การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยเอดส์ที่ใช้ยาต้านไวรัส 3 รายการ โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

วรวิมล ศรีตะลานุกค์

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: โรคเอดส์เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศ ที่กำลังทวีความรุนแรงมาก ขึ้นเรื่อยๆ ได้มีการดำเนินการในทุกๆ ด้านเพื่อที่จะจัดการกับปัญหานี้ โรงพยาบาลสุรินทร์ร่วมกับองค์กรหมอไร้พรมแดน(ประเทศฝรั่งเศส)และสำนักงานควบคุมโรคติดต่อ ได้มีโครงการให้การรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัส 3 รายการ เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น การศึกษาในครั้งนี้จะมุ่งเน้นการบริบาลทางเภสัชกรรมในการ ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้แก่ผู้ที่สนใจในการศึกษาวิจัยดูแลผู้ป่วย กลุ่มนี้ต่อไป ตราบใดที่ยังไม่มียาหรือวัคซีนใดรักษาโรคให้หายขาดได้
วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามผลการรักษาและศึกษาปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยเอดส์ที่ใช้ยาต้านไวรัส 3 รายการ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบติดตามไปข้างหน้า
วิธีการศึกษา: ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยเอดส์อายุระหว่าง 12-60ปี ชาย : หญิง 26 : 13 จำนวน 39 ราย ระหว่างเดือนเมษายน - เดือนกันยายน พ.ศ. 2544
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยเอดส์ 31 รายยังคงใช้ยาต้านไวรัส 3 รายการอย่างต่อเนื่อง 8 รายสิ้นสุดการรักษา สาเหตุเกิดจากการเกิด ADR 3 ราย เสียชีวิต 3 ราย และไม่มารับการรักษาต่อ 2 ราย ผู้ป่วยมีค่า CD4 และน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 66.67 และ 58.97 ตาม ลำดับ ผู้ป่วยทุกรายมีปัญหาการใช้ยา โดยปัญหาที่พบมากที่สุดคือการเกิด ADR ร้อยละ 67.91 เกิดปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาที่ให้ร่วมกันร้อยละ 21.93 หยุดยาและลืมใช้ยา ร้อยละ 7.49 ยาที่มีรายงานการเกิด ADR มากที่สุด คือ INDINAVIR และ RITONAVIR ร้อยละ 24.80 อาการที่พบมากที่สุดคือคลื่นไส้ อาเจียน ร้อยละ 19.64 พบผู้ป่วยที่เกิด ADR ที่รุนแรง 13 ราย มีการเกิดปฏิกิริยาของยาที่ให้ร่วมกัน 16 คู่ ไม'มีคู่ยาใดมีความรุนแรงระดับรุนแรงมาก มูลค่ายาต้านไวรัสเอดส์/เดือน/รายอยู่ในช่วง 5,256-12,078 บาท
สรุป: ผู้ป่วยเอดส์จะมีการใช้ยาร่วมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาการใช้ยาที่เกิดขึ้นจะมีสาเหตุต่างๆ กัน และวิเคราะห์หาสาเหตุค่อนข้างยากเนื่องจากมีการใช้ยาพร้อมๆ กันหลาย รายการ เช่น การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่ให้ร่วมกัน และการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ซึ่งจะพบได้มากที่สุด ปัญหาการใช้ยาเหล่านี้เป็นหน้าที่ที่สำคัญของเภสัชกร'ในการติดตามและแก้ไขปัญหาร่วมกับแพทย์ในการให้การดูแลผู้ป่วย แต่ละราย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. วาสี คิริเสาวลักษณ์. รายงานการวิจัย : การ ให้บริการด้านบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วย โรคเอดส์ที่บ้านหลังรับการรักษาจาก โรงพยาบาลนครพิงค์. เชียงใหม่. กลุ่มงานเภสัชกรรม. โรงพยาบาลนครพิงค์. พ.ศ. 2542.

2. สำนักงานควบคุมโรคติดต่อ เขต 10 เชียงใหม่. แนวทางการปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิก และการบริหารเวชภัณฑ์ ในการบำบัดรักษาผู้ติดเชื้อด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ตามโครงการพัฒนาระบบบริการและ ติดตามผลการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเขึ้อ เอชไอ วี และผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย. เชียงใหม่ : มปป, 2544.

3. สุเทพ จารุรัตนศิริกุล. ปฏิกิริยาต่อกันของ ยาต้านเภสัชจลนศาสตร์ในผู้ป่วยเอดส์. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์, 2542.

4. Carpenter CC, Fischl MA, Hammer SM, Hirsch MS, jacobsen DM, Katzenstein DA, et al. Antiretroviral therapy for HIV infection in 1998 : Update recommendations for the international AIDS Society-USA panel. JAMA 1998 ; 280 : 78-86.

5. Charles F. Lacy, Lora L. Armstrong, Morton p. Goldman, Leonard L. Lance, editors. Drug information handbook. 8 th ed. 2000 -2001.

6. Cipolle RJ, Strand LM, Morley PC. Pharmaceutical Care Practice. St.Louis (MO) : McGraw-Hill ; 1998.

7. Barbara G. Wells, Josepph T. DiPiro, Terry L. Schwinghammer, Cindy W.Hamilton, editors. Pharmacotherapy handbook. Stamford Connecticut : Appleton & Lange ; 1998.

8. Frederic J. Zucchero, Mark J. Hogan, Christine D. Schultz. American Pharmaceutical Association. Washington, DC. Pocket Guide to Evaluations of Drug Interaction. 3rd ed. 1999.

9. Lisa I. Malaty, Jeffrey J. Kuper. Drug Interaction of HIV Protease Inhibitors : Drug Safety 1999 p. 148 -169.

10. Milo Gibaldi, et al. Drug Therapy 2000 : Acritical Review of Therapeutics. Me Graw-Hill ; 2000 p. 132134

11. UNAIDS/WHO. Report on the global HIV/AIDS epidemic, June 1998.

12. US. Department of Health & Human Services. Guidelines for the Prevention of opportunistic Infections in Persons Infected with Human Immunodeficiency Virus. MMWR. August 20, 1999/Vol. 48.