การพัฒนาแบบประเมินความสามารถในการทำงานของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

พรรณทิพย์ มูลศาสตร์สาทร

บทคัดย่อ

บทนำ: เนื่องจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในระยะเวลาอันสั้นและการติดตามผลการฟื้นฟูทำได้ด้วยความยากลำบาก แบบสอบถามนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อใช้ประเมินความสามารถในการทำงานของผู้ป่วยกลุ่มนี้
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบประเมินความสามารถในการทำงานของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรงพยาบาลสุรินทร์ ให้มีคุณภาพเชื้อถือได้
วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยการนำแบบประเมินที่ปรับปรุงจาก Barthel Index ซึ่งมีเนื้อหา 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 การทำงานของอวัยวะข้างที่เป็นอัมพาต/อัมพฤกษ์จำนวน 4 รายการ ส่วนที่ 2 การช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันจำนวน 12 รายการ การประมาณค่าแบ่งออกเป็น 3 ระดับ มาใช้กับกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อาศัยอยู่ในชุมชน และมารักษาฟื้นฟูสภาพ ณ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูระหว่างเดือนธันวาคม 2546 ถึงมกราคม 2547 จำนวน 30 คน วิธีเก็บข้อมูลจะประเมินผู้ป่วยคนละ 7 ครั้ง รวมการประเมินทั้งสิ้น 210 ครั้ง ผู้ประเมินประกอบด้วยผู้ดูแลและหรือผู้ป่วย, แพทย์ 1 คน นักกายภาพบำบัด 2 คน และนักกิจกรรมบำบัด 2 คน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ สำหรับข้อมูลทั่วไปรายงานเป็นค่าร้อยละ ความเที่ยงตรงตามเนื้อหาใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ค่าความเที่ยงตรงตามสภาพและค่าความเชื่อมั่น ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ( xy ) การแปรผลใช้ระดับความเชื่อมั่นที่ p .01
ผลการศึกษา: คุณภาพของแบบประเมินมีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยพิจารณาจารการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญได้ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.62 – 1.00 มีความเที่ยงตรงตามสภาพได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.70-0.78 มีความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมินได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ตั้งแต่ 0.74-0.88
สรุป: แบบประเมินนี้มีข้อรายการตรงตามสภาพการณ์ที่เป็นจริง การให้คะแนนชัดเจน มีรูปแบบเหมาะสม ภาษาชัดเจนเข้าใจง่าย และสะดวกในการนำไปใช้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Doyle, Patrick J., Measuring Health Outcome in Stroke Survivors Ach Phys Med Rehabil 2002;suppl:39-43

2. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

3. นิพนธ์ พวงวรินทร์. โรคหลอดเลือดสมอง กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้ว, 2534

4. สำนักสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5. Aneshensel CS, Frerichs RR, Clark VA, Yokopenic PA. Telephone versus in-person surveys of community health status. Am J Public Health 1982;72:1017-21

6. Siemiatycki J. A comparison of mail, telephone, and home interview strategies for househole health surveys. Am J Public Health 1979;69:238-45

7. Henson R, Cannell CF, Roth A Effects of interview mode on reporting of moods, symptoms and need for social approval. J Soc Psychol 1978;105:123-9

8. Miller PV. Alternative question forms for attitude scale questions in telephone interviews. Public Opin O 1984;48:766-78

9. De Leeuw ED, Van der Zouwen J Data quality in telephone and face to face surveys : A comparative meta- analysis In: Groves RM, Biemer PP, Lyberg LE, Massey JT, Nicholls WL II, etal, editors. Telephone survey methodology. New York: Wiley,1998.

10. อุทุมพร จามรมาน การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดลักษณะผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร : ฟันนี่พับลิชซิ่ง, 2532.