.go.th/opd/doctor/draug44/so701.doc, 2544.

5. สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์, สำนักงาน. เอกสารข้อมูลบุคลากรต้านสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์, 2544.

- เอกสารรายงานผลการดำเนินงานโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพ. สุรินทร์, 2544.

- เอกสารรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพ. สุรินทร์, 2545.

- เอกสารโครงการดำเนินงานโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจังหวัดสุรินทร์.