ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันอันตรายจากสารเคมี กำจัดศัตรูพืชของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของอาสาสมัครสาธารณสุขในจังหวัดสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มเป้าหมาย: อาสาสมัครสาธารณสุขทุกอำเภอในจังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้ตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 321 คน ทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 5 - 25 มกราคม 2543 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์การผันแปรร่วม ประกอบการวิเคราะห์การจำแนกพหุ
ผลการศึกษา: อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่ตอบแบบสอบถาม มีความรู้มาก ร้อยละ 71.4 ในด้านทัศนคตินั้น กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งมีทัศนคติอยู่ในระดับดี รองลงมาคือ ทัศนคติดีมาก ร้อยละ 28.2 สำหรับพฤติกรรมการให้คำแนะนำนั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.2 มีพฤติกรรมดี พฤติกรรมการป้องกันตนเองนั้นประมาณครึ่งหนึ่งมีพฤติกรรมดี การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ โดยการวิเคราะห์การผันแปรร่วม พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้อย่างมีมัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ การได้รับข่าวสารเรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การเคยผ่านการอบรม อายุ และระยะเวลาที่เป็น อสม. ผลการวิเคราะห์การจำแนกพหุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิง มีสภาพสมรสคู่ และเป็น กรรมการหมู่บ้าน ประสบปัญหาการกำจัดศัตรูพืชมาก และกลุ่มที่เคยผ่านการอบรมเป็นกลุ่มที่มีความ รู้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ การศึกษาวิจัยที่มีผลต่อทัศนคติ จากการวิเคราะห์การผันแปรร่วม พบว่า ปัจจัย ที่มีผลต่อทัศนคติ ได้แก่ การได้รับข่าวสารเรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อายุ และระยะเวลาที่เป็น อสม. ผลการวิเคราะห์การจำแนกพหุ พบว่า กลุ่มเพศชาย สถานภาพสมรสคู่ และไม่เป็นกรรมการหมู่บ้าน ประสบปัญหาการกำจัดศัตรูพืชมาก ไม่เคยผ่านการอบรม เป็นกลุ่มที่มีทัศนคติในการป้องกันอันตราย จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการให้คำแนะนำ จาก การวิเคราะห์การผันแปรร่วม พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการให้คำแนะนำในการป้องกัน อันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ การเคยผ่านการอบรม และการเป็นกรรมการหมู่บ้าน ผลการวิเคราะห์การจำแนกพหุ พบว่า เพศหญิง สถานภาพสมรสโสด เป็นกรรมการหมู่บ้าน ประสบ ปัญหาการกำจัดศัตรูพืชมาก และกลุ่มที่เคยผ่านการอบรมเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมในการให้คำแนะนำดีกว่ากลุ่มอื่นๆ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จากการวิเคราะห์การผันแปรร่วมพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันตนเองมีเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น คือ เพศ ผลการวิเคราะห์การจำแนกพหุ พบว่า เพศชาย สถานภาพสมรสโสด ประสบปัญหาการกำจัดศัตรูพืชมาก กลุ่มที่เคยผ่านการอบรมและเป็นกรรมการหมู่บ้าน เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการ ป้องกันตนเองดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ
Article Details
References
2. กองระบาดวิทยา, กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2537.
3. กองอนามัยสิ่งแวดล้อม, กระทรวงสาธารณสุข. สรุปแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2526.
4. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธ์. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.
5. Cater V.Good. Dictionary of Educcation. New York: Me Graw Hill Company, 1973.
6. D. Kretch and R.S. Crutchfeild. Thory and Problems in Social Psychology. New York: Me Graw Hill Company, 1948.
7. Gordon Auport ‘Attitudes’ in Cmurchissom (Ed.). Around book of Social Psychology. Worcester,Mass: Clark University Press,1935.
8.Harry C, Triamdis. Attitude and Attitude Change. New York: John Willys Sons,Inc. 1971.
9. L.L. Thurs. ‘Attitude can be Measurde’. Attitude Theory and Measurmeany. Edited by martin Fesh Bein New York: John Wiley, Inc., 1987.