พฤติกรรมสุขภาพและสถานะสุขภาพของบุคลากร ในโรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 2547

Main Article Content

ชาตรี สุรเนาวรัตน์

บทคัดย่อ

เหตุผลในการศึกษา: บุคลากรของโรงพยาบาลโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง และบุคลากรอื่นๆ ที่ไม่สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง ต่างก็มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อจากการปฏิบัติงานทั้งทางตรงและทางอ้อม และ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ,ขณะปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจ ที่จะศึกษาสถานะและพฤติกรรมสุขภาพบุคลากร เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่จะ'ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงนโยบายด้านการดูแลสุขภาพบุคลากรต่อไป
วัตถุประสงค์: 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลลำปลายมาศ
                       2. เพื่อศึกษาสถานะสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลลำปลายมาศ
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research)
กลุ่มตัวอย่าง: บุคลากรในโรงพยาบาลลำปลายมาศ จำนวน 213 คน ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ สิงหาคม 2547 - กันยายน 2547
ผลการศึกษา: บุคลากรโรงพยาบาลลำปลายมาศ จำนวน 213 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.7 ที่อายุน้อยกว่า 30 ปี และ อายุ 30 - 39 ปี เท่ากัน ร้อยละ 33.8 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 62.4 ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาล ร้อยละ 31.5 จบการศึกษาในระดับอนุปริญญา ร้อยละ 39.9 พฤติกรรมสุขภาพ พบว่า สูบบุหรี่ ร้อยละ 8.5 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 44.1 ไม่มีการออกกำลังกาย ร้อยละ 45.5 ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า การบริโภคเป็นประจำวันละ 1 ครั้ง สูงสุด ได้แก่ บริโภคผัก ร้อยละ 67.1 บริโภคน้ำมันพืช ร้อยละ 43.2 บริโภคผลไม้ ร้อยละ 36.2 ตรวจวัดความดันในรอบ 1 ปี ร้อยละ 91.5 แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ร้อยละ 69.0 นอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 20.2 และมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ร้อยละ 1.9 สถานะสุขภาพของบุคลากรมีบุคลากรทั้งสิ้น 159 คน เข้ารับการตรวจสุขภาพคิดเป็นร้อยละ 74.6 ได้รับการฉายภาพรังสีทรวงอกจำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 93.2 ผลการวินิจฉัย ผิดปกติ 8 คน คิดเป็นร้อยละ 6.8 ของผู้ฉายภาพรังสีทรวงอก ผลการตรวจปัสสาวะและเลือดเมื่อเปรียบเทียบรายการตรวจกับค่ามาตรฐานโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม พบว่าผลการ
ตรวจที่มีค่าผิดปกติมาก สูงสุดได้แก่ ผลการตรวจปัสสาวะ (UA) รองลงมา ได้แก่ ผลการตรวจการทำงานของตับ (LFT) และ ผลการตรวจไขมันในเลือด (Blood cholesterol) คิดเป็นร้อยละ 8.8 5.2 และ 5.1 ของผู้รับการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการแต่ละรายการ ผลการวินิจฉัยโดยแพทย์ พบว่า มีสถานะสุขภาพปกติ คิดเป็นร้อยละ 32.1 ผิดปกติเล็กน้อย ร้อยละ 35.2 ผิดปกติสมควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาต่อร้อยละ 32.7 โดยกลุ่มที่สมควร ได้รับการตรวจวินิจฉัยแล้วรักษาต่อพบภาวะทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTI) ร้อยละ 7.5 ความดันโลหิตสูง (HT) ร้อยละ 3.1 ไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) และสงสัยวัณโรคปอด (R/O Pulmonary Tuberculosis) เท่ากันร้อยละ 2.5 ของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี
ข้อเสนอแนะ: ควรจัดให้มีผู้รับผิดชอบดูแลงานสุขภาพบุคลากรโดยตรงและชัดเจน เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในบุคลากรและบานาดรการเชิงรุกในการค้นหาโรคติดต่อชนิดอื่นๆ ให้ครอบคลุมบุคลากรทุกคน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและเร่งรัดส่งเลริมพฤติกรรมด้านสุขภาพของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารและการบริโภคอาหารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในการเกิดโรคไขมันในโลหิตสูง เบาหวานและความตันโลหิตสูงที่พบว่าบุคลากรของโรงพยาบาลมีอาการป่วยด้วยโรคตังกล่าว

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Centers for Disease Control and Prevention. (1993). HIV/AIDS Surveillance Report, 5(3),13.

2. ธนศักดิ์ จันทร์สนิทศรี, การติดเชื้อวัณโรคของบุคลากรในโรงพยาบาลอุทุมพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2547. วารสาร ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2002, 17 57-67.

3. กองควบคุมวัณโรค. รายงานระบาดวิทยาของวัณโรคในประเทศไทย อัตราการติดเชื้อวัณโรคในประชากรทุกหมวดอายุ พ.ศ. 2520.