การติดเชื้อไวรัสเดงกีในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลสุรินทร์ ปี 2546

Main Article Content

อัจฉรา มิตรปราสาท

บทคัดย่อ

     ได้ทำการศึกษาแบบย้อนหลัง ผู้ป่วยเด็กติดเชื้อไวรัสเดงกี (ไข้เดงกีและไข้เลือดออก) ในโรงพยาบาลสุรินทร์ ที่วินิจฉัยตามแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 สิงหาคม 2546 จำนวน 597 ราย อัตราส่วนชายต่อหญิง เท่ากับ 1.08 : 1 พบผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 1 ปี 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.3 พบบ่อยที่อายุ 5 เดือน (2.5-10 เดือน) ผู้ป่วยอายุ 1-15 ปี 583 ราย (ร้อยละ 97.7) ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 6-10 ปี พบ บ่อยที่อายุ 9 ปี (83 ราย) อาการทางคลินิกพบว่า ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 1 ปี พบอาเจียน ร้อยละ 64.2 ไอ ร้อยละ 42.8 น้ำมูก ร้อยละ 21.4 ถ่ายเหลว ร้อยละ 57.1 ชัก ร้อยละ 21.4 จุดเลือดตามตัว ร้อยละ 50.0 ผู้ป่วยอายุ 1-15 ปี พบ ปวดศีรษะ ร้อยละ 26.2 คลื่นไส้ ร้อยละ 15.9 อาเจียน ร้อยละ 59.8 ปวดท้อง ร้อยละ 39.5 ไอร้อยละ 24.6 ถ่ายเหลว ร้อยละ 12.7 ชักร้อยละ 1.3 การศึกษานี้ พบผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 1 ปี มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดท้อง น้อยกว่าและมีอาการไอ น้ำมูก ถ่ายเหลว ชัก จุดเลือดตามตัว มากกว่าผู้ป่วยที่มีอายุ 1-15 ปี เหมือนการศึกษาอื่น มีผู้ป่วยมีอาการทางสมอง 13 ราย (3 รายในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี 10 ราย ในเด็กอายุ 1-5 ปี) ภาวะแทรกซ้อนพบภาวะน้ำเกิน และเลือดออกมากในทางเดินอาหาร ร้อยละ 1.2 ตับเสียหน้าที่และโซเดียมในเลือดต่ำ ร้อยละ 0.3 ในการศึกษานี้ ไม่มีผู้ป่วยชีวิต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับแก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 1. กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯมหานคร : โรงพิมพ์ดอกเบี้ย, 2546, 1-2

2. ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2545 และ 2546

3. Pancharoen C, Thisyakom U. Dengue Virus infection during infancy. Trans R Soc Trop Med Hyg 2001;95:307-8.

4. สุจิดรา นิมมานิตย์. ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : ยูนิตี้พลับสิเคชั่น, 2534 ; 10

5. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาไข้เลือดออกเดงกี ใน ; คิริเพ็ญ กัลยาณกุล, สุจิตรา นิมมานิตย์, บรรณาธิการ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี. ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1. กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ดอกเบี้ย,2546:27-35.

6. Sirisanthana V. Dengue hemorrhagic Fever at the Department of Pediatrics, Chiang Mai University Hospital in 1987. J Pediatr Soc Thai 1988;27;36-43.

7. Witayathawomweng P. Dengue hemorrhagic fever in infancy at Petchabun Hospital Thailand. Southeast Asian J Trop Med Pubic Health 2001;32; 481-7

8. กองระบาดวิทยา สำนักปลัดกระทรวง สาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2530-45.