อุบัติการณ์การเกิดปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ในเด็กแรกเกิด ของโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2550

Main Article Content

ลาวันย์ ทิสะเส

บทคัดย่อ

เหตุผลในการศึกษา: ปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่เป็นความพิการแต่กำเนิดของใบหน้าและกะโหลกศีรษะที่พบบ่อยที่สุด อุบัติการณ์จะแตกต่างกันในแต่ละเชื้อชาติ พบสูงสุดในชาวเอเชีย และต่ำที่สุดในชาวแอฟริกัน สำหรับอุบัติการณ์การเกิดปากแหว่งและ/ หรือเพดานโหว่ที่ศึกษาในประเทศไทย อยู่ระหว่าง 1.01-2.49 : 1,000 พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และอุบัติการณ์สูงสุดพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศรีสะเกษเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคนี้ แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาอุบัติการณ์นี้มาก่อน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ในทารกเกิดมีชีพที่คลอดที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ
รูปแบบวิจัย: เป็นการศึกษาแบบพรรณนา เก็บข้อมูลย้อนหลัง จากงานห้องผู้ป่วยหนักเด็ก (NICU)/เด็ก 1 งานห้องคลอด และงานเวชระเบียน
ประชากรที่ศึกษา: ทารกปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ที่เกิดมีชีพ ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2548 ถึง 30 กันยายน 2550
ผลการศึกษา: จากทารกเกิดมีชีพ 12,381 คน พบทารกปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ จำนวน 27 คน คิดเป็นอุบัติการณ์ 2.18 : 1,000 พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ในอัตราส่วน 16 : 11 (ร้อยละ 59.26 และร้อยละ 40.74 ตามลำดับ) พบปากแหว่งและเพดานโหว่มากที่สุด ร้อยละ 62.96 รองลงมา คือ ปากแหว่ง ร้อยละ 25.9 น้อยที่สุด คือ เพดานโหว่ร้อยละ 11.11 เมื่อแยกชนิดความผิดปกติทุกชนิด ยังคงพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายพบอุบัติการณ์การเกิด ปากแหว่งและ/หรือ เพดานโหว่สูงสุดในปี พ.ศ. 2549 คิดเป็นอุบัติการณ์ 2.63:1,000 ในเรื่องช่วงเวลา การเกิดพบกระจายทุกเดือน จำนวนตั้งแต่ 1-4 คน พบมากที่สุดในเดือนมิถุนายน จำนวน 4 คน
สรุป: อุบัติการณ์การเกิดปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ในทารกเกิดมิชีพของโรงพยาบาล ศรีสะเกษ พบอยู่ในระดับสูงแต่อยู่ในพิสัยของอุบัติการณ์ที่เคยมีการศึกษามาในประเทศไทย แต่ในการศึกษานี้จะพบการเกิดปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ใน เพศหญิงมากกว่าเพศชาย (16 : 11) ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาอื่นที่เคยมีมา
คำสำคัญ: ปากแหว่ง, เพดานโหว่

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Proffit WR, Fields HW, Ackerman JL, Sinclair PM, Thomas PM, Camilla Tulloch JF. Contemporary Orthodontics. 2nd ed. St. Louise : Mosby-Year Book, Inc 1993 : 57.

2. Osuji 00. Preparation of feeding obtulators for infants with cleft lip and palate. J Clin Ped Dent 1995 ; 19 : 211-4.

3. อำพร แดงแสงทอง, คัดเค้า วงษ์สวรรค์, ปานทิพย์ สวัสดีมงคล. อุบัติการณ์ของการ เกิดปากแหว่ง เพดานโหว่ในโรงพยาบาลศิริราช ในปี พ.ศ. 2530. สารศิริราช 2531 ; 40 : 741-4.

4. Tongkobpetch S, Siriwan P, Shotelersuk V. MSX 1 mutations contribute to nonsyndromic cleft lip in a Thai population. J Hum Genet 2006 ; 51 (8): 671-6.

5. Global strategies to reduce the healthcare burden of craniofacial anomalies : reportof WHO meetings on International Collaborative Research on Craniofacial Anomalies, Geneva, Switzerland, 5-8 November 2000 ; Park City, Utah, U.S.A., 24-26 May 2001.

6. ลัดดา เหมาะสุวรรณ, ประสิน จันทร์วิทัน, สมจิตร์ จารุรัตนศิริกุล, ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร, ถนอมศรี อินทนนท์, ศิริกุล อิศรานุรักษ์ และ คณะ, รายงานทบทวนองค์ความรู้สถานะ สุขภาพของเด็กปฐมวัยไทย. สงขลา : หน่วยพิมพ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2543 : หน้า 25.

7. สุมาลี ศรีวัฒนา. ความพิการแต่กำเนิด. ใน : จินตนา ศิรินาวิน, ชณิกา ตู้จินดา, บรรณาธิการ. เวชพันธุศาสตร์และปัญหาโรคพันธุกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพ : โรงพิมพ์เรือนแก้ว การพิมพ์ 1981 ; หน้า 206-18.

8. วิภาพรรณ ฤทธิ์ถกล. อุบัติการณ์การเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2533-2542. วิทยาสาร ทันตแพทยศาสตร์ 2544; 51 (1) : 29-37.

9. ลลิตกร จิตตเสถียร, ภูมารินทร์ แว่นทอง, ชัยพร แซ่อึ้ง, พรพรรณ ธีระรังสิกุล. ผู้ป่วย ปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่โนโรงพยาบาล พุทธซินราช พิษณุโลกปี พ.ศ. 2537-2546. Buddhachinaraj Medical Journal 2006 ; 23 (2) ; 154-63.

