ความชุกของมะเร็งปากมดลูกในสตรี จังหวัดสุรินทร์ ระหว่าง 1 ตุลาคม 2545 – 30 กันยายน 2546

Main Article Content

ประชุมพร บูรณ์เจริญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของความผิดปกติของ Pap smear และความชุกของมะเร็งปากมดลูกในสตรี อายุ 15-84 ปี ของจังหวัดสุรินทร์ ในปีงบประมาณ 2546
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานพยาธิกายวิภาค โรงพยาบาลสุรินทร์
กลุ่มตัวอย่าง: สตรีวัย 15-84 ปี ของจังหวัดสุรินทร์จากทกพื้นที่ได้รับการตรวจ Pap smear ในสถานบริการด้านสุขภาพ ทุกระดับ จำนวน 35,015 ราย และได้รับการตัดชิ้นเนื้อปากมดลูก โดย colposcope biopsy ในโรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 340 ราย ระหว่าง 1 ตุลาคม 2545 – 30 กันยายน 2546
ผลการศึกษา: ในสตรี 35,015 ราย ที่มาตรวจ Pap smear แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 1.3 กลุ่มอายุ 20-34 ปี ร้อยละ 26.1 และกลุ่มอายุ 35-84 ปี ร้อยละ 72.6 ผลการคัดกรอง พบผลผิดปกติ ร้อยละ 1.3 (450 ราย) แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 15-19 ร้อยละ 0.04 (13ราย) กลุ่มอายุ20-34 ปี ร้อยละ0.4 (143ราย)และกลุ่มอายุ 35-84 ปี ร้อยละ 0.8 (294 ราย) ในทั้งหมดนี้เป็น Premalignant ร้อยละ 93.6 (421ราย) เป็น Low risk ร้อยละ 71.8 (323 ราย) และ High risk ร้อยละ 21.8 (98 ราย) และเป็น Malignant ร้อยละ 6.4 (29 ราย)ในจำนวนนี้มีเพียง 340 ราย ที่ได้มาทำ colposcope biopsy เพื่อยืนยัน ผลชิ้นเนื้อ พบว่า เป็น Premalignant กลุ่ม Low risk (CIN 1) ร้อยละ 33.8 (113 ราย) และกลุ่ม High risk (CIN 2,3 CIS) ร้อยละ 50.0 (170 ราย) และเป็น Malignant ร้อยละ 16.2 (57 ราย) แบ่งเป็น squamous cell carcinoma (SCC) ร้อยละ 13.5 (46 ราย) และ Adenocarcinoma (Aseno (A) ร้อยละ 3.2 (11 ราย)
สรุป: จากการคัดกรอง Pap smear ในสตรี ช่วง 15-84 ปี ในจังหวัดสุรินทร์ พบผลผิดปกติ ร้อยละ 1.3 โดยเริ่มพบตั้งแต่ช่วง 15-19 ปี และพบมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น และพบมะเร็งตั้งแต่อายุ 20-24 ปี จาก colposcope biopsy เพื่อยืนยัน 340 ราย พบ Premalignant High risk ถึงร้อยละ 50.0 ของผู้มาทำ biopsy ทั้งหมด ซึ่งกระจายตั้งแต่ช่วงอายุ 20 ปี ขึ้นไปถึง 74 ปี กลุ่มนี้สามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ในระยะเวลา 2-3 เดือน ถึง 1 ปี ส่วนมะเร็งพบตังแต่ช่วงอายุ 20-24 ปี จนถึง 70-74 ปี เช่นกัน อัตราความชุกของ Pap smear ที่ผิดปกติในสตรีของจังหวัดสุรินทร์ คือ 89.8/ประชากรหญิงแสนคน และอัตราความชุกของมะเร็งปากมดลูกในสตรีจังหวัดสุรินทร์ คือ 11.4/ประชากรหญิงแสนคน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. มานะ โรจนวุฒานนท์. Female genital system, มะเร็งปากมดลูก พยาธิวิทยากายวิภาค 504-505, 1995

2. Andrew G. Adeno carcinoma in situ of the cervix Journal of the royal collage of pathologists of Thailand, Volume 1 number 3 : 216-218, 2002

3. Christopher P. Female Genital tract, Robbin pathologic basis of disease 23 : 1045,1994