การใช้ Blatchford Score ประเมินผลการรักษาผู้ป่วยเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น

Main Article Content

นิเดช กฤตสิน
พัชรี ยิ้มรัตนบวร

บทคัดย่อ

บทนำ: การศึกษาถึงวิธีประเมินความรุนแรงของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นปลายวิธี เช่นการศึกษาของ Rockall หรือการให้คะแนน Blatchford ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ค่า BUN.ความเข้มฮีโมโกลบินในเลือด ความดันโลหิต และอาการร่วมอื่นๆ วิเคราะห์แยกผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีความรุนแรงสูงเพื่อที่จะจัดการปัญหาแต่เนินๆและป้องกันเหตุปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ โดยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างทีมอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ ทำให้สามารถบริหารจัดการมีประสิทธิภาพสูง ใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย
วิธีการศึกษา: Cross-Sectional Study เพื่อศึกษา Prognosis ของภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น โดยศึกษาจากแฟ้มผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2546 ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธี Simple randomization จากแฟ้มผู้ป่วย 412 ราย นำมาศึกษาผลทางห้องปฏิบัติการ อาการ อาการแสดงนำมาคำนวณคะแนน Blatchford และผลต่อการรักษา (Outcome of treatment)
สถิติที่ใช้: ใช้ Odds ratio, ค่าเฉลี่ย ร้อยละ 95%CI
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยอายุเฉลี่ย 57.34 ปีเพศชาย 67% ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.97 วัน อัตราตายเฉลี่ย 13.13% ผู้ป่วยที่มีคะแนน Blatchford มากกว่า 13 มีอัตราตายสูงกว่า 1.85 (1.05-3.07) เท่า และพบอัตราการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นด้วย
สรุป: การให้คะแนน Blatchford ประเมินภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นสามารถใช้แยก ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดได้ จึงควรนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. โรงพยาบาลบุรีรัมย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานประจำปีโรงพยาบาลบุรีรัมย์ปีงบประมาณ 2546: 23-30.

2. Rockall TA, Logan RF, Devlin HB. Incidence of and mortality from acute upper gastrointestinal haemorrhage in the United Kingdom BMJ 1995;311:222-6

3. Vreeburg EM, Terwee CB, Snel P, Rauws EJ Bartelsman FM, Meulen HP, Tytgat GN. Validation of Rockall risk scoring system in upper gastrointestinal bleeding Gut 1999; 44: 331-5

4. Ch’ng CL, kingham JG. Scoring systems and risk assessment for upper gastrointestinal bleeding. Eur J Gastroenterol Hepatol 2001; 13(1):1137-9.

5. Blatchford O, Davidson LA, Murray WR, ed all Acute upper gastrointestinal hacmorrahge in west of Scotland case ascertainment study. BMJ 1997;315:510-4

6. Blatchford O, Murray WR, Blatchford M.A risk score to predict need for upper-gastrointestinal haemorrahge. Lancet 2000;356:1318-21

7. นิมมานวุฒิพงษ์ ธัญเดช Upper GI Bleeding ใน: ลีลานนท์ สุทธจิต, วาสนสิริ วิชัย, วงศ์เกียรติขจร สุมิต บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 23. กรุงเทพฯ : โฆสิตการพิมพ์ 2546:669-718.

8. Silverstein FE, Gilbert DA, Tedesco FS, Buenger FJ, Persing J The national ASGE survey on upper gastrointestinal bleeding II clinical prognostic factors. Gastrointeat Endosc 1981;27:80-93.

9. Mailer C,Goldberg A Harden RM, Grey TT, Burmett W. Diagnosis of upper gastrointestinal bleeding BMJ 1965;2:784-9