10. Chowchuen B, Godfrey K. Development of a network system for the care of patients with cleft lip and palate in Thailand. Scand J Plast Reconstr Surg Hand Surg 2005; 39(2): 328.

11. Jensen BL, Kreiborg S, Dahl E, Fogh-Anderson P. Cleft Lip and Palate in Denmark Epidemiology, Variability and Early Somatic Development. Cleft Palate J 1988 ; 25 : 258-69.

12. Rintala AE. Epidemiology of orofacial clefts in Findland : a review. Ann Plast Surg 1986 ; 17 : 456-9.

13. Srivastava S, Bang RL. Facial clefting in Kuwait and England : a comparative study. Br J Oral Maxillofac Surg 1990 ; 43 : 457-62.
14. Fogh-Andersen P. Incidence of Cleft Lip and Palate constant or increasing? Acta Chir Scand 1961 ; 122 : 106-11.

15. Shapira Y, Lubit E, Kuftinec M, Borell G. The distribution of clefts of the primary and secondary palate by sex, type and location. Angle Orthod 1999 ; 69 : 523-8.

16. Natsume N, Suzuki T, Kawai T. The prevalence of Cleft lip and Palate in Japanese. Br J Oral Maxillofac Surg ; 1988 ; 14 : 232-6.

17. Amidei ML, Hamman RF, Kassebaum DK, Marshall JA. Birth prevalence of cleft lip and palate in Colorado by sex distribution, seasonality, race/ethnicity, and geographic variation. Spec Care Dent 1994 ; 14 : 233-40.

18. นงพร แจ้งอริยวงค์. การประเมินความพิการ ของโรคปากแหว่งเพดานโหว่ในโรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. สรรพสิทธิ เวชสาร 2547 ; 15 : 1-7 .

19. Ellis E III. Management of patient with orofacial clefts. In: Peterson LI, Ellis E III, Hupp JR, Tucker MR, editors. Contemporary oral and maxillofacial surgery. 3rd ed. St.Louis : Mosby ; 1998 : 656-79.

20. HUGHLETT L.M, PATRICIA JAKOBI, HARRINGTON, Objectives and Criteria for the Management of Cleft Lip and Palateand the Delivery of Management Services. Cleft Palate Journal 1978 ; 15(1) : 1-5.

21. Taher Abbas AY. Cleft lip and Palate in Tehran. Cleft Palate Craniofac J 1992 ; 29 : 15-6.

22. Coupland M, Coupland AI. Seasonality, Incidence, and Sex Distribution of Cleft Lip and Palate in Trent Region 1973-1982. Cleft Palate J 1988;25: 33-6.

23. Saxen I, Lahti A. cleft lip and palate in Finland : Incidence, secular, seasonal and geographic variations. Teratology 1974 ; 9 : 217-22.

24. Boo NY, Arshad AR. A study of cleft lip and palate in neonatates born in large Malaysian maternity hospital over a 2-year period, (abstract). Singapore Med J 1990 ;31 : 59-62.

25. Wu Y, Zeng M, Xu C, Liang J, Wang Y, Miao L, et Analyses of the prevalence for neural tube defects cleft lip and palate in China from 1988 to 1991. (abstract) Hua Hsi I Ko Ta Hsueh Hsueh Pao 1995 ; 25 : 215-9.

26. Murray JC, Daack-Hirsh S, Buetow KH, Munger R, Espina L, Paglinawan N, et. Al. Clinical and epidemiologic studies of cleft lip and palate in Philippines. Cleft Palate Craniofac J 1997 ; 34: 7-10.

27. Yi NN, Yeow VK, Lee ST. Epidemiology of cleft lip and palate in Singapore a 10-year hospital-based study, (abstract). Ann Med Singapore 1999; 28 : 655-9.

28. T Gregg, D Boyd and A Richardson. The incidence of cleft lip and palate in Northern Ireland from 1980-1990. British Journal of Orthodontics;1994; 21: 387-92.

29. MAGDALENIC-MESTROVIC Marija, BAGATIN Marijo. An epidemiological study of orofacial clefts in Croatia 1988-1998. Journal of cranio-maxillo-facial surgery ; 2005 ; 33 (2) : 85-90.

30. McLeod, N. M. H„ Arana Urioste, M. L., Saeed, N. R. Birth prevalence of cleft lip and palate in Sucre, Bolivia. Cleft Palate-Craniofacial Journal 2004 ; 41(2): 195-8 .

31. SULEIMAN, A. M.; HAMZAH, S. T. 1 ; ABUSALAB, M. A. 2; SAMAAN, K. T. 3. Prevalence of cleft lip and palate in a hospital-based population in the Sudan. International Journal of Paediatric Dentistry 1- 2005 ; 15 (3) : 185-9.

32. F. Al Omari. Cleft Lip and Palate in Jordan : Birth Prevalence Rate. The Cleft Palate-Craniofacial Journal ; 2004 ; 41 (6): 609-12.

33. Baik HS, Keem JH, Kim DJ. The Prevalence of Cleft Lip and/or Cleft Palate in Korean Male Adult. Korean J Orthod; 2001 ; 31 (1) : 63-9.

34. Beston, B Fabian, F M. Birth prevalence of cleft lip and palate based on hospital records in Dar es Salaam, Tanzania. Tanzania Dental Journal ; 2007 ; 14 (1): 30-3.

35. Arunas Vasiliauskas, Algirdas Utkus, Auora Matulevoeoeme, Laura Linkevieiene, Vaidutis Kueinskas. The incidence of cleft lip and/or palate among newborns in Lithuania, 1993-1997. ACTA MEDICA LITUANICA 2004 ; 11 (2) : 1-6.