การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเหนื่อยหน่ายในกลุ่มเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

Sombat Wattana

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาจำนวนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ที่มีอาการ เข้าได้กับภาวะเหนื่อยหน่ายในแต่ละด้าน และหาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะ เหนื่อยหน่ายในกลุ่มเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2550 จำนวน 168 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูล ทั่วไปร่วมกับแบบวัดความเบื่อหน่ายของแมสแลช ฉบับภาษาไทย และ General Heath Questionnaire ฉบับภาษาไทย แบบ 30 ข้อ (Thai GHQ - 30) แล้วนำ ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยโปรแกรม SPSS เพื่อหาจำนวนเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาล หนองบุญมากที่มีอาการเข้าได้กับภาวะเหนื่อยหน่ายในแต่ละด้านรวมทั้งหาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะเหนื่อยหน่ายในกลุ่มเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
ผลการศึกษา: มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 132 คน คิดเป็นร้อยละ 78.57 พบว่าเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่มีความอ่อนล้าทางอารมณ์ในระดับปานกลาง 66 คน คิดเป็นร้อยละ 50 มีความอ่อนล้าทางอารมณ์ในระดับสูง 43 คน คิดเป็นร้อยละ 32.58 การลด ความเป็นบุคคลพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ102 คน คิดเป็นร้อยละ 77.27 ส่วน ความเหนื่อยหน่ายด้านความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับต่ำ 39 คน คิดเป็นร้อยละ 29.55 ระดับปานกลาง 86 คน คิดเป็นร้อยละ 65.15 และระดับสูง 7 คน คิดเป็น ร้อยละ 5.3
สรุป: จากการคำนวณทางสถิติพบว่าปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลต่อความเหนื่อยหน่ายด้าน ความอ่อนล้าทางอารมณ์ในเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา คือ ระยะเวลาในการทำงานต่อวัน (p < 0.05) และจำนวนการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ (p < 0.01)และมีความสัมพันธ์กับคะแนน GHQ (p < 0.01) ปัจจัยด้าน บุคคลที่มีผลต่อความเหนื่อยหน่ายด้านความสำเร็จส่วนบุคคล คือ จำนวนการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ (p < 0.01)
คำสำคัญ: ความเหนื่อยหน่าย 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Muldary TW. Burnout and Heath Professional Manifestation and Management. 1983.

2. Wolf GA. Nursing turn over some causes and solutions. Nursing outlook 1981 : 233-6.

3. Maslach C. Burnout: The cost of caring. 1982.

4. Deery S, Iverson R, Walsh J. Work Relationships in Telephone Call Centres: Understanding Emotional Exhaustion and Employee Withdrawal. Journal of Management Studies 2002;39 (4):471-96.

5. Jackson SE, Schwab RL, Schuler RS. Toward an Understanding of the Burnout Phenomenon. Journal of Applied Psychology 1986;71(4):630-40.

6. Lee RT, Ashforth BE. A meta-analytic examination of the correlates of the three dimensions of job burnout. Journal of Applied Psychology 1996; 81(2):123-33.

7. Moore JE. Why is this happening? A causal attribution approach to work exhaustion consequences. Academy of Management Review 2000;25(2):335-49.

8. Wharton AS. The Affective Consequences of Service Work: Managing Emotions on the Job. Work and Occupations 1993; 20(2):205-32.

9. Maslach C. Burnout : the cost of Caring. 1986.

10. Jackson SE, Maslach C. After-effects of job related stress: Families as victims. Journal of Occupational 1982:63-77.

11. Schwab RL. Teacher burnout: Moving beyond psychobabble. Theory Into Practice 1983;22(l):21-7.

12. Maslach C, Schaufeli WB, Leiter M. JOB BURNOUT. Annual Review of Psychology 2001;52:397-422.