เจตคติต่อกระบวนการพยาบาลและปัญหา อุปสรรคในการใช้ กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

อรนุช อิฐรัตน์
อุบลรัตน์ ดีพร้อม

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: สิ่งสำคัญในการปฏิบัติการพยาบาลคือการใช้กระบวนการพยาบาลซึ่งกระบวนการ พยาบาลใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติงาน ดังนั้นกระบวนการพยาบาลจึง เป็นสิ่งสำคัญมากต่อวิชาชีพพยาบาล กระบวนการพยาบาลประกอบด้วยการ ดำเนินการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินผู้รับบริการ การวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผล แต่ปัจจุบันพยาบาลโรงพยาบาลสุรินทร์มิการใช้กระบวนการพยาบาลแต่ขาดการ บันทึก และมิความเช้าใจในกระบวนการพยาบาลแตกต่างกัน อีกทั้งพยาบาลมิ ความรู้สึกว่ากระบวนการพยาบาลเป็นสิ่งที่ยาก ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาถึงเจตคติของพยาบาลต่อกระบวนการพยาบาลและบัญหาอุปสรรคต่อการนำ กระบวนการพยาบาลไปใช้ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ปรับปรุงและวางแผนแก้ไขบัญหา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาเจตคติต่อกระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาล สุรินทร์และเพื่อศึกษาบัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการใช้กระบวนการ พยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสุรินทร์
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย
วิธีการศึกษา: ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามโดยใช้กรอบแนวคิดกระบวนการพยาบาลเป็นหลัก หลังจากนั้นขอความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือ จำนวน 3 ท่านหลังจากนั้นปรับปรุงแก้ไขก่อนไปทดลองใช้จริงในพยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คนได้ค่าความเชื่อนั้น 0.8 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในพยาบาลวิชาชีพโรง พยาบาลสุรินทร์ในแผนกอายุรกรรม ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม สูติกรรมและ จิตเวช โดยตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับเจตคติต่อกระบวนการพยาบาล บัญหาและอุปสรรคในการใช้กระบวนการพยาบาลในพยาบาลวิชาชีพจำนวน 36 คน และสัมภาษณ์เจาะสึกพยาบาลวิชาชีพในแต่ละแผนกทั้งหมดจำนวน 9 คน
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมิเจตคติทางบวกต่อกระบวนการพยาบาลทุกขั้นตอน ด้านบัญหา อุปสรรคต่อกระบวนการพยาบาลพบว่า ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การ ประเมินผู้รับบริการ การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล การ ประเมินผลเป็นบัญหาอุปสรรคระดับปานกลาง ส่วนด้านการวินิจฉัยการ พยาบาลพบว่ามีปัญหา อุปสรรคระดับมากและทักษะในการประเมินปัญหาพบ ว่าปัญหา อุปสรรคอยู่ในระดับมาก
สรุป: พยาบาลวิชาชีพมีเจตคติทางบวกต่อกระบวนการพยาบาล แต่มีปัญหาด้านการเขียนวินิจฉัยการพยาบาลและการประเมินผู้ป่วย จึงควรมีการอบรมเชิงปฏิบัติ การในการใช้กระบวนการพยาบาลต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ดวงใจ รัตนธัญญา. ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยบางประการกับการใช้ กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราช เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2533.

2. ทัศนา บุญทอง. องค์ประกอบในการ ประกันสุขภาพ. ใน ประมวลการประชุม พยาบาลแห่งชาติครั้งที่ 6 (หน้า 145). กรุงเทพฯ : สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย. 2531.

3. Hildman, T. B. Registered Nurse Atitudes Toward the Nursing Process and Written Printed Nursing Care Plan. JONA 1992; 22(5), 5.

4. วลัยพร บันทีศุภวัฒน์, วีณา นานาศิลป์, เจียมจิต แสงสุวรรณและ ชิดชม สุวรรณน้อย. ทัศนคติต่อกระบวนการพยาบาลและปัญหา อุปสรรคในการใช้กระบวนการพยาบาลของนัก ศึกษาพยาบาลในประเทศไทย. คณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2538.

5. ดวงใจ รัตนธัญญา. ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยบางประการกับการใช้กระบวนการ พยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาล วิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2533.

6. อรุณ รักธรรม. หลักมนุษยสัมพันธ์ กับ การบริหาร. กรุงเทพ : โอเตียนสโตร์. 2526.

7. ประภาเพ็ญ สุวรรณ. ทัศนคติการวัด การเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. 2526.